Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31395
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชิต คนึงสุขเกษม-
dc.contributor.authorสุรสา โค้งประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2013-05-26T14:47:03Z-
dc.date.available2013-05-26T14:47:03Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31395-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรกับความสามารถในการแสดงทักษะของนักกีฬาตะกร้อหญิงทีมชาติไทยประเภทเซปักตะกร้อและประเภทตะกร้อคู่ ที่เข้าร่วมอยู่ในชุดเตรียมทีมซีเกมส์ ครั้งที่ 24 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักกีฬาประเภทเซปักตะกร้อหญิงทีมชาติไทย จำนวน 9 คน และเป็นนักกีฬาประเภทตะกร้อคู่หญิงทีมชาติไทย จำนวน 3 คน ทั้งหมดอายุระหว่าง 19–26 ปี เก็บข้อมูลในช่วงก่อนการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 24 ทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาประกอบด้วย ส่วนสูง น้ำหนัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิก สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว เวลาปฏิกิริยาตอบสนองและการทรงตัวที่สมดุล ทำการเก็บข้อมูลและสังเกตการณ์การแข่งขันในช่วงนักกีฬาแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรกับความสามารถในการแสดงทักษะในการแข่งขันโดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรกับความสามารถในการแสดงทักษะต่างๆในช่วงการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ดังนี้ การทรงตัวที่สมดุลกับการฟาดเสีย(r=.802)ความอ่อนตัว(เหยียดสะโพกขวา) กับการบล็อกเสีย (r=.687) ความเร็วกับการฟาดได้ (r=.667) ส่วนสูงกับการบล็อกได้ (r=.656) การทรงตัวที่สมดุลกับการบล็อกได้ (r=.646) ความเร็วกับการฟาดเสีย (r=.645) ความเร็วกับการบล็อกเสีย (r=.608) การทรงตัวที่สมดุลกับการฟาดได้ (r=.604) ความอ่อนตัว (เหยียดสะโพกขวา) กับการฟาดได้ (r=.592) ส่วนสูงกับการฟาดเสีย (r=.587) ความอ่อนตัว (หุบสะโพกซ้าย) กับการรับลูกเสิร์ฟเสีย (r=.573) เวลาปฏิกิริยาทางด้านขวากับการฟาดเสีย (r=.570) เวลาปฏิกิริยาทางด้านซ้ายกับการฟาดเสีย (r=.569) การทรงตัวที่สมดุลกับการรับลูกเสิร์ฟเสีย (r=.563) เวลาปฏิกิริยาทางด้านซ้ายกับการบล็อกได้ (r=.556) เวลาปฏิกิริยาทางด้านขวากับการบล็อกได้ (r=.529) เวลาปฏิกิริยาทางด้านขวากับการฟาดได้ (r=.523) ความคล่องแคล่วว่องไวทางด้านขวากับการฟาดเสีย (r=.514) ความเร็วกับการบล็อกได้ (r=.504) ความคล่องแคล่วว่องไวทางด้านขวากับการบล็อกได้(r=.503) การทรงตัวกับการบล็อกเสีย (r=.483) สำหรับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยากับค่าความสามารถในการแสดงทักษะในการแข่งขันที่มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ดังนี้ การทรงตัวที่สมดุลกับการเสิร์ฟได้ (r= -.693) ความอ่อนตัว (หมุนสะโพกซ้ายเข้า)กับการรับลูกเสิร์ฟได้ (r= -.687) สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิกกับการบล็อกได้ (r= -.639) ความอ่อนตัว (หมุนสะโพกขวาออก) กับการรับลูกเสิร์ฟได้ (r= -.577)ความอ่อนตัว (หุบสะโพกซ้าย) กับการรับลูกเสิร์ฟได้ (r= -.523) ความคล่องแคล่วว่องไวทางด้านขวากับการรับลูกเสิร์ฟได้(r= -.508) ความอดทนของกล้ามเนื้อกับการรับลูกเสิร์ฟได้ (r= -.502) การทรงตัวที่สมดุลกับการเสิร์ฟเสีย (r= -.501)ความคล่องแคล่วว่องไวทางด้านขวากับการตั้งลูกชงได้ (r= -.493) ความอ่อนตัว (หมุนสะโพกซ้ายออก) กับการรับลูกเสิร์ฟได้ (r= -.477) สรุปได้ว่า ตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการแสดงทักษะในการแข่งขันของนักกีฬาตะกร้อหญิงทีมชาติไทยในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 มีดังนี้ เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง ความอ่อนตัว การทรงตัวที่สมดุล ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว ความอดทนของกล้ามเนื้อ สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิก และส่วนสูงen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the relationships between the selected physiological parameters and the performances of Thai national female sepak-takraw and double takraw players who were in the preparatory team for the 24th SEA Games.All subjects aged between 19-26 years old were purposively selected into this study.Data collection was before and during the 24th SEA Games and participated by 9 female sepak-takraw players and 3 female double takraw players. The following selected physiological parameters were measured before the tournament: height, weight, %bodyfat,maximum oxygen consumption, anaerobic fitness, anaerobic threshold, muscle endurance, muscle strength, muscle power, flexibility, agility, speed, reaction time and body balance ; and their performances were also observed during tournament. The data were statistically analyzed in terms of means, standard deviations, pearson correlations and to determine the significant difference at the .05 level. The results were as follows: The relationships between the following selected physiological parameters and the performances of the players in the 24th SEA Games showed the significant correlationships at the .05 level as follows:body balance with spike failure (r=.802), flexibility(right hip extension)with block failure(r=.687),speed with spike pass(r=.667),height with block pass(r=.656),body balance with block pass(r=.646),speed with spike failure(r=.645),speed with block failure(r=.608),body balance with spike pass(r=.604),flexibility(right hip extension)with spike pass(r=.592),height with spike failure(r=.587),flexibility(left hip adduction)with received service failure(r=.573), left side reaction time with spike failure(r=.569),body balance with received service failure(r=.563),left side reaction time with block pass(r=.529),right side reaction time with spike pass (r=.523),right side agility with spike failure(r=.514),speed with block pass(r=.504),right side agility with block pass(r=.503),body balance with block failure(r=.483),body balance with service pass(r= -.693),flexibility(left hip internal rotation)with received service pass (r= -.687),anaerobic fitness with block pass(r= -.639), flexibility(right hip external rotation)with received service pass(r= -.577), flexibility (left hip adduction)with received service pass(r= -.523),right side agility with received service pass(r= -.508),muscle endurance with received service pass(r= -.502),left body balance with service failure(r= -.501),right side agility with set spike pass(r= -.493),flexibility(left hip external rotation)with received service pass(r= -.477). In summary, physiological parameters of Thai female national takraw athletes were related to the performances in the 24th SEA Games : reaction time, flexibility, body balance, agility, speed, muscle endurance, anaerobic fitness and height.en
dc.format.extent14296669 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.625-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectตะกร้อen
dc.subjectนักกีฬาหญิง -- แง่สรีรวิทยาen
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย-
dc.subjectTakraw-
dc.subjectWomen athletes -- Physiological aspects-
dc.subjectPhysical fitness-
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางสรีรวิทยาที่คัดสรรกับความสามารถในการแสดงทักษะในการแข่งขันของนักกีฬาตะกร้อหญิงทีมชาติไทยen
dc.title.alternativeA study of the relationships between the selected physiological parameters and the performances of Thai female national takraw athletesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVijit.k@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.625-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasa_Kh.pdf13.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.