Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31812
Title: การออกแบบและประเมินสมรรถนะของวิธีการแก้ปัญหาการช่วงชิงช่องสัญญาณที่สามารถรองรับคุณภาพการให้บริการ สำหรับทราฟฟิกมัลติมีเดีย ในระบบสื่อสารไร้สายที่มีค่าเวลาประวิงสัมพัทธ์ยาว
Other Titles: Design and performance evaluation of contention resolution schemes with QoS support for multimedia traffic in relatively long delay wireless communication systems
Authors: วรากร ศรีเชวงทรัพย์
Advisors: ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wlunchak@chula.ac.th
Subjects: ระบบสื่อสารไร้สาย -- การควบคุมการเข้าถึง
การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งเวลา
โทรคมนาคม -- ปริมาณการใช้
Wireless communication systems -- Access control
Time division multiple access
Telecommunication -- Traffic
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาเทคนิคการจองช่องสัญญาณที่สามารถกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณให้กับผู้ใช้บริการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับระบบสื่อสารที่มีเวลาประวิงการแพร่กระจายครบรอบ (Round-Trip Propagation Delay) ยาวกว่าเวลาประวิงการส่งสัญญาณ (Transmission Delay) โดยเทคนิคการกำหนดลำดับความสำคัญในการเข้าจองช่องสัญญาณที่นำเสนอ แบ่งออกเป็น 9 วิธี คือ เทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ Partial UNI, UNI+MT, UNI+DS+MT, Partial UNI+MT, UNI+MT+MLA, UNI+DS+MT+MLA, Partial UNI+MT+MLA, CFP+MP และ CFP+SRT สมรรถนะของเทคนิคแต่ละเทคนิคที่เสนอถูกประเมินในรูปของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดโดยเฉลี่ยที่ประสบความสำเร็จในการจองช่องสัญญาณ เวลาประวิงในการจองช่องสัญญาณสำเร็จ และความสามารถในการควบคุมคุณภาพการให้บริการ ทั้งนี้การประเมินสมรรถนะของเทคนิคที่พัฒนาขึ้นทั้งหมดจะอาศัยการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์เป็นหลัก ผลการวิเคราะห์สมรรถนะของเทคนิคการจองที่นำเสนอ พบว่าในกรณีที่ระบบมีจำนวนผู้ใช้บริการน้อยกว่าจำนวนช่องสัญญาณ กลไกการใช้ใบจองหลายใบ (Multi-Token) จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดโดยเฉลี่ยที่ประสบความสำเร็จในการจองช่องสัญญาณได้ และเมื่อระบบมีจำนวนผู้ใช้บริการมากกว่าจำนวนช่องสัญญาณ กลไกการใช้การจำกัดการเข้าจอง (Limited access) จะช่วยจำกัดโหลดในการเข้าจองช่องสัญญาณไม่ให้มีค่ามากเกินไปทำให้ระบบมีเสถียรภาพมากขึ้น นอกจากนี้กลไกการใช้การจำกัดการเข้าจองยังช่วยให้การควบคุมคุณภาพการให้บริการทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำเทคนิคการจองที่นำเสนอไปเปรียบเทียบกับเทคนิคที่นำเสนอในอดีต พบว่าเทคนิคการจองช่องสัญญาณแบบ UNI+MT+MLA, UNI+DS+MT+MLA และ Partial UNI+MT+MLA CFP+SRT มีสมรรถนะเหนือกว่าเทคนิคการจองช่องสัญญาณที่มีอยู่เดิมอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระบบมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดน้อยกว่าจำนวนช่องสัญญาณอยู่มาก
Other Abstract: This thesis presents the development of channel reservation techniques that support multi-class traffics and are suitable for the system in which the round-trip propagation delay is comparatively longer than the transmission delay. Nine distinct channel reservation techniques are proposed, namely Partial UNI, UNI+MT, UNI+DS+MT, Partial UNI+MT, UNI+MT+MLA, UNI+DS+MT+MLA, Partial UNI+MT+MLA, CFP+MP and CFP+SRT. The performance of each proposed technique is evaluated in terms of the average number of successful users, the average channel reservation delay time and the capability of controlling the system to satisfy the QoS requirement. The performance of all proposed techniques are evaluated through mathematical analysis. The numerical results show that the introduction of Multi-Token mechanism can significantly increase the total average number of successful users under light load condition. In case of heavy loads, the Limited access mechanism can efficiently reduce the overloading, and improve the system performance. Finally when comparing between our proposed techniques and well-known techniques in terms of throughput performance, the average channel reservation delay time and the capability of controlling the system to satisfy the QoS requirement, we found that UNI+MT+MLA, UNI+DS+MT+MLA and Partial UNI+MT+MLA schemes are superior to the existing techniques, especially for systems with light load.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31812
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.672
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.672
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warakorn_sr.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.