Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/308
Title: การสร้างแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: A construction of the process oriented criterrion-referenced test of basic crawl stroke swimming skill for lower secondary school students
Authors: นิรันดร์ วรรณวรเศรษฐ, 2521-
Advisors: จุฑา ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การว่ายน้ำ
การสอบอิงเกณฑ์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้างแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาขั้นพื้นฐาน แบบอิงเกณฑ์เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และประเมินหาความตรง ความเที่ยง ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จำนวน 100 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำ ท่าวัดวาขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์เน้นกระบวนการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้นำแบบทดสอบไปประเมินค่าความตรง ความเที่ยง และความเป็นปรนัย นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความตรงตามเนื้อหา ความไวในการสอน ความตรงตามสภาพการณ์ คะแนนจุดตัด ความคลาดเคลื่อน มาตรฐานของการวัด ความเที่ยงในการจำแนกความรอบรู้ ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์เน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .97 2. ความไวในการสอน (ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ) ของคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังเรียน ของแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความตรงตามสภาพการณ์ของแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความตรงเท่ากับ .96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. คะแนนจุดตัดของแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวา เท่ากับ 4 5. ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัดแบบทดสอบเท่ากับ +-0.12 6. สัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการจำแนกความรอบรู้ ของแบบทดสอบทักษะการว่ายน้ำท่าวัดวาเท่ากับ .82 7. การประเมินความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ 7.1 การประเมินของครูพลศึกษา 5 ท่าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7.2 การประเมินระหว่างครูพลศึกษาแต่ละท่านและการประเมินโดยเฉลี่ยของครูพลศึกษาทั้ง 5 ท่าน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .95 และ .99 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To construct the process oriented criterion-referenced test of basic crawl stroke swimming skill for lower secondary school students and to evaluate the validity, reliability, and objectivity of the test. The samples of this research were 100 students of Surasakmontri School through using the simple and purposive random sampling techniques. The instrument was the process oriented criterion-referenced test of basic crawl stroke swimming skill. The instruments were constructed by the researcher. The validity, reliability and objectivity were evaluated. The data obtained were analyzed to find content validity, validity of instructional sensitivity, concurrent validity, cut off score, standard error of measurement, the reliability of mastery classification and objectivity. The results of the study were as follows: 1. The content validity index in the skill of the process oriented criterion-referenced test of basic crawl stroke swimming skill for lower secondary school students as referred was .97 2. The mean of validity of instructional sensitivity both before and after learning of basic crawl stroke swimming skill test were significantly different at .01 level 3. The correlation coefficients of the concurrent validity of basic crawl storke swimming skill test as referred was .96 and statistically significant at .01 level 4. The cut off score of basic crawl stroke swimming skill test as referred was 4 5. The standard error of measurement of the test was +-0.12 6. The Kappa coefficients of basic crawl stroke swimming skill test as referenced was .82 7. In evaluating the objectivity; 7.1 The evaluating of five physical education teachers was not significantly at .05 level 7.2 The correlation coefficients of the evaluation of each teacher and average evaluation of five physical education teachers were .95 and .99 and statistically significant at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/308
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.655
ISBN: 9741719329
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.655
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirun.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.