Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยพงษ์ สุเมตติกุล-
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.authorสมพิศ ใช้เฮ็ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-04-11T03:08:59Z-
dc.date.available2013-04-11T03:08:59Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30517-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารทรัพยากร ทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท จำนวน 400 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู จำนวน 800 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNI[subscript modified] ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท ที่มีการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ จำนวน 10 โรงเรียน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำข้อมูลมาจัดทำกลยุทธ์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT และใช้แบบตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ในการตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมือง และชนบทโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.สภาพที่พึงประสงค์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขต เมืองและชนบทโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบทประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 14 กลยุทธ์รอง และ 66 กลยุทธ์ระดับแนวทางปฏิบัติ แยกตามกระบวนการบริหารและความต้องการจำเป็นดังนี้ 1) กลยุทธ์เสริมสร้างขีดความสามารถในการนำแผนทรัพยากรทางการศึกษาสู่การปฏิบัติ เป็นกลยุทธ์ด้านการดำเนินการ มี 1 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง และ 31 กลยุทธ์ระดับแนวทางปฏิบัติ 2) กลยุทธ์พัฒนาระบบการประเมินผลการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา เป็นกลยุทธ์ ด้านการประเมินผล มี 1 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง และ 16 กลยุทธ์ระดับแนวทางปฏิบัติ และ 3) กลยุทธ์เสริมสร้างขีดความสามารถในการวางแผนทรัพยากรทางการศึกษา เป็นกลยุทธ์ด้านการวางแผน มี 1 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง และ 19 กลยุทธ์ระดับแนวทางปฏิบัติen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to investigate the existing conditions and desirables of educational resource management of small schools in urban and rural areas 2) to develop strategies for educational resource management of small schools in urban and rural areas. The quantitative and qualitative mixed methodology was employed for research design. The quantitative data were collected by a set of rating scale questionnaires from 800 school administrators and teachers of 400 small schools in urban and rural areas. Frequency, percentage, mean standard deviation t-test and PNI[subscript modified] of needs assessment and its ranking were employed for data analysis. The part of quality research, the in depth interview was used for qualitative data collection form school administrators of 10 quality schools which were selected by the means of purposive sampling. Content analysis and SWOT analysis technique were used for strategies development and the experts focus group discussion was made for checking and assessing the appropriate of those strategies respectively. The research finding were summarized as follows: 1. The existing conditions of educational resource management of small schools in urban and rural areas as a whole were high. 2. The desirables conditions and of educational resource management of small schools in urban and rural areas as a whole were highest. 3. The strategies of educational resource management of small schools in urban and rural areas consisted of 3 main strategies, 14 second strategies and 66 practical strategies and classified by administrative process and needs assessment, there were 1) strategy for adding the competencies of its implementation of educational resources was a strategy of practice which consisted of one strategy, 6 second strategies and 31 practical strategies 2) strategy for developing the system of educational resource utilization was a strategy of evaluation which consisted of one strategy, 4 second strategies and 16 practical strategies, 3) strategy for adding the competencies in planning of educational resources was a strategy of planning which consisted of one strategy, 4 second strategies and 19 practical strategies.en
dc.format.extent4106976 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1209-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหารen
dc.subjectการบริหารการศึกษาen
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์en
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบทen
dc.title.alternativeDevelopment of strategies for educational resource management of small schools in urban and rural areasen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPiyapong.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1209-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompit_ch.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.