Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32397
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม | - |
dc.contributor.author | สุรสฤษดิ์ ขาวละออ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-22T14:02:05Z | - |
dc.date.available | 2013-06-22T14:02:05Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32397 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | ความสำคัญและที่มา : ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อ 25 ปีก่อน ความชุกของการติดเชื้อชนิดนี้มีอัตราลดลงเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยพบ 1.7% ในปี 2001, 1.5% ในปี 2003, 1.4% ในปี 2007 และ 1.3% ในปี 2009 ล่าสุดผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 530,000 ราย เป็นผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป 520,000 ราย จากข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผู้ป่วยได้รับยาต้านไวรัสประมาณ 138,000 ราย และคาดว่าปี 2011 จะเพิ่มเป็น 150,000 ราย จะเห็นได้ว่ามีการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงน่าจะประสบปัญหาการดื้อยาต้านเพิ่มขึ้นเช่นกัน งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาว่าในสถานการณ์ที่มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน ณ HIV-NAT (ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย)จะมีความชุกของการดื้อยาเป็นอย่างไร มุ่งหาความชุกของการดื้อยาที่เป็นปัจจุบันที่สุดในศูนย์วิจัยทซึ่งดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมากกว่า 1,000 รายมาเป็นเวลานานหลายปี นอกจากนี้มีปัจจัยใดบ้างเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวต่อการรักษา และต่อการเกิดการดื้อยา. วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุก, ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และรูปแบบของการกลายพันธุ์ที่สัมพันธ์กับภาวะการณ์ดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่เข้าโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวที่ฮิฟ-แนท(ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย). วิธีการศึกษา รวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ปี 2639 จนถึงเดือนเมษายน 2553 โดยพิจารณาข้อมูลในด้านการดื้อต่อยาต้านไวรัสทุกระดับ, ทุกสูตร และดูการเปลี่ยนแปลงของยีนที่มีผลต่อการดื้อยานั้นๆ ที่มีการตรวจวัดไว้แล้วในฐานข้อมูล นอกจากนี้ได้พิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยา. ผลการวิจัย : จากการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมด 1,112 ราย พบภาวะดื้อยาทุติยภูมิจำนวน 298 ราย(26.8%) ในกรณีนับรวมการรักษาด้วยสูตร dual NRTIs และพบเพียง 15.6% กรณีที่นับเฉพาะสูตร HAART (สูตรยา 3 ชนิด หรือสูตรยาอย่างน้อย 2 กลุ่ม(class) คือออกฤทธิ์คนละเป้าหมาย) ทั้งที่มีประวัติ heterosexual 215(72.2%), homosexual 32(10.7%), bisexual 4(1.3%), IVDU 3(1%) และไม่ระบุวิธีได้รับเชื้ออีก 44(14.8%) ประเภทของการดื้อยาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ หรือเคยได้รับ NRTI และ NNRTI ที่มีผลการรักษาล้มเหลวโดยมีปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้น (virological failure) รวม 158 ราย และ 106ราย ตามลำดับ ผลตรวจ genotyping analysis พบมีการกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา reverse transcriptase (RT) ชนิด NRTI-RAMs และ NNRTI-RAMs 79/158(50%), 64/106(60.4%) ตามลำดับ การกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อ NRTI ชนิดที่มีมากกว่า 3 TAMs ขึ้นไปพบ 32.9% และพบ M184V, D67N, M41L จำนวน 63.3%, 51.9%, 45.9% ตามลำดับ การกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อ NNRTI พบ Y181C, G190A, K103N จำนวน 45.3%, 39.1%, 31.2% ตามลำดับ ผู้ป่วย 51% มี cross-resistance กับยา NNRTI ตัวใหม่คือ etravirine ผู้ป่วยที่ได้รับยาหรือเคยได้รับยา PI ที่มีผลการรักษาล้มเหลวโดยปริมาณไวรัสเพิ่มขึ้นมีจำนวน 70 ราย คิดเป็น 70/470 (14.9%) ตรวจ genotyping analysis ได้เพียง 41/70(58.6%) พบมีการกลายพันธุ์ต่อยา PIs ชนิด major mutation ในอัตราที่น้อยมากคือเพียง 4.8% ส่วนมากที่พบเป็น polymorphism ( M36I, K20R/I, L10V/I) ปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับโอกาสเกิดการดื้อยาคือ baseline CD4 น้อยกว่า 350 cell/mm³ จะมีความเสี่ยงต่อการดื้อยามากกว่าการมี CD4 มากกว่า หรือเท่ากับ 350 cell/mm³ ถึง 2.5 เท่า(P value เท่ากับ 0.052). สรุปผลการวิจัย : ในกรณีที่ไม่นับรวม dual NRTIs เนื่องจากไม่มีที่ใช้ในปัจจุบันอีกต่อไป ความชุกของผู้ป่วยที่พบการดื้อยาทุติยภูมิ 15.6% เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดพบการดื้อต่อยาสูตรแรก , สูตร 2 และสูตร 3 คิดเป็นความชุก 298/1,112(26.8%), 73/298 (24.5%), 15/73(20.5%) ตามลำดับ การกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสกลุ่ม NRTI ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยที่สุดยังคงเป็นการดื้อต่อยา lamivudine นอกจากนี้ประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยที่ล้มเหลวต่อการรักษาด้วยสูตรที่มีNRTI ผสมอยู่พบการกลายพันธุ์ชนิด thymidine-analog-associated mutations or TAMs อย่างน้อย 3 ตำแหน่งซึ่งจะทำให้ดื้อต่อยา NRTIs เกือบทั้งกลุ่ม พบการกลายพันธุ์ต่อยา NNRTIs ตำแหน่ง Y181C และ G190A เป็นอันดับต้นๆ และพบ cross-resistance ต่อยา NNRTI ตัวใหม่ๆ เช่น etravirine ประมาณ 50% การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ต่อยาต้านไวรัสกลุ่ม PI เป็น polymorphism ทำให้คาดเดาได้ว่าผู้ป่วยน่าจะตอบสนองต่อยาในกลุ่ม PI ตัวใหม่ๆเช่น darunavir