Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30258
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา สุภิมารส-
dc.contributor.advisorลาวัณย์ ไกรเดช-
dc.contributor.authorบวรศักดิ์ ลีนานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-03-24T01:14:57Z-
dc.date.available2013-03-24T01:14:57Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745691658-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30258-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของเชื้อสร้างกรดแลคติก คือ Streptococcus lactis 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 26 กับ 457 และ Streptococcus cremoris 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 1, 58 และ 456 ส่วนเชื้อสร้างกลิ่นคือ Streptococcus diacetylactis 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 9 และ 1662 Leuconostoc dextranicum 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 56 และ 377 และ Leuconostoc mesenteroides 1 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 53 โดยศึกษาในน้ำนมวัวเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำนมเปรี้ยวยแมร์ จากนั้นศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำนมชนิดอื่น ได้แก่ น้ำนมแพะ และน้ำนมถั่วเหลือง ทดแทนน้ำนมวัวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต นอกจากนี้ได้ศึกษาถึงการใช้นมคืนรูป ทั้งชนิดที่เป็นนมผงธรรมดาที่มีไขมันครบส่วน (SNF 9 และ 12%) และนมผงขาดมันเนย (SNF 9 และ 12%) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบด้วย ตลอดจนศึกษาหาอายุการเก็บของยแมร์ที่ใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ พร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเก็บ จากการศึกษาพบว่า เชื้อจุลินทรีย์ชนิดสร้างกรดที่เหมาะสมคือ เชื้อ Streptococcus cremoris 456 ซึ่งเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 37 ซ ปริมาณเชื้อเริ่มต้น 2% (V/V) จะให้ลิ่มนมที่มีลักษณะดีไม่มีการแยกชั้นของเวย์ ให้ปริมาณกรด 0.82% และ pH 4.5 ที่ระยะเวลาบ่ม 20 ชม. และเมื่อนำไปผสมกับเชื้อสร้างกลิ่น โดยใช้สภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการทดลองข้างต้นและใช้เชื้อสร้างกลิ่นในปริมาณเชื้อเริ่มต้น 2% (V/V) ผสมกับเชื้อ Streptococcus cremoris 456 ในอัตราส่วน 1:1 โดยแปรปริมาณเชื้อผสมเริ่มต้นที่ใช้เป็น 2, 3, 4 และ 5% (V/V) พบว่าเชื้อสร้างกลิ่นที่เหมาะสมคือ Leuconostoc dextranicum 377 โดยผสมกับ Streptococcus cremoris 456 ในอัตราปริมาณเชื้อผสมเริ่มต้น 3% (V/V) จะให้ลิ่มนมที่มีลักษณะดี และสร้างสาร Acetylmethyl carbinol 79.2 ppm ที่ระยะเวลาบ่ม 15 ชม. ให้ปริมาณกรด 0.84% และ pH 4.5 จากนั้นได้ทดลองขั้นต่อไปโดยการนำน้ำนมแพะและน้ำนมถั่วเหลืองมาผสมกับน้ำนมวัวในอัตราส่วน 20, 40, 60, 80 และ 100% โดยปริมาตร พบว่าปริมาณการทดแทนสูงสุดที่ผู้ทดสอบยอมรับสำหรับการทดแทนด้วยน้ำนมแพะและน้ำนมถั่วเหลืองคือ 60 และ 20% ตามลำดับ ส่วนการใช้น้ำนมคืนรูปเป็นวัตถุดิบนั้นพบว่า เมื่อใช้นมผงที่มีไขมันครบส่วน SNF 12% จะเป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบมากที่สุด รองลงมาคือนมผงที่มีไขมันครบส่วน SNF 9% ขณะที่นมผงขาดมันเนยทั้ง SNF 9 และ 12% ผู้ทดสอบไม่ยอมรับ และเมื่อหาอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ยแมร์จากน้ำนมวัวพบว่า เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 5 และ 10 ซ จะเก็บได้นาน 10 วัน และ 7 วัน ตามลำดับ สำหรับการศึกษาทางด้านโครงสร้างของลิ่มนมของยแมร์ซึ่งใช้น้ำนมต่างชนิดกันเป็นวัตถุดิบ โดยใช้ Scanning Electron Microscope ทำให้ได้เหตุผลสนับสนุนการทดลองในด้านอิทธิพลของนมสดต่างชนิดและนมคืนรูปต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์-
dc.description.abstractalternativeThis research is intended to study the optimum conditions for the growth of lactic acid-producing bacteria and aroma-producing bacteria in cow's milk in producing Ymer. Two species of Streptococcus lactis : 26 and 457, three of Streptococcus cremoris : 1, 58 and 456 were studied for lactic acid production. Two species of Streptococcus diacetylactis : 9 and 1662, two of Leuconostoc dextranicum : 56 and 377 and one of Leuconostoc mesenteroides : 53 were studied for aroma production in Ymer. Then, the possibility of using goat's milk and soy milk to substitute cow's milk for producing Ymer was investigated. Next, the use of reconstituted milk including whole milk powder and skim milk powder prepared both at 9% and 12% SNF was also studied as raw material in producing Ymer. Finally, the keeping quality of Ymer produced from cow's milk was studied by following the changes in qualities both objectively and subjectively. It was found that the suitable type of acid-producing bacteria was Streptococcus cremoris 456 which grew best at 37℃ with 2% initial inoculums (V/V) and gave appropriated curd characteristics, 0.82% in titratable acidity and pH 4.5 after being incubated for 20 hours. Then, mixing of Streptococcus cremoris 456 with aroma-producing bacteria was varied as initial mixed inoculums at 2, 3, 4 and 5% (V/V). The optimum condition for producing Ymer was resulted. Streptococcus cremoris 456 mixing with Leuconostoc dextranicum 377 ub tge ratui 1:1, 3% initial mixed inoculums gave appropriated curd characteristics, acetylmethyl carbinol 79.2 ppm, 0.84% in titratable acidity and pH 4.5 after being incubated for 15 hours. Sixty and twenty percent of goat's and soy milk could be used in substitution of cow's milk to make Ymer. For using reconstituted milk as raw material. Whole milk powder 12% SNF yielded the best result while whole milk powder 9% SNF was runner up. Products produced from reconstituted skim milk powder were not accepted. The keeping quality of Ymer made from cow's milk at 5 and 10℃ was 10 days and 7 days respectively. The study of microstructure of curd made from different types of raw material by scanning electron microscope was found to support the result in the effect of types of fresh milk and reconstituted milk on quality of Ymer.-
dc.format.extent6173231 bytes-
dc.format.extent1614389 bytes-
dc.format.extent6444203 bytes-
dc.format.extent5342132 bytes-
dc.format.extent19431264 bytes-
dc.format.extent4410405 bytes-
dc.format.extent2017228 bytes-
dc.format.extent9717298 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของนมสดต่างชนิดและนมคืนรูปต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวเข้มข้น (ยแมร์)en
dc.title.alternativeEffect of types of fresh milk and reconstituted milk on quality of concentrated fermented milk product (Ymer)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Borwonsak_le_front.pdf6.03 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch1.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch2.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch3.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch4.pdf18.98 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch5.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_ch6.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Borwonsak_le_back.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.