Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32119
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสีรง ปรีชานนท์-
dc.contributor.authorอภิวัฒน์ ลิขิตเลิศล้ำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-10T06:29:09Z-
dc.date.available2013-06-10T06:29:09Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32119-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractจากการศึกษาพบว่าในกระบวนการวางแผนการผลิตหม้อบดซีเมนต์ของโรงงานที่ทำอยู่เดิมนั้น ยังมีประเด็นที่ควรแก้ไขคือ 1. การจัดตารางการผลิตด้วยพนักงาน คำตอบที่ได้รับมักไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด 2.ขาดแผนแสดงรายละเอียดที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ได้แก่แผนการจัดเก็บซีเมนต์จากหม้อบดไปยังไซโล และ แผนการจ่ายซีเมนต์ออกจากไซโล 3.ขาดความเป็นมาตรฐานของระบบเพราะการจัดตารางการผลิตพึ่งพาพนักเพียงคนใดคนหนึ่งมากเกินไป งานวิจัยนี้จึงดำเนินการจัดทำระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการจัดตารางการผลิตในกระบวนการบดซีเมนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการบดซีเมนต์ และแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ได้กล่าวไป โดยผู้วิจัยได้พัฒนาตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ประเภทกึ่งจำนวนเต็มสำหรับใช้เป็นแนวทางในการจัดตารางการผลิตซีเมนต์ ซึ่งกระบวนการผลิตมีลักษณะปัญหาเป็นประเภทแบบจำลองโครงข่าย ที่มีการเชื่อมต่อของ3 สถานีการทำงาน ประกอบด้วยหม้อบด ซีเมนต์ไซโล และ หัวจ่าย ซึ่งทั้ง3 สถานีงานมีข้อจำกัดในการเชื่อมต่อ โดยกระบวนการบดเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายและเวลาในการปรับตั้งหม้อบดขึ้นอยู่กับซีเมนต์ที่ทำการผลิตก่อนหน้า ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่พิจารณาในตัวแบบคณิตศาสตร์จึงประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าและค่าปรับตั้งเครื่องจักรจึงถือเป็นต้นทุนหลักในกระบวนการบดซีเมนต์ นอกนี้ผู้วิจัยได้สร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำเนินงานของผู้ใช้ ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ประกอบไปด้วย (1) ตารางการผลิตหม้อบดซีเมนต์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ลดลง เมื่อเทียบการจัดตารางการผลิตแบบเดิม โดยค่าใช้จ่ายลดลงเฉลี่ยเดือนละ 4.5 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.85 เปอร์เซ็นต์ (2) แผนการบริหารไซโล และ แผนการจ่ายซีเมนต์หัวจ่ายในแต่ละวัน ซึ่งคำนวณได้จากตัวแบบคณิตศาสตร์ (3) ลดเวลาการทำงานของพนักงานที่ใช้ในการจัดตารางการผลิตในแต่ละสัปดาห์en
dc.description.abstractalternativeThe study of the traditional scheduling process shows that there still are disadvantage points such as 1. Result from scheduling by using human is not optimal solution 2.Lack of some importance plan such as belt management Plan and Dispatch plan 3. Scheduling process is lack of standard because it is depended on some officer. This research is working on decision support system in cement mill scheduling process that have objective to minimize total cost and improve other disadvantage. The mathematical is developed for cement scheduling processes which can define as a network flow problem. This process consists of 3 parts: milling station, cement-silo station and dispatching station with constrains of connection between each station. The objective function of this model is to minimize total cost. When total cost consist of electricity and setup cost in the milling station. In addition, graphic user interface is also developed for convenient usage of operators. Result of this decision support system consists of (1) cement mill schedules that have average cost reduced from that of manually scheduling as 4.5 million Bath per month or 2.85 percent, (2) managing plan of cement silo inventory that display cement volume transferred from mills for each day and proposed daily dispatch plan and (3) reduced working time of employee in scheduling cement mill for each week.en
dc.format.extent1922180 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.348-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระบบสนับสนุนการตัดสินใจen
dc.subjectอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์en
dc.subjectDecision support systemsen
dc.subjectCement industriesen
dc.titleระบบสนับสนุนการตัดสินใจจัดตารางการผลิตในกระบวนการบดซีเมนต์en
dc.title.alternativeA decision support system for scheduling of cement milling processen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorseeronk.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.348-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apiwat_li.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.