ได้ดี ผู้ป่วยที่มี baseline CD4 น้อยกว่า 350 cell/mm³ มีความเสี่ยงในการดื้อยาได้มากขึ้น และต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background & objective : HIV infection was first reported in Thailand in 1984, the prevalence of this infection has been declined from 1.7% in 2001 to 1.5% , 1.4% and 1.3% in 2003, 2007, 2009 respectively UNAIDS has estimated in 2009 that 530,000 Thais are living HIV. Recent data (n 2010) from National Health Security Office reveals that approximately 130,000 HIV-infected patients are receiving antiretroviral drugs and has predicted that in 2011 will increase to 150,000. Thus, unless the management system is effective, the rise of antiretroviral drug resistance will certainly be a major challenge. This research aims to determine the prevalence and risk factors of antiretroviral drug resistance in a long-term cohort in Bangkok. Methods : We collected the data of patients who are continuing to receipt service in Thai cohort : HIV-NAT,Thai Red Cross Society since 1996 to April 2010 based on data in terms of resistance to antiretroviral drugs at all levels, all formulas and gene mutation for those drugs such as NRTI, NNRTI, PI. In addition to this, the relationship of various factors associated with drug resistance, such as age, baseline CD4, baseline viral load is considered by logistic regression analysis. Results : Of 1,112 cases, the most common antiretroviral regimen was 2NRTIs+NRTI 320/1,112(28.8%), the rest included 2NRTIs+bPI 274/1,112(24.6%), others 518/1,112(46.6%). The prevalence of secondary antiretroviral drug(ARV) resistance was 26.8%(298/1,112 when included dual NRTIs “currently not recommended”), and 15.6% when dual NRTIs were excluded. The major risk of transmission were heterosexual 215(72.2%), other included homosexual 32(10.7%), bisexual 41(1.3%), IVDU 3(1%) and not specified 44(14.8%). Among patients treated with NRTIs, 158/728(21.7%) had virological failure (VF) and 79/158(50%) were resistance genotypic tested. were detected. The most common NRTI-resistant associated mutants(RAMs) is M184V (63.3%). 32.9% had at least 3 TAMs, 51.9% and 45.9% had D67N, M41L respectively. Of 329 who treated with NNRTI regimens, 106/329(32.2%) had virological failure; 64/106(60.4%) had genotype results. The 3 most common NNRTI-RAMs included Y181C, G190A and K103N 45.3%, 39.1%, 31.2% respectively. Of 470 who treated with bPI regimens, 70/470(14.9%) had virological failure; 41/70(58.6%) had resistance genotype results. Only 2/41(4.8%) had PI-major mutation(L90M, V82M), due to HIV-1 non-B subtype(subtype CRF01_AE is the most common subtype in Thailand found >90% of patients). PI polymorphism-related mutations is therefore common(75.6%, 26.8%, 12.2%: M36I, K20R/I, L10V/I respectively). Logistic regression analysis of age, baseline CD4 and baseline viral load showed that patients who had baseline CD4 350 cell/mm³ or less is associated with a 2.5 folds higher risk to HIV drug resistance than those a higher CD4 counts(95%CI0.991-6.401, p value 0.052). Conclusion : If we excluded dual NRTIs, the prevalence of antiretroviral virological failure is 15.6%. Overall patients treated with first-line regimens had a higher rate of failure of 26.8%, whereas failing second and third-line regimens was 24.5, 20.5% respectively. The most common RAMs was M184V (3TC-resistance), the second most common was NNRTI-RAMs and a half were cross-resistance to the new NNRTI-etravirine. One-third of patients who failed NRTI had 3 or more thymidine-analog-associated mutations or TAMs. PI-resistance was uncommon, therefore was not compromised other newer PI-darunavir in particular. Patients with low baseline CD4 counts of ≤350 cells/mm³ were at risk of HIV drug resistance and these patients should therefore require closer counseling and follow-up. | en_US |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1547 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สารต้านรีโทรไวรัส | en_US |
dc.subject | การดื้อยา | en_US |
dc.subject | ผู้ติดเชื้อเอชไอวี | en_US |
dc.subject | Antiretroviral agents | en_US |
dc.subject | Drug resistance | en_US |
dc.subject | HIV-positive persons | en_US |
dc.title | ความชุกของการดื้อยาด้านไวรัส และปัจจัยเกี่ยวข้องในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษามาแล้ว ซึ่งเข้าโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวที่ฮิฟ-แนท (ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย) | en_US |
dc.title.alternative | Prevalence and associated factors of antiretroviral drug resistance in HIV patients treated with antiretroviral therapy in a long term HIV-infected Thai cohort: HIV-NAT, Thai Red Cross Aids Research Center | en_US |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kiat.R@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1547 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surasarit_kh.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.