Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุลยา พิสิษฐ์สังฆการ-
dc.contributor.authorสุภัทรา ปกาสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2013-05-26T13:56:06Z-
dc.date.available2013-05-26T13:56:06Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31388-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคมของวัยรุ่นชายที่กระทำผิดครั้งแรก วัยรุ่นชายที่กระทำผิดซ้ำ และวัยรุ่นชายทั่วไปว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายที่กระทำผิดในความผิดร้ายแรงและวัยรุ่นชายทั่วไป จำนวน 317 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นชายที่กระทำผิดครั้งแรก จำนวน 137 คน กลุ่มวัยรุ่นชายที่กระทำผิดซ้ำ จำนวน 80 คน และกลุ่มวัยรุ่นชายทั่วไป จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างตอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความหุนหันพลันแล่น แบบวัดความก้าวร้าว แบบวัดความร่วมรู้สึกกับผู้อื่น แบบวัดความผูกพันกับผู้ปกครอง แบบวัดการควบคุมดูแลของผู้ปกครอง (ตามการรับรู้ของวัยรุ่น) และแบบวัดการเป็นอิสระจากบรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม (MANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ (Multiple comparison) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตัวแปรในแต่ละกลุ่มตัวอย่างผลการวิจัย พบว่า โดยรวมแล้วตัวแปรที่ศึกษาทั้ง 9 ตัว ซึ่งแบ่งออกเป็นสามปัจจัยคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความหุนหันพลันแล่น ความก้าวร้าว ความร่วมรู้สึกกับผู้อื่น และการใช้สารเสพติด ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ความผูกพันกับผู้ปกครอง การมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยกระทำผิด และการควบคุมดูแลของผู้ปกครอง และปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ การมีเพื่อนสนิทที่เคยกระทำผิด และการเป็นอิสระจากบรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อน นั้นมีความแตกต่างกันระหว่างวัยรุ่นทั้งสามกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Pillai's Trace = 12.384, p<.001; Wilks' Lambda = 13.713, p<.001; Hotelling's Trace = 15.062, p<.001; Roy's Largest Root = 28.811, p<.001) จากการทดสอบความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละตัวแปรตาม พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแปร ภายหลังจากการเปรียบเทียบรายคู่ (Multiple-Comparisons) พบว่าวัยรุ่นชายที่กระทำผิดซ้ำมีคะแนนความหุนหันพลันแล่น ความก้าวร้าว การควบคุมดูแลของผู้ปกครอง การมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยกระทำผิด และการมีเพื่อนสนิทที่เคยกระทำผิดสูงที่สุด ในขณะที่การเป็นอิสระจากบรรทัดฐานของกลุ่มเพื่อนต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับอีกสองกลุ่มที่เหลือen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to compare the personal, family, and social factors among male juvenile offenders, male juvenile re-offenders and male juvenile non-offenders. Participants were 317 male juveniles who were classified into three groups: 1) 137 male juvenile offenders, 2) 80 male juvenile re-offenders, and 3) 100 male juvenile non-offenders. Participants responded to a set of questionnaires which were divided into 2 parts: the first part included questions about participants’ personal information, and the second part measured participants’ impulsivity, aggression, empathy, parental bonding, parental control, and independence from their peer norms. Data were analyzed using the MANOVA. Then, the mean difference among the three groups of participants for each dependent variable was examined using ANOVA. Then, Multiple Comparison was conducted to identify the score differences among the three groups. Result indicated differences in the mean scores among the three groups of participants in the nine variables examined which could be grouped into three factors as follows: (1) personal factor (impulsivity, aggression, empathy and using drugs) (2) family factor (parental bonding, parental control, and family members’ law violation), and (3) social factors (friends’ law violation and independence from peer norms). Findings revealed significant differences among three groups in all three factors (Pillai's Trace = 12.384, p<.001; Wilks' Lambda = 13.713, p<.001; Hotelling's Trace = 15.062, p<.001; Roy's Largest Root = 28.811, p<.001). The analysis of variance demonstrated that there were significant differences in each dependent variable as well. In addition, multiple-comparisons showed that with the exception of the score of empathy, the scores of impulsivity, aggression, parental control, family members’ law violation, and friends’ law violation were highest in the re-offenders whereas the score of independence from peer norms was lowest in this group.en
dc.format.extent1755118 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1393-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัยรุ่นชายen
dc.subjectการกระทำผิดซ้ำen
dc.subjectผู้กระทำผิดซ้ำen
dc.subjectเยาวชนผู้กระทำความผิดอาญาen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และสังคมของวัยรุ่นชายที่กระทำผิดครั้งแรก วัยรุ่นชายที่กระทำผิดซ้ำ และวัยรุ่นชายทั่วไปen
dc.title.alternativeA comparative study of the personal, family, and social factors of male juvenile offenders, male juvenile re-offenders, and male juvenile non-offendersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKullaya.D@chula.ac.th, Kullaya@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1393-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supattra_pa.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.