Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3234
Title: | การเหนี่ยวนำดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์จากเนื้อเยื่อโพรงฟันของมนุษย์โดยเดกซาเมธาโซน : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Differentiation of human pulpal fibroblasts induced by dexamethasone |
Authors: | ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ นีรชา เรืองพานิช ประสิทธิ์ ภวสันต์ |
Email: | dupn1048@asianet.co.th Neeracha.R@Chula.ac.th prasitpav@hotmail.com, Prasit.Pav@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ |
Subjects: | การเพาะเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อฟัน เดกซาเมธาโซน เซลล์สร้างเส้นใย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เซลล์โพรงฟันเป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สำคัญในการซ่อมแซมเนื้อฟัน โดยเมื่ออยู่ในภาวะที่เหมาะสม จะมีความสามารถดิฟเฟอเรนซิเอทเป็นเซลล์สร้างเนื้อฟัน แต่ปัจจัยที่มีผลต่อการดิฟเฟอเรนซิเอชั่นนี้ยังไม่ชัดเจน การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของเดกซาเมธาโซน ที่ขนาดและเวลาต่างๆ ที่มีต่อดิฟเฟอเรนชิเอชั่นของเซลล์สร้างเส้นใยที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันของมนุษย์ ในแง่ของระดับการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส การแสดงออกของออสติโอพอนติน ปริมาณของคอลลาเจนที่เซลล์ผลิต โดยวัดปริมาณของไฮดรอกซีโพรลีน สัดส่วนปริมาณของคอลลาเจนชนิดที่ I และชนิดที่ III ที่ เซลล์ผลิต ระดับของไลซิลไฮดรอกซิเลชั่นของคอลลาเจนชนิดที่ I และระดับของเอมไซม์ LH1 และ LH 2 ผลการทอดลองพบว่าความเข้มข้นของเดกซาเมธาโซนที่มีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนคือ 200 นาโนโมลาร์ โดยเดกซาเมธาโซนสามารถเพิ่มการแสดงออกของทั้งอัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และออสติโอพอนติน โดยเห็นผลชัดเจนที่วันที่ 10 หลังจากเริ่มกระตุ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น พบว่ามีการสร้างคอลลาเจนเพิ่มขึ้นเมื่อกระตุ้นเซลล์โพรงฟันมนุษย์ด้วยเดกซาเมธาโซนเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้น และระดับการสร้างเพิ่มนี้สัมพันธ์กับระยะเวลาที่ผ่านไป ระดับการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ III มีปริมาณน้อยมากจนไม่สามารถตรวจพบวิธีที่ใช้ในการทดลองนี้ จึงไม่สามารถสรุปผลของเดกซาเมธาโซนที่มีต่อการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ III นอกจากนี้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับของไลซิลไฮดรอกซิเลชันของคอลลาเจน ซึ่งสอดคล้องกับการที่ระดับของเอนไซม์ LH1 และ LH2 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง |
Other Abstract: | Dental pulp fibroblasts have been shown to play an important role in dental pulp healing mechanism by differentiating into odontoblast-like cells. However, factors influencing the differentiation process of these cells are still unclear. In the present study, we would like to study the effct of dexamethasone, using various doses and times, on differentiation of pulpal fibroblasts in primary culture utilizing alkaline phosphatase activity, expression of OPN, amount and ratio of type I : type III colagen, degree of lysyl hydroxylation and expression of LH1 and LH2 as differentiation markers. The results showed that 200 nM of dexamethasone could increase both the activity of alkaline phosphatase and the expression of OPN within 10 days compared to control. The amount ot type collagen was also shown to be elevated in the dexamethasone-treated group compared to control and was dose and time dependent. The level of type III collagen was so sparse that the amount could not be determined under the condition of thisexperiment, therefore, the effect of dexametasone on the production of type III collagen is still questionable. In addition, when cells were cultured in the presence of 200 nM dexamethasone, no difference was found regarding the degree of lysyl hydroxylation after 5, 10 and 15 days compared to control, which was in agreement with the results from the expression of LH1 and 2 where no difference was found. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3234 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Dent - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirivimol_differ.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.