Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32541
Title: การทดสอบการแพ้ยาทางผิวหนัง และการตรวจไซโตไคน์ที่หลั่งจากเม็ดเลือดขาวที่มีความจำเพาะกับยา โดยวิธีอิไลสปอตในการวินิจฉัยการแพ้ยาเซฟาโลสปอรินชนิดเฉียบพลัน
Other Titles: Skin testing and cytokine secretion from drug specific peripheral blood mononuclear cell using elispot assay in the diagnosis of nonimmediate reaction to cephalosporin
Authors: บุญธร ตันวรเศรษฐี
Advisors: เจตทะนง แกล้วสงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: jettanong@yahoo.com
Subjects: การทดสอบทางผิวหนัง
การแพ้ยา -- การทดสอบ
ยาเซฟาโลสปอริน -- ผลข้างเคียง
ยาเซฟาโลสปอริน
ไซโตไคน
Skin tests
Drug allergy -- Testing
Cephalosporins
Cephalosporins -- Side effects
Cytokines
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มา: ยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสเปอรินเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน จึงมีผู้ป่วยจำนวนมากมีประวัติแพ้ยานี้ แพทย์มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้โดยไปใช้ยาในกลุ่มอื่นแทนซึ่งมีราคาแพงกว่าและอาจให้ผลไม่ดีนัก เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีทางปฏิบัติช่วยในการวินิจฉัยการแพ้ยากลุ่มนี้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทดสอบการแพ้ยาทางผิวหนัง เปรียบเทียบกับวิธีการตรวจหาไซโตไคน์ที่หลั่งจากเม็ดเลือดขาวที่มีความจำเพาะกับยาในเลือดด้วยวิธีอิไลสปอต ในผู้ที่ใช้ยาโลสปอรินชนิดไม่เฉียบพลัน วิธีการศึกษา: ทำการทดสอบการแพ้ยาทางผิวหนังและทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาเซฟาโลสปอรินชนิดไม่เฉียบพลัน จำนวน 28 ราย ผลการศึกษา: จากการศึกษาในจำนวนผู้ป่วย 28 ราย ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มเซฟาโลสปอรินชนิดไม่เฉียบพลัน พบว่า การทดสอบทางผิวหนังให้ผลบวก 2 ราย การทดสอบด้วยวิธีอิไลสปอตมีความไวมากกว่าการทดสอบทางผิวหนัง (ร้อยละ 35.7 และร้อยละ 7.1) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008) และให้ผลบวกต่อยาเบต้าแลคแตมอื่นที่ไม่ได้แพ้ร้อยละ 25 สรุปผลการทดลอง: การทดสอบด้วยวิธีกิไลสปอตเป็นวิธีที่มีประโยชน์และอาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในการทดสอบแพ้ยาเซฟาโลสปอรินชนิดไม่เฉียบพลันทางคลินิก
Other Abstract: Background: Cephalosporins are commonly prescribed nowadays and the prevalence of non-immediate hypersensitivity reactions to cephalosporins has increased worldwide. No practical method to diagnose cephalosporin hypersensitivity is currently available. Objective : This study was to compare the in vivo and in vitro testing methods for the diagnosis of non-immediate hypersensitivity reactions to cephalosporins. Methods : Skin tests and ELISPOT assay were performed in 28 patients with a history of nonimmediate hypersensitivity reaction to cephalosporins. Results : Skin tests and ELISPOT assays yielded positive results in 2 and 10 patients with a history of non-immediate hypersensitivity reactions to cephalosporins. The sensitivity of ELIPOT assays was significantly higher than that of skin tests (35.7% versus 7.1%, p=0.008). Nonculprit drug (other betalactam) reaction determined by ELISPOT assays was 25%. Conclusion : ELISPOT assays might be useful methods to diagnose non-immediate hypersensitivity reactions to cephalosporins in clinical practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32541
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1700
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1700
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
boonthorn_ta.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.