Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30878
Title: การพัฒนารูปแบบและกลไกการจัดการศึกษาเชิงความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานเอกชนกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The development of collaborative educational management models and mechanisms between rovated organizations and autonomous public universities
Authors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Email: mpateep@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
ความร่วมมือทางการศึกษา
การเชื่อมโยงงานวิชาการสู่ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมกับการศึกษา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดหลักการและสภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเชิงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเอกชนกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในระดับปริญญาตรี และพัฒนารูปแบบการจัดการการศึกษาเชิงความร่วมมือ พร้อมทั้งเสนอกลไกการจัดตามรูปแบบโดยมีขอบเขตของการวิจัยในสาขาที่เกี่ยวกับเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยและหน่วยงานเอกชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหาร 70 คน มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลและในจังหวัดที่เป็นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาค ผลการวิจัยสรุปความสำคัญของการเรียนรู้เน้นความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีและการจัดหลักสูตรที่เน้นประสบการณ์ เพือให้บัณฑิตเป็นแรงงานความรู้ ความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจเอกชนในลักษณะต่าง ๆ ความร่วมมือด้านจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนรวมทั้งสหกิจศึกษา และความร่วมมือด้านบริการวิชาการผู้วิจัยได้นำเสนอ 5 รูปแบบความร่วมมือเป็นแผนภูมิและระบบการสนับสนุนมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในการทำธุรกิจเชิงวิชาการ กลไกการจัดการตามรูปแบบความร่วมมือด้านวิจัย ได้แก่ 1) การกำหนดวาระแห่งชาติหรือยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยสนับสนุนในการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆที่สร้างความเจริญก้าวหน้าและการแข่งขันในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการลงทุนทำวิจัยมากขึ้น 2) การร่วมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมในการทำวิจัย 3) นโยบายจที่ชัดเจนของหน่วยงานสนับสนุนวิจัยระดับชาติ 4) ความเข้าใจบทบาทเสริมของสภาอุตสาหกรรม 5) การมีจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเพื่อคืนกำไรให้แก่สังคมและประชาชนของภาคธุรกิจเอกชน 6) การที่มหาวิทยาลัยประชาสัมพันธ์ความเชี่ยวชาญของตนเอง 7) สร้างความตระหนักในการทำบทบาทนักวิจัยให้แก่อาจารย์ 8) การสนับสนุนบทบาทระบบทำงานคู่ของอาจารย์ 9) การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม 10) การสร้างองค์กรลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย 11) การก่อตั้งบริษัทใหม่ของมหาวิทยาลัยร่วมกับเอกชน 12) และการจัดการด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรม นอกจากนั้นได้เสนอกลไกการจัดการด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน รวมทั้งการจัดสหกิจศึกษา และได้เสนอแนะตัวบ่งชี้ความสำเร็จของความร่วมมือ
Other Abstract: The study aims to analyze concepts, principles and present status of collaborative educational management between private organizations and autonomous public universities in undergraduate education and to develop collaborative educational management models including management mechanism. The models cover only fields of study in agriculture, industry, science and technology. The locations of private organizations and universities selected as the sample are in Bangkok and provinces near by and 70 administrators selected for the interviews. The study reveals the significance of cooperative learning related to undergraduate educational objectives and experiential curriculum in order to build up graduates as the knowledge workers. The collaboration emphasized in sponsored collaborative research between private organizations and universities with the supporting and promoting by the government. The cooperative education program is the most significant collaboration in curriculum and instruction. The administrators state weak and strong points, problems and obstacles of managements. Finally, the 5 models of collaborative educatonal management models are established. The management mechanism is derived for research collaboration in Thailand, for example, 1) establishment of national agenda or government straegy for legisations in the promotion of progress and competition in technology, agriculture and industry for sponsored researches; 2) establishment of university research consortia; 3) the clearly identify policy of the National Research Commission; 4) the role of the Industry National Council in supporting; 5) the merit of responsiblity of return to society by private organizations; 6) increasing the role of public relation at universities for promoting research findings to private organization; 7) increasing faculty research awareness as a significant role; 8) enhancing faculty role as a dual assignment; 9) encouraging strategic planning for research and development in private organizations; 10) establishing technology licensing organizations in universities; 11) management of culltural differences between univesity and private organization; and 12) star-up new company jointed between university and private organization. In addition. The detail mechanism for the collaboration between universities an private organization in curriculum and instruction included cooperative educaton is stated. The mehanisms of collaboration between private organizations and universities will be evaluated by using indicators derived from the study.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30878
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pateep_me_2546.pdf24.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.