Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32041
Title: แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลสองแพรก จังหวัดพังงา
Other Titles: Guidelines for participatory community tourism management in Songprake sub-district, Phang–nga Province
Authors: สุญาพร ส้อตระกูล
Advisors: สุชาติ ทวีพรปฐมกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: suchart_ta@hotmail.com
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- พังงา
การท่องเที่ยวชนบท -- ไทย -- พังงา
อุตสาหกรรมชนบท -- ไทย -- พังงา
Tourism -- Thailand -- Phang-nga
Rural tourism -- Thailand -- Phang-nga
Rural industries -- Thailand -- Phang-nga
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว และศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสองแพรก จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ ประชาชนในท้องถิ่น จำนวน 244 คน โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเอกชน จำนวน 4 คน และกลุ่มบุคลากรภาครัฐ จำนวน 2 คน ทั้งหมดจำนวน 254 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และประชุมกลุ่มระดมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่านผลการวิจัย พบว่า ความตระหนักของประชาชนท้องถิ่นต่อการท่องเที่ยว, ด้านสิ่งดึงดูดใจ และด้านที่พักต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวของตำบลสองแพรก จังหวัดพังงา พบว่า มีประเด็นอยู่ในระดับมาก(X bar = 3.45) กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า มีประเด็นอยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะการวางแผน (X bar = 2.28) และการประเมินผล (X bar = 2.14) อย่างไรก็ตามบทบาทของผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเอกชนมีส่วนร่วมและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี ด้านความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการ ท่องเที่ยวของชุมชน พบว่า มีประเด็นอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งต้องการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นในทุกประเด็น ได้แก่ ด้านการค้นหาปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา (X bar = 3.34) ด้านการวางแผน (X bar = 2.93) ด้านการปฏิบัติงาน (X bar = 3.29) ด้านการรับผลประโยชน์ (X bar = 3.38) ด้านการประเมินผล (X bar = 2.99) แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสองแพรก จังหวัดพังงา ควรได้รับความร่วมมือ ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการค้นหาปัญหาและหาสาเหตุถึงปัญหา เช่น การจัดเวทีแสดงความคิดเห็นในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน การวางแผน เช่น ร่วมจัดทำโครงการด้านการท่องเที่ยวลงในแผนชุมชน การปฏิบัติงาน เช่น สนับสนุนให้ชุมชนจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ การรับผลประโยชน์ เช่น รายงานงบประมาณท้องถิ่นให้ชัดเจน และการประเมินผล เช่น ติดตามการดำเนินงานในแต่ละโครงการ ตามนโยบายแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อเกิดประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตแก่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
Other Abstract: The purpose of this study was to study participation in tourism management and guidelines for participatory community tourism management in Songprake Sub-district Phang-nga Province. Data was collected by questionnaire from 244 local people, 4 community leaders, 4 tourism operators, and 2 government officials that were related to tourism of Songprake Sub–district. The data was analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. Furthermore this research used focus group method to acquire the guideline for encouraging participatory community tourism management. The study showed that awareness of local people, attraction and accommodation of tourism components in Songprake Sub-district were ranked at high level (X bar = 3.45). Level of community participation in tourism management were found at low level regarding planning (X bar = 2.28) and evaluation (X bar = 2.99). However, community leaders and tourism operators are good involved. Needs for participation in tourism management of local people were found at moderate level regarding search for problems and causes in their community (X bar = 3.34), planning (X bar = 2.93), implementation (X bar = 3.29), receipt of benefits (X bar = 3.38), and evaluation (X bar = 2.99). The guidelines for participation of community tourism management in Songprake Sub-district could be achieved via all stakeholders regarding to search for problems and causes in their community as sharing ideas and discussion on community tourism, planning as create tourism plan in their community, implementation as encouraging local people to organize unique tourism activities, for receipt of benefits as holding a meeting on budget reporting and meeting and discussion among all stakeholder after projects for participation in evaluation under the development strategies of Phang-nga Province. To achieve sustainability of natural resources environment, economy and social life, this guideline should implement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32041
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.299
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.299
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suyaporn_so.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.