Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31046
Title: | การกระตุ้นการแสดงออกของทูเมอร์เนโครสิสแฟคเตอร์อัลฟ่าโดยความร้อนหรือไลโปโพลีแซคคาไลด์ที่ได้จากพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิสและเอสเชอริเชียโคไลในไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Induction of tumor necrosis factor alpha by heat or lipopolysaccharides derived from Porphyromonas gingivalis and Escherichia coli in human gingical and periodontal ligament fibroblasts |
Authors: | นีรชา สารชวนะกิจ สิรีรัตน์ ปลื้มสัมพันธ์ |
Email: | sneeracha@yahoo.com pl_sireerat@yahoo.com |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Subjects: | ทูเมอร์เนโครสิสแฟคเตอร์ -- การควบคุม ทูเมอร์เนโครสิสแฟคเตอร์ -- ผลกระทบจากอุณหภูมิ โรคปริทันต์ -- การป้องกัน เหงือกอักเสบ ไซโตไคน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคปริทันต์เป็นโรคประกอบขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย โดยไลโปโพลีเซคคาไลด์ (แอลพีเอส) เป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งของการเกิดและการดำเนินไปของโรค แอลพีเอสจากแบคทีเรียเอสเซอริเซียโคไลถูกนำมาใช้ ในการศึกษาผลของแอลพีเอสมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี เนื่องจากมีส่วนของโครงสร้างที่พบได้ในเอนโดทอกซินของบคทีเรียแกรมลบทุกชนิด อย่างไรก็ตามการศึกษาในแอลพีเอสที่ได้จากพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคปริทันต์ให้ผลการศึกษาที่ต่างไปจากผลที่ได้จากเอสเซอริเซียโคไลแอลฟีเอส นอกเหนือจากปัจจัยทางชีวภาพแล้ว พบว่าปัจจัยทางกายภาพก็มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเซลล์เนื่องจากภายในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิบ่อยครั้ง อุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกาย อาจส่งผลต่อสภาวะของโรคปริทันต์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของแอลฟีแอสที่ได้จากพอไฟโรโมแนสจินวิจอลิสกับเอสเซอริเซียโคไล และผลของความร้อนต่อระดับการแสดงออกของทูเมอร์เนโคริสแฟคเตอร์อัลฟ่า (ทีเอ็นเอฟอัลฟ่า) ในไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหลือกและเอ็นยึดปริทันต์ของมนุษย์ในแง่ของตัวรับรู้และการถ่ายทอดสัญญาณภายในเซลล์ ศึกษาโดยเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหงือกและเอ็นยึดปรทันต์ของนุษย์ในห้องปฏิบัติการ แล้วกระตุ้นเซลล์ด้วยพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิสแอลพีเอส เอสเชอริเชียโคไลแอลพีเอส หรือเลียงเซลล์ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส สำหรับการกระตุ้นด้วยความร้อน การเปลี่ยนแอลงของทีเอ็นเอฟอัลฟ่าในระดับอาร์เอ็นเอนำรหัส และโปรตีน วิเคราะห์ด้วยเทคนิคอวร์ที-พีซีอาร์ และอีไลซา ส่วนการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์ ศึกษาโดย ในระดับตัวรับรู้ของเซลล์ใช้แอนิบอดีตัวยับยั้งร่วมกับเทคนิคเอสไออาร์เอ็นเอที่มีความจำเพาะต่อตัวรับรู้แอลพีเอสของเซลล์คือ โทลไลค์รีเซ็บเตอร์ 2 และ 4 เพื่อหาตัวรับรู้ที่เซลล์แต่ละชนิดใช้ และต่อชนิดของแอลพีเอสที่เซลล์รับรู้ ส่วนในการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์ ใช้ตัวยังยั้งที่มีความจำเพาะต่อโมเลกุลที่ส่งถ่ายสัญญาณ ผลการศึกษาพบว่าทั้งเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ได้จากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์สามารถรับรู้แอลพีเอสทั้งสองชนิดได้โดยใช้โทลไลค์รีเซ็บเตอร์ 2 หรือ 4 เพียงตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งส่งผลในการเพิ่มการแสดงออกของทีเอ็นเอฟอัลฟ่า เส้นทางการส่งถ่ายสัญญาณในเซลล์พบว่า เซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเอ็นยึดปริทันต์เมื่อกระตุ้นด้วยพอไฟโรโมนสจินจิวอลิสแอลพีเอสจะผ่านไปทางพีไอทรีเค และ เอเคที แต่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเอสเชอริเซียโคไลแอลพีเอสจะผ่านไปทางเอเคทีและเอิร์ค ส่วนในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ จากเหงือกเมื่อกระตุ้นด้วยพอไฟโรโมแนสจินจิวอลิสอลพีเอสจะผ่านไปทางเอิร์ค พี 38 ไคเนส และเอ็นเอฟแคปปาบี แต่เมื่อถูกกระตุ้นด้วยเอสเซริเซียโคไลแอลพีเอสจะผ่านไปทางเอ็นเอฟแคปปาบีเท่านั้น