Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30388
Title: การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นของการลอยแร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์จากทรายเหลือทิ้ง
Other Titles: Pre-feasibility study of potassium feldspar flotation from waste sand
Authors: นุชรี สองรักษ์
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Titisak.B@Chula.ac.th
Subjects: เฟลด์สปาร์
โพแทสเซียม
ทราย
อุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ในการคัดแยก แร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์จากทรายเหลือทิ้งจากแหล่งทรายบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี โดยใช้กระบวนการลอยแร่ โดยเป็นการปรับปรุงคุณภาพของแร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ ให้ได้ตามข้อกำหนด และมาตรฐานของแร่ความต้องการของอุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งในการ ศึกษาองค์ของประกอบของแร่จะใช้เครื่องมือดังนี้คือ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบน รังสีเอกซ์ (XRD) เครื่องวิเคราะห์การเรืองรังสีเอกซ์ (XRF) และการวิเคราะห์ขนาดด้วยตะแกรง มาตรฐาน นอกจากนั้นยังใช้เครื่องแยกแร่แม่เหล็กแบบเปียกความเข้มสูงเพื่อลดการปนเปื้อนของ แร่ติดแม่เหล็ก และปรับปรุงคุณภาพแร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์โดยประสิทธิภาพของการลอยจะ ประเมินจากเปอร์เซนต์การเก็บแร่ได้ และผลวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของแร่โพแทสเซียม เฟลด์สปาร์ที่ลอยได้ด้วยเครื่องวิเคราะห์การเรืองรังสีเอกซ์ (XRF)จากการศึกษาทรายเหลือทิ้งพบว่ามีส่วนประกอบของ แร่เฟลด์สปาร์ แร่ควอรตซ์ แร่มัสโคไวต์ และแร่แคลไซต์ โดยมีผลวิเคราะห์ทางเคมีคือ SiO₂ 84.45 เปอร์เซ็นต์ K₂O 6.45 เปอร์เซ็นต์ Na₂O 0.74 เปอร์เซ็นต์ Al₂O₃ 6.15 เปอร์เซ็นต์ Fe₂O₃ 1.30 เปอร์เซ็นต์ CaO 0.23 เปอร์เซ็นต์ P₂O₅ 0.08 เปอร์เซ็นต์ TiO₂ 0.24 เปอร์เซ็นต์ และ MgO 0.26 เปอร์เซ็นต์ ผลวิเคราะห์แร่เฟลด์สปาร์ที่ลอยได้จากตัวอย่างขนาด -30 เมชพบว่ามีองค์ประกอบ ทางเคมีดังนี้ SiO₂ 76.87 เปอร์เซ็นต์ K₂O 11.06 เปอร์เซ็นต์ Na₂O 1.48 เปอร์เซ็นต์ Al₂O₃ 8.65 เปอร์เซ็นต์ Fe₂O₃ 0.73 เปอร์เซ็นต์ CaO 0.18 เปอร์เซ็นต์ P₂O₅ 0.10 เปอร์เซ็นต์ TiO₂ 0.17 เปอร์เซ็นต์ และ MgO 0.08 เปอร์เซ็นต์ ผลวิเคราะห์แร่เฟลด์สปาร์ที่ลอยได้จากตัวอย่างขนาด -60 เมชพบว่ามีองค์ประกอบ ทางเคมีดังนี้ SiO₂ 76.10 เปอร์เซ็นต์ K₂O 8.37 เปอร์เซ็นต์ Na₂O 1.04 เปอร์เซ็นต์ Al₂O₃ 12.34 เปอร์เซ็นต์ Fe₂O₃ 0.95 เปอร์เซ็นต์ CaO 0.19 เปอร์เซ็นต์ P₂O₅ 0.12 เปอร์เซ็นต์ TiO₂ 0.31 เปอร์เซ็นต์ และ MgO 0.15 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังมีการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ โดยการประเมินค่าใช้จ่ายของการคัดแยก และรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
Other Abstract: The purpose of this research is a pre-feasibility study of separation potassium feldspar from sand waste of the Banpong sand deposit, Banpong district, Ratchaburi Province by using froth flotation and value added from potassium feldspar processing. In order to meet the specification required by the ceramics industry.The study included mineral characterization by using optical microscope, x-ray diffraction, x-ray fluorescence and sieve analysis. High intensity magnetic separator was carried out, in order to decrease the iron contamination and improve quality. The flotation efficiency is evaluated from recovery percentage of potassium feldspar and chemical analysis of floated potassium feldspar by using x-ray fluorescence. The characterization results of sand waste showed that the minerals consisted of feldspar, quartz, muscovite and calcite. The analysis was SiO₂ 84.45 %, K₂O 6.45 %, Na₂O 0.74 %, MgO 0.26%, Fe₂O₃ 1.30 %, TiO₂ 0.24 %, Al₂O₃ 6.15 %, P₂O₅ 0.08 % and CaO 0.23 % respectively. The chemical analysis of floated potassium feldspar of sample -30 mesh as following; SiO₂ 76.87 %, K₂O 11.06 %, Na₂O 1.48 %, MgO 0.08 %, Fe₂O₃ 0.73 %, TiO₂ 0.17 %, Al₂O₃ 8.65 %, P₂O₅ 0.10 % and CaO 0.18 % respectively. The chemical analysis of floated potassium feldspar of sample -60 mesh as following; SiO₂ 76.10 %, K₂O 8.37 %, Na₂O 1.04 %, MgO 0.15 %, Fe₂O₃ 0.95 %, TiO₂ 0.31 %, Al₂O₃ 12.34 %, P₂O₅ 0.12 % and CaO 0.19 % respectively. Economic evaluation from the feldspar processing is also evaluated using the cost and product prices estimation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30388
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1080
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1080
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutcharee_so.pdf25.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.