Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32410
Title: การพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อวัดความอ่อนตัวสำหรับผู้สูงวัย
Other Titles: A development of method and an electronic flexibility testing equipment for elderly
Authors: ทศพล ทองเติม
Advisors: อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา
ประวิตร เจนวรรธนะกุล
ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Areerat.Su@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Chaipat.L@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ
สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ
ความอ่อนตัว -- การวัด
Older people
Physical fitness -- Testing
Flexibility -- Measurement
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาวิธีการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงวัยไทย โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการเลือกรายการทดสอบ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ พยาบาล กายภาพบำบัด สาธารณสุข วิทยาศาสตร์การกีฬา และพลศึกษา จำนวน 18 ท่าน 2) เพื่อตรวจประเมินความความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยของรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวที่ได้จากกระบวนการเดลฟาย ซึ่งผู้วิจัยได้ทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัย จำนวน 408 คน จากจังหวัดอำนาจเจริญ สระบุรี กำแพงเพชร ระนอง และกรุงเทพมหานคร หาค่าความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการวัดซ้ำ ภายใน 1 สัปดาห์ และหาค่าความเป็นปรนัย โดยใช้ผู้ดำเนินการทดสอบ จำนวน 2 คน 3) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดความอ่อนตัวที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย ที่มีราคาไม่แพง สะดวกในการใช้งาน และมีความเที่ยงตรงเฉพาะหน้าสูง ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า (Face validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน 4) เพื่อตรวจประเมินความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยของเครื่องมือวัดความอ่อนตัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผู้วิจัยทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงวัย ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นผู้สูงวัยเพศชาย จำนวน 30 คน และผู้สูงวัยเพศหญิง จำนวน 30 คน หาค่าความเชื่อถือได้ด้วยวิธีการวัดซ้ำ ภายใน 1 สัปดาห์ และหาค่าความเป็นปรนัย โดยใช้ผู้ทดสอบ จำนวน 2 คน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รายการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวที่มีความเหมาะสมสำหรับทดสอบในกลุ่มผู้สูงวัยไทย ที่ได้จากกระบวนการเดลฟาย มีจำนวน 6 รายการทดสอบ คือ รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า รายการทดสอบแตะมือด้านหลัง รายการทดสอบนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.88 ทั้งสามรายการทดสอบ และรายการทดสอบนั่งงอตัวแตะผนัง รายการทดสอบการหมุนของลำตัว และรายการทดสอบ Hamstring and hip flexor flexibility ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.76 ทั้งสามรายการทดสอบ 2. จากการตรวจประเมินความเชื่อถือได้ และความเป็นปรนัยของรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวที่ได้จากกระบวนการเดลฟาย พบว่า รายการทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า รายการทดสอบแตะมือด้านหลัง และรายการทดสอบนั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า มีค่าความเชื่อถือได้ เท่ากับ 0.83, 0.76 และ 0.88 ตามลำดับ และมีค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.83, 0.80 และ 0.87 ตามลำดับ 3. เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อวัดความอ่อนตัวสำหรับผู้สูงวัย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อถือได้ และค่าความเป็นปรนัย เท่ากับ 0.99 และ 0.98 ตามลำดับ จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าเครื่องมือวัดความอ่อนตัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเครื่องมือวัดความอ่อนตัวที่ มีคุณภาพ และเหมาะกับบริบทของผู้สูงอายุไทย
Other Abstract: The purposes of this research were as follows : 1) to study proper testing methods of flexibility for the Thai elderly. Delphi Futures Research technique was used to select the most appropriate testing protocol for the elderly by eighteen experts working in the fields of Medical, Nurse, Physical Therapist, Public Health, Sport Sciences and Physical Education. 2) The results from the experts were piloted with 408 elderly to check for its reliability using test-retest method, and objectivity where two testers tested the same subjects. The pilot studies were taken places with the subjects in Amnat Charoen, Saraburi, Kamphaeng Phet, Ranong and Bangkok provinces. 3) An electronic flexibility testing equipment for elderly which was suitable for the test was created. Face validity of the electronic flexibility testing equipment for elderly was checked by three experts. 4) Sixty elderly (30 male, 30 female) from Kut Khaopun district, Ubon Ratchathani provinces were recruited in order to find the equipment’s reliability and objectivity. A test-retest method was used to find the reliability, and the time line for the test-retest was within 1 weeks. The objectivity of the equipment was assessed by using two different administrators. The data were analyzed using mean, standard deviation, and Pearson product moment correlation coefficient. The result showed as follows: 1. The result from the experts showed six tests are appropriate to be a flexibility test for Thai elderly. The six tests were 1) sit and reach test, 2) back scratch test, 3) chair sit and reach test 4) sit and reach wall test, 5) trunk rotation, and 6) hamstring and hip flexor. The first three tests had an IOC value of 0.88, while the last three tests had an IOC value of 0.76. 2. The first three flexibility tests were later used with 408 elderly to check for then reliability and objectivity. The results showed that the reliability index of the sit and reach test, back scratch test and chair sit and reach test were 0.83, 0.76 and 0.88, respectively, while the objectivity index of the three tests were 0.83, 0.80 and 0.87, respectively. 3. The results showed that the reliability index and objectivity index of the electronic flexibility testing equipment for elderly were 0.99 and 0.98, respectively. It is shown in the research that the developed equipment is appropriate to be a testing equipment for testing flexibility of Thai elderly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมชีวเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32410
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1557
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1557
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
todsapon_to.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.