Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31439
Title: การใช้พัลส์ดายเลเซอร์ความยาวคลื่น 595 นาโนเมตรในการรักษาผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
Other Titles: 595-NM pulsed dye laser photorejuvenation in photodamaged skin
Authors: สุวิมล พู่ทองคำ
Advisors: ประวิตร อัศวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pravit.A@Chula.ac.th
Subjects: ผิวหนัง -- โรค -- ศัลยกรรมด้วยแสงเลเซอร์
ผิวหนัง -- ศัลยกรรมด้วยแสงเลเซอร์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย: พัลส์ดายเลเซอร์ความยาวคลื่น 595 นาโนเมตรเป็นหนึ่งในเลเซอร์กลุ่ม non-ablative ที่ได้รับความนิยมในการรักษาผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานและการนำหัวกด (compression handpiece) มาประยุกต์ใช้ทำให้การรักษาเกิดผลข้างเคียงน้อยมาก วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของพัลส์ดายเลเซอร์ความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร ในการรักษากระแดดและริ้วรอยในผิวหนังที่เปลี่ยนแปลงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน วิธีการทำวิจัย : ศึกษาผู้เข้าร่วมวิจัย 10 คนที่ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน สุ่มเลือกใบหน้าด้านหนึ่งรักษาด้วยพัลส์ดายเลเซอร์ความยาวคลื่น 595 นาโนเมตร หลังจากนั้นทำเลเซอร์บริเวณกระแดดใช้หัวกด 6 J/cm², 6 ms ใบหน้าด้านที่ไม่ได้รักษาเป็นกลุ่มควบคุม ทำการรักษาทั้งหมด 3 ครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ทำการถ่ายรูปใบหน้าทั้งสองด้านก่อนทำการศึกษาและทุกเดือน รวมถึง 1 เดือนหลังการรักษาครั้งสุดท้าย ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบภาพรวมที่ดีขึ้นของกระแดดและริ้วรอยโดยแพทย์ผิวหนัง 3 ท่าน และใช้เครื่อง VISIA วิเคราะห์จำนวนกระแดดและริ้วรอย ผลการวิจัย : ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดจำนวน 10 คน เป็นเพศหญิง อายุ 39 ถึง 55 ปี มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานระดับปานกลาง ตาม Fitzpatrick Wrinkle Severity scale จากการประเมินผลโดยเปรียบเทียบภาพรวมที่ดีขึ้นของกระแดดระหว่างใบหน้าทั้งสองด้านหลังการรักษาในเดือนที่ 3 พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.008, Wilcoxon signed rank test) เมื่อเปรียบเทียบจำนวนกระแดดที่ลดลง พบว่าใบหน้าด้านที่ทำเลเซอร์ กระแดดลดลงโดยมีค่าเฉลี่ย 6.1 ในขณะที่ใบหน้าด้านที่เป็นกลุ่มควบคุม กระแดดเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.8 (p=0.075, Paired samples t test) สำหรับผลของเลเซอร์ในการรักษาริ้วรอยนั้นพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างใบหน้าทั้งสองด้านจากการประเมินภาพรวมที่ดีขึ้นของริ้วรอย (p=0.157) และเมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่อง VISIA (p=0.490, Wilcoxon signed rank test) และ ผลข้างเคียงระหว่างการรักษาพบรอยดำ (hyperpigmentation) ในผู้เข้าร่วมวิจัย 2 คน สรุปผลการวิจัย : พัลส์ดายเลเซอร์ความยาวคลื่น 595 นาโนเมตรมีประสิทธิภาพในการรักษากระแดดบนใบหน้า แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการรักษาริ้วรอย ข้อจำกัดในการศึกษานี้ คือจำนวนตัวอย่างค่อนข้างน้อย
Other Abstract: Background: 595-nm PDL is one of the popular non-ablative lasers for facial rejuvenation. Recent addition of compression handpiece allows treatments with minimal adverse effects. Objective: The purpose of this study was to evaluate the efficacy of 595-nm PDL in the treatment of lentigines and wrinkles in photodamaged skin. Method: 10 subjects with photodamaged skin from the dermatology clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital were enrolled in this study. One side of the face was treated with 595-nm PDL 6 J/cm², 6 ms in the first pass. Then, lentigines were treated with CHP 6 J/cm², 6 ms. The untreated side served as control. The subjects received a total of three monthly treatments. At baseline and prior to each laser treatment, as well as a month after the last treatment, photographs of both sides of the face were taken by VISIA. Global assessment of lentigines and wrinkles was done by 3 dermatologists. In addition, the numbers of lentigines and wrinkles were analyzed by VISIA. Results : All 10 subjects were female aged from 39 to 55 years with moderate photodamaged skin as defined by Fitzpatrick Wrinkle Severity scale. There was statistically significant difference in the degree of improvement of lentigines by global assessment at 3rd month. (p=0.008, Wilcoxon signed rank test). The mean change in number of lentigines on the treated side was -6.1, while that of the controlled side was +2.8 (p=0.075, Paired samples t test). There was no statistically significant difference in the degree of improvement of wrinkles analyzed by global assessment (p=0.157) and VISIA (p=0.490, Wilcoxon signed rank test). Hyperpigmentation was found in 2 subjects. Conclusion : 595-nm PDL is effective in the treatment of facial lentigines. There was no significant improvement in wrinkles in our study. Our limitation may be the rather small sample size.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31439
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.681
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.681
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwimon_po.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.