Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32439
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยโรจน์ คุณพนิชกิจ-
dc.contributor.authorนันธพงศ์ กุลดิลกไพบูลย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-24T10:06:48Z-
dc.date.available2013-06-24T10:06:48Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32439-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการประยุกต์ใช้มอร์เลต์เวฟเลตในการตรวจจับความเสียหายแบบเฉพาะที่ในระยะเริ่มต้นของตลับลูกปืน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาความสามารถของวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจจับความเสียหายของตลับลูกปืน โดยใช้แบบ จำลองที่เป็นชุดของการตอบสนองอิมพัลส์ วิธีการตรวจจับที่ศึกษามีอยู่ 3 วิธี คือ การแยกส่วน ประกอบด้วยเวฟเลต การกรองสัญญาณด้วยเวฟเลตหรือการทำเอ็นวีลอปสเปกตรัม และการตรวจจับด้วยฟูริเยร์สเปกตรัมโดยการนับแถบความถี่ข้างที่สอดคล้องกับความเสียหายของตลับลูกปืน พบว่าวิธีการกรองสัญญาณด้วยเวฟเลตโดยใช้ตัวบ่งชี้สำหรับปรับความถี่กึ่งกลางและความกว้างของแถบความถี่ผ่านของเวฟเลตที่นำเสนอ ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างผลรวมของตระกูลของฮาร์มอนิกที่ให้ค่าผลรวมมากที่สุดต่อค่าเฉลี่ยในช่วงที่กำหนดของเอ็นวีลอป-สเปกตรัมที่ได้จากแต่ละชุดของความถี่กึ่งกลางและความกว้างของแถบความถี่ผ่านของเวฟเลต ให้ค่าความถูกต้องในการตรวจจับไม่ต่ำกว่า 97% จนถึงค่า SNR=-15dB โดยไม่ขึ้นอยู่กับลักษณะของสัญญาณความเสียหาย ในส่วนที่สองเป็นการทดลองใช้เอ็นวีลอปสเปกตรัมที่ใช้ตัวบ่งชี้ที่นำเสนอมาตรวจจับความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของตลับลูกปืนทรงกระบอก ภายใต้ภาระในแนวรัศมี ความเร็วรอบการหมุน และขนาดของความเสียหายที่แตกต่างกัน พบว่าสามารถตรวจจับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดในกรณีที่เกิดความเสียหายที่รางวิ่งนอก และสามารถตรวจจับความเสียหายที่รางวิ่งในและเม็ดลูกปืนได้บางส่วนเมื่อมีภาระในแนวรัศมีมากระทำ ทั้งนี้เนื่องจากการมอดุเลตขนาดของสัญญาณความเสียหายซึ่งเกิดจากรอบการเวียนเกิดของอิมพัลส์จากการหมุนของเพลาและกรงเม็ดลูกปืนทำให้เกิดยอดที่เป็นแถบความถี่ข้างของยอดที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายในเอ็นวีลอปสเปกตรัม ส่งผลให้ระเบียบวิธีในการตรวจจับความเสียหายทำงานผิดพลาดen_US
dc.description.abstractalternativeThis research studied an application of Morlet wavelet in an early stage of localized bearing defect detection. The study consisted of 2 main parts. The first part investigated the bearing defect detection capability of wavelet decomposition method, wavelet filtering method (envelope spectrum) and Fourier spectrum defect-related sidebands detection method using simulated signals based on impulse response trains. It was shown that wavelet filtering method that worked in conjunction with a proposed indicator for wavelet center frequency and bandwidth adjustment provided the best result. The proposed indicator was the maximum value of the ratio between sum of one harmonic family and average value in a given range of envelope spectrum. The results yielded not less than 97% detection accuracy up to SNR= -15dB regardless of impulse signal features. In the second part, envelope spectrum with the proposed indicator was used as the detection scheme for defect detection in cylindrical roller bearing under various radial loads, running speeds, defect locations and defect sizes. The scheme was able to detect all cases of outer race defect. Whereas it was able to detect some cases of inner race and roller defect under loaded conditions. The underlying reason of this deviated result was the amplitude modulation due to pulse trains recurrence from the shaft and roller cage rotation that led to occurrence of sidebands around defect-related peaks in envelope spectrum. These sidebands in envelope spectrum made the detection scheme worked less effective.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1639-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเวฟเล็ต (คณิตศาสตร์)en_US
dc.subjectแบริงen_US
dc.subjectแบริง -- ข้อบกพร่องen_US
dc.subjectWavelets (Mathematics)en_US
dc.subjectBearings (Machinery)en_US
dc.subjectBearings (Machinery) -- Defectsen_US
dc.titleการศึกษาด้วยระเบียบวิธีเวฟเลตในการตรวจจับสัญญาณความเสียหายแบบเฉพาะที่ของตลับลูกปืนทรงกระบอกในระยะเริ่มต้นen_US
dc.title.alternativeA study of wavelet method to detect an early stage in localized defect of cylindrical bearingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChairote.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1639-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuntaphong_ko.pdf9.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.