Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30476
Title: โครงข่ายเส้นทางรถประจำทางและศักยภาพของปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Mass transit network and potential spatial interaction in Bangkok Metropolitan area
Authors: ไพฑูรย์ เกียรติกำจร
Subjects: เส้นทางรถประจำทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
รถประจำทาง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณย่านที่อยู่อาศัยทางเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้เป็นบริเวณการกำเนิดการเดินทาง 20 พื้นที่ย่อย และบริเวณบริการของโครงข่ายเส้นทางรถประจำทาง โดยกำหนดให้เป็นบริเวณการดึงดูดการเดินทาง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด แบ่งเป็น 75 พื้นที่ย่อย จำนวนการปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ระหว่างพื้นที่ย่อย ได้จากการคำนวณตามแบบจำลองแรงดึงดูดที่ไจก้าพัฒนาไว้ในปี 2525 ส่วนความเชื่อมโยงภายในโครข่ายเส้นทางรถประจำทาง ได้จากการคำนวณตามวิธีการทางเมทริกซ์ ตามหลักการวิเคราะห์โครงข่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ย่อยที่มีศักยภาพของปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่สูง ได้แก่ พื้นที่เขตพระนคร สัมพันธวงศ์ พญาไท และปทุมวัน รวมทั้งบริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นทางเหนือในเขตบางเขน และอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 2) พื้นที่ย่อยที่มีค่าความเชื่อมโยงสูงสุด ได้แก่ เขตพระนครพญาไท และปทุมวัน 3) ค่าดัชนีความเชื่อมโยงภายในโครงข่ายเส้นทางรถประจำทาง เท่ากับ 0.58 นับว่ามีความเชื่อมโยงในระดับปานกลาง และจำนวนการต่อรถสูงสุดระหว่างคู่พื้นที่เท่ากับ 3 ต่อ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพของปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่และความเชื่อมโยงภายในโครงข่ายเส้นทางรถประจำทาง มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (ค่าภ=0.547) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จึงสามารถสรุปได้ว่า การจัดเส้นทางภายในโครงข่ายรถประจำทางในกรุงเทพมหานคร มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง
Other Abstract: The purpose of this research is to compare the potential spatial interaction among the traffic zones in Bangkok Metropolitan Area with the connectivity of the mass transit network. To simplify the study, the study area was divided into 2 zones. The residential area in the northern part of Bangkok, comprising 20 traffic zones, was designated as the trip-production zone and the whole service area of the mass transit network, including the first zone, totaling of 75 traffic zones was the trip-attraction zone. The potential spatial interaction between the two zones was calculated using the Gavity Model developed by JICA (1973). The connectivity of the mass transit network was derived from simple matrix calculation based on the Network Analysis. It was found that 1) The traffic zones having the high potential interaction are in Phranakorn, Sampanthawong, Phyathai, Pathumwan districts and in the high density residential areas in the north and in Amphoe Muang Nonthaburi. 2) The zones with high connectivity are in Phranakorn, Phyathai, Pathumwan districts. 3) The connectivity index for the whole mass transit network is 0.58 which is a medium connectivity and the diameter is 3. 4) The correlation between the potential interaction and the connectivity is moderate (r = 0.547) at 05 level of significance. It can be concluded that the management of the mass transit network is relatively highly efficient .
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30476
ISBN: 9745763136
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paitoon_ki_front.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch1.pdf855.14 kBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch2.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch3.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch4.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch5.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch6.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_ch7.pdf324.56 kBAdobe PDFView/Open
Paitoon_ki_back.pdf537.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.