Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30543
Title: การกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองโดยอาศัยค่าชี้ความเชื่อถือได้
Other Titles: Determination of power system reserves based on reliability indices
Authors: บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
Advisors: จรวย บุญยุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ระบบไฟฟ้ากำลัง -- การผลิต
ความเชื่อถือได้ (วิศวกรรมศาสตร์)
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ แสดงถึงวิธีการคำนวณหาขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสม เพื่อทำให้ระบบผลิตไฟฟ้ากำลังมีความเชื่อถือได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อน ด้วยวิธีการทางความน่าจะเป็น ซึ่งถูกใช้พิจารณาถึงพฤติกรรมการทำงานของส่วนประกอบแต่ละส่วนในระบบ ทำให้สามารถคำนวณหาค่าชี้ความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้ากำลัง และระบบทั้งหมดได้ โดยใช้รีเคอร์ซีฟเทคนิค และทฤษฎีลีเนียร์กราฟโฟลว์ ค่าชี้ความเชื่อถือที่คำนวณได้นี้จะใช้ในการกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสมของระบบไฟฟ้ากำลัง ในการกำหนดกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองได้มีการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นบนไมโครคอมพิวเตอร์ และทำการแสดงโดยใช้ระบบทดสอบตามมาตรฐาน IEEE จำนวน 2 ระบบ คือ ระบบขนาด 5 บัส 6 สายส่ง และ 14 บัส 20 สายส่ง ค่าชี้ความเชื่อถือได้ของจุดโหลดและของทั้งระบบจะถูกคำนวณขึ้นซึ่งพบว่าค่าชี้ความเชื่อถือได้เหล่านี้สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ทั้งโดยการเพิ่มกำลังผลิต และสายส่ง เมื่อพิจารณาถึงความไม่แน่นอนของการคาดคะเนโหลดในอนาคต โดยใช้โค้งแจกแจงปกติ พบว่าค่าชี้ความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้ากำลัง (LOLE) มีค่าสูงขึ้นตามจำนวนระดับของค่าความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
Other Abstract: This thesis presents a method for evaluating the optimal power reserve necessary for maintaining predetermined reliability of a power system. Probabilistic approach is used to determine the performance of main components of the power system and to evaluate reliability indices of generation system and also the entire system. The calculation is performed by using recursive techniques and linear graph flow theory. These indices are used to determine the optimal reserve of the power system. A computer program is developed on a microcomputer to determine power reserves and is used to analyse two IEEE standard test systems, i.e. the 5-bus 6-line and the 14-bus 20-line systems. Load point indices and overall system indices are also calculated. It is found that these indices can be improved by expansion of generation and transmission systems. When an uncertainty of forecasted load is included by using normal distribution curve, it is found that the loss-of-load expectation (LOLE) index increases as the level of uncertainty is increased.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30543
ISBN: 9745699306
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bundhie_eu_front.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch1.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch2.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch3.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch4.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch5.pdf19.45 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_ch6.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Bundhie_eu_back.pdf36.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.