Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30903
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย-
dc.contributor.advisorประสิทธิ์ โฆวิไลกูล-
dc.contributor.authorธวิช นิ่มทองคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-14T02:43:21Z-
dc.date.available2013-05-14T02:43:21Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745814938-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30903-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกต้องการศึกษาว่ากิจการคลังสินค้าไซโลและห้องเย็น มีลักษณะที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันประการใด และประการที่สอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับในธุรกิจไซโลและห้องเย็นว่า สามารถนำหลักกฎหมายว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ได้โดยตรงหรือสามารถนำมาใช้ในลักษณะอื่นได้มากน้อยเพียงใด ผลจากการวิจัยปรากฏว่า ถ้าพิจารณาในแง่ของกฎหมายแพ่งอย่างเดียวแล้ว มีนักกฎหมายเห็นว่าธุรกิจคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น น่าจะเป็นธุรกิจที่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เหมือนกัน เพราะมีลักษณะของการดำเนินกิจการและวัตถุประสงค์เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการเก็บรักษาและประเภทของสินค้าเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาในส่วนของกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม กำกับ และดูแล นับตั้งแต่พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.2471 จนถึงประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันถือว่ากิจการไซโลและห้องเย็นไม่ใช่กิจการคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2535 ได้กำหนดให้กิจการไซโลและห้องเย็นเป็นเพียงกิจการที่คล้ายคลึงกันกับกิจการคลังสินค้าเท่านั้น ในส่วนกฎหมายแพ่งที่จะนำใช้บังคับแก่กิจการไซโลและห้องเย็น ได้แยกพิจารณาออกเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงก่อนจะมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองใบรับสินค้าของกิจการไซโลและห้องเย็นแลการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้า คู่สัญญาคงผูกพันกันตามหลักกฎหมายว่าด้วยฝากทรัพย์ หากมีการสลักหลังใบรับสินค้าเพื่อโอนกรรมสิทธิ์สินค้าก็ถือว่าเป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงตามมาตรา 306 ป.พ.พ. และหากมีการสลักหลังใบรับสินค้าเพื่อจำนำสินค้าก็ถือได้ว่าเป็นการจำนำโดยมอบให้บุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลทรัพย์ที่จำนำตามมาตรา 749 ป.พ.พ. ส่วนในช่วงหลังที่มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ในสาระสำคัญของประกาศได้กำหนดให้กิจการไซโลและห้องเย็น มีการออกใบรับรองคลังสินค้าและประทวนสินค้า ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าได้ทำนองเดียวกับกิจการคลังสินค้า ซึ่งในกรณีหลังนี้กฎหมายที่จะนำมาใช้ระหว่างคู่กรณีคือหลักกฎหมายว่าด้วยเก็บของในคลังสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยนำมาใช้ในฐานะเป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 วรรค 3 ป.พ.พ.-
dc.description.abstractalternativeThere are two objectives of study : finding out the similarities among warehousing, silo and cold storage business; and proving that the Civil and Commercial Code can be applied directly to silo and cold storage business or not. The result is that if considering only the civil law, some lawyers say that warehousing, silo and cold storage business should have been under the enforcement of the Civil and Commercial Code as they have the same transactions and objectives but they only have different maintenance procedures and kinds of goods. However, if regarding the public law starting from the Act of Controlling over Trade Effecting on the Safety and Peace of the Public 1928 to the National Executive Council Announcement No.58 which had been effective so far, silo and cold storage business are not warehousing. Especially, according to the Ministerial Notification dated March 5, 1992, it says that silo and cold storage business are only similar to warehousing. The study has analyzed two periods of time when applying the civil law with silo and cold storage business : the period before and the period after the said Ministerial Notification. During the former period, there was no provision certifying goods receipt of silo and cold storage business, and its utilization in trade. In this case, the contractors are subjected to the depositing law. If a goods receipt is endorsed in order to transfer goods ownership, it will be the transfer an obligation performable to a specific creditor according to the Civil and Commercial Code, Section 306. In case it is endorsed for pledge, it will be the pledge according to the Code, Section 749. As for the latter period, the context of the said Ministerial Notification describes that silo and cold storage business are able to issue warehouse receipt and warrant, and its utilization in the same way as warehousing does. In this case, warehousing provisions can be applied as analogy according to the Code, Section 4, paragraph 3.-
dc.format.extent4925399 bytes-
dc.format.extent8623888 bytes-
dc.format.extent4302092 bytes-
dc.format.extent17873928 bytes-
dc.format.extent15275579 bytes-
dc.format.extent6513022 bytes-
dc.format.extent5917849 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้กฎหมายบังคับถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีในกิจการไซโลและห้อง เย็นเปรียบเทียบกับคลังสินค้าen
dc.title.alternativeThe law's enforcement to rights and duties parties in silo and cold storage compares with warehouseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thawich_ni_front.pdf4.81 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_ch1.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_ch2.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_ch3.pdf17.46 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_ch4.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_ch5.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
Thawich_ni_back.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.