Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31587
Title: กระบวนการตรวจสอบกันเองระหว่างหนังสือพิมพ์รายวัน ในช่วงปี พ.ศ.2537 ถึง พ.ศ.2539
Other Titles: The process of counter-check among Thai daily newspapers from the year 1994 to 1996
Authors: อรนุช วานิชทวีวัฒน์
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจบทบาทและกระบวนการตรวจสอบกันเองระหว่างหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2539) ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ตรวจสอบกันเองระหว่างหนังสือพิมพ์ค่อนข้างชัดเจน และเพื่อทราบถึงเหตุผลของการเข้าและไม่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบกันเองของหนังสือพิมพ์ ผลการวิจัยพบว่า ในการตรวจสอบกันเองระหว่างหนังสือพิมพ์รายวันส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของความผิดพลาด และความไม่ถูกต้องในเนื้อหาที่หนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกตรวจสอบนำเสนอ โดยลักษระเนื้อหาส่วนใหญ่จะปรากฏในรูปของข่าว ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมความถูกต้องในเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกตรวจสอบ หรือวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยภาษาที่เรียบง่ายตามรูปแบบของการเขียนข่าว และในการยุติการตรวจสอบกันเองซึ่งส่วนใหญ่จะหยุดไปเฉย ๆ โดยมีเงื่อนไขมาจากการที่หนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกตรวจสอบเปลี่ยนแปลงท่าที หรือ ยุติการนำเสนอไปก่อน สำหรับเหตุผลที่หนังสือพิมพ์รายวันเข้าและไม่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบกันเอง พบว่าหนังสือพิมพ์ต่างก็มีเหตุผลเป็นตนเองโดยยึดนโยบายและหน้าที่ของการเป็นสื่อสารมวลชนเป็นหลังโดยหนังสือพิมพ์ที่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบกันเอง (ข่าวสด มติชน และกรุงเทพธุรกิจ) มองว่าแม้จะไปไม่ใช่นโยบายที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์แต่ก็เป็นหน้าที่ที่ควรปฏิบัติของหนังสือพิมพ์ทั่วไป ส่วนหนังสือพิมพ์ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบกันเองให้เหตุผลว่า ไม่ใช่หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ที่จะตรวจสอบกันเองควรเป็นหน้าที่ของประชาชนมากกว่า และจากการวิจัยยังพบว่า ความเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับที่เล็กกว่าก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้หนังสือพิมพ์หลายฉบับไม่ค่อยอยากเข้าสู่กระบวนการนี้เพราะอาจส่งผลกระทบถึงธุรกิจหนังสือพิมพ์ของตนเองได้
Other Abstract: The main objective of this research was to understand the role and the process of counter-check among Thai daily newspapers during the past 3 years (1994-1996). There were apparently several cases of counter-check among them in this period. Another objective was to understand the reasons why some newspapers did the counter-check and why others did not. The findings were that the main focus of these counter-check was on the inaccurate and wrongful news reporting. It was found that many newspapers checked would simply correct their mistakes and changed their news angles accordingly, then, the counter-check process stopped. It was found that the newspapers that performed the counter-check process, namely Khao-Sod, Matichons, Krungthep Dhurakij did it because they believed that it was part of their responsibilities as newspapers. However, it was not one of their mains policies. Those papers that did not counter-check said it was the responsibilities of the people/readers, not the newspaper, to do the counter-check. In additions, there was a finding the smaller newspaper avoided the counter-check because it may affect their business.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31587
ISBN: 9746355694
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranut_wa_front.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_ch1.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_ch2.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_ch3.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_ch4.pdf44.61 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_ch5.pdf11.03 MBAdobe PDFView/Open
Oranut_wa_back.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.