Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30651
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์-
dc.contributor.authorธวัชชัย มหธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-04-23T02:44:29Z-
dc.date.available2013-04-23T02:44:29Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745643173-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30651-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractเกือบทุกปีในระยะเวลาสามทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลไทยประสบกับการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง สภาพการณ์เช่นนี้ไม่ได้แสดงว่ารัฐบาลจงใจที่จะใช้นโยบายงบประมาณต่อสู้กับความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ แต่แสดงให้เห็นความจริงที่ว่าการขาดดุลงบประมาณเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก นั่นคือการเพิ่มขึ้นของรายได้รัฐบาลไม่สามารถตามทัน การขยายตัวของรายจ่าย ผลคือภาระหนี้สินของรัฐบาลได้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นปัญหาที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง การแสวงหารายได้และการลดรายจ่ายของรัฐบาลเป็นสิ่งที่จำเป็น มาตรการที่ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายสองประการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการแบบชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งยังคงไม่เพียงพอและจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่วิถีทางที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาที่มีสภาพเรื้อรังเช่นนี้ สิ่งที่ควรกระทำก็คือการพิจารณาปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในแขนงวิชาเศรษฐศาสตร์การคลัง แนวความคิดที่จะสนองตอบต่อความต้องการดังกล่าวได้เป็นอย่างดีก็คือ แนวความคิดเกี่ยวกับรายจ่ายแฝงในภาษี ซึ่งพิจารณาว่ารายได้ของรัฐบาลที่ลดลงอันเนื่องมาจากบทบัญญัติที่ไม่จำเป็นของภาษีนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เสมือนหนึ่งรายจ่ายของรัฐบาลนั่นเอง เพียงแต่เป็นการจ่ายเงินผ่านระบบภาษีแทนที่จะผ่านการใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาล โดยความหมายนี้ แนวความคิดเกี่ยวกับรายจ่ายแฝงในภาษีจึงเป็นการวิเคราะห์รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน เป็นแนวความคิดที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบงบประมาณของไทยเป็นอย่างยิ่ง เท่าที่ผู้เขียนทราบ วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกในประเทศไทยที่ใช้แนวความคิดเกี่ยวกับรายจ่ายแฝงในภาษี การศึกษาจะจำกัดอยู่เฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย โดยทำการระบุและประมาณค่ารายจ่ายแฝงในภาษีอันเกิดจากกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับภาษีชนิดนี้ในปี พ.ศ. 2526 วิธีการศึกษาที่ใช้เป็นแบบพรรณนารวมทั้งการคำนวณอย่างง่ายๆ ตามกระบวนการจัดเก็บภาษีชนิดนี้ การวิเคราะห์กระทำโดยแบ่งแยกเงินได้ของบุคคลออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ เงินได้ที่มิใช่มาจากการทำงานและเงินได้ที่มาจากการทำงาน และในเงินได้แต่ละประเภทนั้น ได้เรียงลำดับการวิเคราะห์จากรายการที่มีมูลค่ามากไปยังรายการที่มีมูลค่าน้อย จนกระทั่งถึงรายการที่ไม่สามารถประมารค่าได้ หลักเกณฑ์ที่ยึดถือในการคำนวณก็คือหลักความสอดคล้องและหลักการประมาณค่าขั้นต่ำ ผลของการวิเคราะห์พอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ 1. ในเชิงคุณภาพ รายจ่ายแฝงส่วนใหญ่ในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย ปี พ.ศ. 2526 ให้ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีสองกลุ่มคือ ข้าราชการและคนฐานะดี 2. ในเชิงปริมาณ รายจ่ายแฝงในภาษีที่มีมูลค่าประมาณ 2,353.94 ล้านบาท และโดยที่รายได้จากภาษีนี้ในปีเดียวกันมีมูลค่า 14,140.11 ล้านบาท ดังนั้น สรุปในรูปของการเปรียบเทียบกันได้ว่า รายจ่ายแฝงในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยปี พ.ศ. 2526 มีค่าอย่างต่ำประมาณร้อยละ 16.65 ของรายได้ภาษีชนิดนี้ในปีเดียวกัน จากผลของการวิจัยซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของรายจ่ายแฝงในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมทั้งจากประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษานี้ ผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า การปรับปรุงระบบข้อมูลเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้เพื่อเปิดทางให้การศึกษาตามแนวความคิดนี้ก้าวหน้าต่อไป และการศึกษาขั้นต่อไปที่มีลำดับความสำคัญมากที่สุดคือ การประยุกต์แนวความคิดนี้กับภาษีชนิดอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อมุ่งไปยังการจัดทำงบประมาณประจำปีของรายจ่ายแฝงในระบบภาษีของประเทศไทย-
dc.description.abstractalternativeAlmost every year during the past three decades, the Government of Thailand has been suffering budget deficit. This situation does not show that the government has intended to use budget policy to encounter economic fluctuation; but it reveals the fact that budget deficit is an unavoidable. In other words the increase in its expenditure. This leads to the augmentation of public debts and now becomes a serious problem. Public revenue increment and the expenditure cut are both needed. Discretionary actions have been undertaken to achieve these two objectives. Yet, they are not enough and indeed it is not a correct route to rectify such a chronic problem. What should be done is to analyse the problem systematically and continuously. Tax Expenditure is a concept that should be examined in this connection. It conveys public revenue losses attributable to unnecessary provisions which are of similar nature as government expenditures; but instead of paying the money through direct government expenditures, these expenditures are made through the tax system. Consequently, the tax expenditures concept can be used to analyse public revenue losses in terms of public expenditures. As far as the researcher knows, this thesis is a pioneering work concerning with tax expenditures concept in Thailand. The study is confined to the personal income tax and aims to identify and estimate the tax expenditures of this tax as the result of the tax law enforced in 1983. The methodology is descriptive with simple calculation in accordance with the process of collecting this tax revenue. The analysis divided individual income into two major categories, namely, unearned income and earned income. Within each category of income, the items are ranked by their importance in terms of the revenue foregone. The guidelines used for calculation are consistency and conservatism. The results of the analysis can be summarized as follows: 1. Qualitatively, most of the benefits from the tax expenditures go to two groups of taxpapers, namely, the bureaucrats and the rich. 2. Quantitatively, the total of the tax expenditures is about 2,353.94 million baht. This tax yields the revenue of 14,140.11 million baht in the same year. Therefore, the tax expenditures of Thailand's personal income tax in 1983 is about 16.65% of the revenue of this tax in that year. From the results of the study which indicate the significance of the tax expenditures. The researcher suggests that the improvement of data is indispensable in order to pave the way for further researches. The priority is given to the application of this concept to other taxes so that they would be combined to prepare Thailand's Tax Expenditure Budget.-
dc.format.extent5283102 bytes-
dc.format.extent4312191 bytes-
dc.format.extent15767613 bytes-
dc.format.extent7073899 bytes-
dc.format.extent16755990 bytes-
dc.format.extent2164150 bytes-
dc.format.extent25351052 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleรายจ่ายแฝงในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยปี พ.ศ.2526en
dc.title.alternativeTax expenditures of Thailand's personal income tax : 1983en
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawatchai_ma_front.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_ch1.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_ch2.pdf15.4 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_ch3.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_ch4.pdf16.36 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Thawatchai_ma_back.pdf24.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.