สำหรับความร้อนนั้นเซลล์รับรู้ผ่านทางตัวรับรู้ทริบวี-1 โดยส่งถ่ายสัญญาณไปทาง พีเคซี การใช้ไซโตคาลาซินดี ซึ่งยับยั้งการเกิดแอกตินโพลิเมอร์ ทำให้ทราบว่าการจัดเรียงตัวใหม่ของโครงร่างกายในของเซลล์อาจมีความสำคัญในกลไกการรับรู้ความร้อนของเซลล์ โดยสรุปจากข้อมูลข้างต้นพบว่าเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์มีกลไกการตอบสนองต่อพอๆฟโรโแนสจินจิวอลิส และเอส เอสเชอริเซียโคไลแอลพีเอสในการเพิ่มการสร้างทีเอ็นเอฟอัลฟ่าต่างกัน ส่วนการตอบสนองของเซลล์ต่อความร้อนโดยรับรู้ผ่านทริบวี-1 แสดงให้เป็นว่าความร้อนน่าจะมีบทบาทในรอยโรคปริทันต์ |
Other Abstract: | Periodontal disease is the multifactor disease. Lipopolysaccharide (LPS) has been shown as a major pathogenic substance. LPS derived from E. coli has been used to study for several decades according to its well-conserved structure typical for bacterial endotoxin, however, increasing information retrieve from using LPS derived from P. gingiva lis, which is recognized as a main pathogenic bacteria causing of periodontitis have shown different from that of E. coli. In addition to biological factor, physical factor may partially responsible for modulation of cell behavior. Oral cavity is often exposed to the change in temperature. Higher temperature above the body temperature may cause some effects on periodontal disease. The purpose of the present study was to investigate the effect of LPS; compared between that derived from P. gingiva lis and E. coli, and the physical environment; heat, on the expression of TNFU in human gingival and periodontal ligament fibroblasts in aspects of receptors and the intracellular signal transduction pathways. In the study, primary cultures of healthy gingival and periodontal ligament fibroblasts were treated with P. gingiva/is/ E. coli LPS or incubated at 45°C for thermal stimulation. Changes of TNFU at the levels of mRNA and protein were determined by using RT-PCR and ELISA. To elucidate the signal transduction pathway of P. gingivalis/ E. coli LPS and heatinduced TNFU, blocking anti-TLRs and TLRs siRNA were used to specify the required receptors. In addition, specific inhibitors of the intracellular signaling molecules were used to analyze the regulatory pathways. The result demonstrated that both PDL and GF cells could recognize both kinds of LPS by using either TLR2 or TLR4, but with the different extend, to induce TNFU expression. However, signaling pathway in P. gingiva lis LPS treated-PDL cells was passed through PI3K and Akt, whereas the pathway in E. coli LPS treated-PDL cells was via Akt and ERK. While pathway in P. gingiva/is LPS treated-GF cells was through ERK, p38 kinase and NF-kB, whereas the pathway in E. coli LPS treatedGF cells was via NF-kB only. Heat up-regulated TNFU was mediated by TRPVI. PKC was required for heat-induced TNFU expression. In addition, the use of Cytochalasin D, an inhibitor of actin polymerization, revealed that the cytoskeleton rearrangement might be an important mechanism for cellular sensing of thermal stimuli. In conclusion, all above the results suggest that P. gingivalis LPS differs from E. coli LPS in its signaling pathway in PDL and GF cells, and both types of cells responded to LPS using the different pathway to up-regulate TNFU. Thermal stimulated-TRPVl activation led to the induction of TNFU mRNA expression in PDL cells suggesting role of heat in modulating of periodontal disease. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31046 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Dent - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
niracha_sa_2553.pdf | 11.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.