Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/320
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorสมชัย วรานุกูลรักษ์, 2499--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-14T09:18:27Z-
dc.date.available2006-06-14T09:18:27Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741714203-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/320-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractพัฒนาระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ในสถานประกอบการ โดยการศึกษาข้อมูลจากสถานประกอบการมาพัฒนาแบบจำลอง ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างและแนวทางการดำเนินงาน ระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ และนำระบบที่ได้พัฒนาขึ้นไปดำเนินงานในสถานประกอบการนำร่อง เพื่อศึกษาผลลัพธ์และปัญหาอุปสรรค ที่เกิดจากการดำเนินงานระบบดังกล่าว รวมทั้งรูปแบบการดำเนินงานภายใต้องค์ประกอบของระบบ และสรุปนำเสนอระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ ที่มีความถูกต้องและเป็นประโยชน์ ตามแนวคิดการจัดศูนย์การเรียนรู้ ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานประกอบการ และแนวทางการขยายผลระบบต่อไป โดยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นการเตรียมการเพื่อศึกษาข้อมูลความต้องการ ในการจัดศูนย์การเรียนรู้และระบบที่ดำเนินการอยู่ในสถานประกอบการ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารที่รับผิดชอบ การพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการ ที่ต้องการจัดศูนย์การเรียน 24 แห่ง และสถานประกอบการที่ดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้อีก 6 แห่ง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้วยแนวการสัมภาษณ์จำนวน 2 ชุด และวิเคราะห์สร้างข้อสรุปจากเนื้อหาในการสัมภาษณ์ 2. ขั้นการพัฒนาและตรวจสอบระบบกับผู้บริหารในสถานประกอบการ โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารงาน ด้านการพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการจำนวน 6 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์สร้างข้อสรุปจากเนื้อหาในการสนทนากลุ่ม 3. ขั้นตอนการติดตามผลจากการนำระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ ไปดำเนินงานในสถานประกอบการนำร่องจำนวน 2 แห่ง โดยใช้แบบจำลองระบบที่ได้พัฒนาและตรวจสอบในขั้นตอนที่ 2 เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษามี 2 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานศูนย์การเรียนรู้ และกลุ่มพนักงานที่ใช้บริการจากศูนย์การเรียนรู้ ในสถานประกอบการนำร่อง โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มและเก็บข้อมูลจากเอกสารการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือแนวการสนทนากลุ่มจำนวน 2 ชุด และวิเคราะห์สร้างข้อสรุปจากข้อมูลในการสนทนากลุ่ม และ 4. ขั้นตอนการสรุปนำเสนอและแนวทางขยายผลระบบ การจัดศูนย์การเรียนรู้ต่อไป โดยใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาในขั้นตอนต่างๆ ข้างต้นมาสรุปวิเคราะห์ร่วมกัน ผลการวิจัยได้พบว่าระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ ในสถานประกอบการประกอบด้วยองค์ประกอบการดำเนินงาน ที่สัมพันธ์ต่อกันคือ การวิเคราะห์ความต้องการในการจัดศูนย์การเรียนรู้ การจัดการทรัพยากรความรู้ การพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนรู้ การสื่อสารประสานงานและให้บริการผู้เรียน การส่งเสริมการเรียนรู้ การติดตามผลการดำเนินงาน การรายงานผลและเชื่อมโยงการเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบมีรูปแบบการดำเนินงานที่สถานประกอบการนำมาใช้เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในการเรียนรู้ รวมทั้งผลจากการนำระบบไปใช้ในสถานประกอบการได้พบว่า พนักงานเกิดการเรียนรู้ มีความพึงพอใจและเห็นถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วนตนเองจากศูนย์การเรียนรู้ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้คือ นโยบาบของผู้บริหารในการส่งเสริมสนับสนุนพนักงานให้พัฒนาตนเอง พนักงานมีแรงจูงใจและแสดงพฤติกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บทบาทของผู้บังคับบัญชาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของพนักงาน สิ่ออำนวยความสะดวกพื้นฐาน บุคลากรของหน่วยงานศูนย์การเรียนรู้ที่มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งมีเครือข่ายแหล่งทรัพยากรความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรen
dc.description.abstractalternativeTo develop the learning center organization system in the workplace which consisted of the structure of learning center organization system and its components. The research methodology was research & development, composed of four phases : interviewing and studying the learning center system provided by six workplaces, developing and using focus group discussion methods related to the learning center organization system. Then, the proposed system was implemented at the two workplaces for studying the result of the organization system of the learning center. The population consisted of Human Resources Development Managers in the workplaces and employees who participated and learned from the learning systems. The research findings were as follow : 1) The organization system of the learning center in the workplace composes on three aspects : the learning center organization (learning center needs assessment, knowledge resources management), the learning process implementation (curriculum design and instructional media development, learning co-ordination and service, learning facilitation and including the condition affecting the learning outcome), and learning center evaluation (learning outcome evaluation and encourage employee to transfer their learning to the working situation, and feedback to the system. 2) Factors affecting the learning center consisted of the management supporting, self motivation of the employees, managers' roles, basic facilitation, learning center officers competency, and learning resource networking.en
dc.format.extent1999378 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.651-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.subjectศูนย์การเรียนen
dc.titleการพัฒนาระบบการจัดศูนย์การเรียนรู้ในสถานประกอบการen
dc.title.alternativeA system development of the learning center organization in the workplaceen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorArchanya.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorSuwimon.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.651-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SomchaiVara.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.