Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
dc.contributor.authorอัจฉรา ปุญญฤทธิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-06-04T05:53:29Z
dc.date.available2013-06-04T05:53:29Z
dc.date.issued2533
dc.identifier.isbn9745770434
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31890
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาของเมืองชั้นในที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นปัญหาอันวิกฤตโดยใช้หลักการของการปรับปรุงพื้นฟูพื้นที่ เขตสัมพันธวงศ์เป็นเขตชั้นในเขตหนึ่งที่มีความสำคัญในด้านการเป็นศูนย์ธุรกิจการค้าดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแขวงจักรวรรดิ ซึ่งเป็นแขวงหนึ่งในเขตนี้นั้น เป็นย่านธุรกิจการค้าเฉพาะอย่างที่ยังคงความสำคัญอยู่มาก แต่ในปัจจุบันเกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย ผลการวิจัยพบว่า แขวงจักรวรรดิมีปัญหาที่สำคัญและสมควรที่จะได้รับการแก้ไขโดยเร็ว โดยได้ข้อสรุปจากการสำรวจสภาพทั่วไปและจากการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่าง จำนวน 350 ตัวอย่าง ปัญหาดังกล่าวคือ 1 ปัญหาด้านการจราจร การจราจรที่ติดขัดในบริเวณนี้เนื่องจากขนาดถนนและซอยคับแคบ การขาดแคลนที่จอดรถ การจอดรถขนถ่ายสินค้าบนผิวทางจราจร การฝ่าฝืนกฎจราจร ประกอบกับพื้นที่นี้เป็นเส้นทางการจราจรที่สำคัญ จึงมีปริมาณยานพาหนะมากตลอดวัน 2 ปัญหาการใช้ที่ดินและอาคาร เนื่องจากขาดการวางแผนการใช้ที่ดินไว้ล่วงหน้า ขาดปริมาณที่เว้นว่างที่เหมาะสมต่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และสภาพอาคารที่ชำรุดทรุดโทรม 3 ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชากรเป็นอย่างมาก แนวทางในการแก้ปัญหาดำเนินการโดยการยึดหลักของการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่และมีการผังเมืองเป็นแนวทางในการพัฒนา คือ 1 การวางแนวทางการใช้ที่ดินให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ลักษณะการบูรณะปรับปรุง มีการพัฒนาสร้างอาคารสูงในลักษณะการใช้สอยหลายประเภทอยู่ ในอาคารเดียวกันเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย 2 ทำการจัดระบบการจราจรให้เหมาะสมและมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการเพิ่มพื้นผิวการจราจร ขยายขนาดถนนและซอย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพื้นที่ถนน จากร้อยละ 7.57 ให้เป็นร้อยละ 25.30 ของพื้นที่แขวง 3 ทำการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้ดีขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับการพักอาศัย และประกอบธุรกิจการค้า จัดบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ กำจัดมลภาวะด้านต่าง ๆ 4 ส่งเสริมให้มีการบูรณะปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารในบางสถานที่ เช่น อาคารสถานที่ ศาสนสถาน อาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และอาคารที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยในทางตรง คือ การเพิ่มความคล่องตัวในการจราจร ซึ่งส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ในทางอ้อมก่อให้เกิดผลดีทางด้านเศรษฐกิจต่อเนื่องไปยังพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้จะต้องได้รับความสนับสนุนและร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนด้วย
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to design a planning approach for redevelopment to solve the problems of the inner area which was increased to be crisis Samphanthawong District, especially Jakawat Subdistrict has been the most important Commercial business District (C.B.D.). It was found that Jakawat Subdistrict had many problems which should be solved rapidly. The problems which focus by attitude survey and evaluation of problems on physical condition and observation random sampling 350 number of population in this area were ; 1. Traffic congestton caused by inadequate road area is under standard, lack of parking space, illegal driving and a lot of traffic volume. 2. Unefficient land use caused of unplanned land use, lack of land-space for quality of life and worn-out structures. 3. Emironmental problems which impact to health. The planning approach to solve the problems may be redevelopment of the inner area in the way of city planning. They include, 1. Effective and economical land use in accordance with reconstruction and plan unit development to increase open space and utility area, 2. Improve the traffic system by increasing road area, expansion of existing road and access. 3. Improve the environment by systemizing the infrastructure and facility, deleting pollution in order to make more better living 4. Support to preserve the historical building, religion building and unique building. The advantage from redevelopment planning would prove in many ways i.e.; decrease the problems on traffic congestion and other living condition which be advantage on economic and social condition. The indirect ways should be benefit in economic to the surrounding area. However, implementing of the project should be the mutual cooperation between public and private sectors.
dc.format.extent8551651 bytes
dc.format.extent12784498 bytes
dc.format.extent17940159 bytes
dc.format.extent25353083 bytes
dc.format.extent11606303 bytes
dc.format.extent33766416 bytes
dc.format.extent6045741 bytes
dc.format.extent3244873 bytes
dc.format.extent9830184 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่แขวงจักรวรรดิ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA planning approach for redevelopment of Jakawat Subdistrict, Sampantawong Disirict, Bnagkok Metropolitan areaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajchara_po_front.pdf8.35 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch1.pdf12.48 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch2.pdf17.52 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch3.pdf24.76 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch4.pdf11.33 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch5.pdf32.98 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch6.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_ch7.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Ajchara_po_back.pdf9.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.