Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32645
Title: ทัศนคติของผู้โดยสารที่มีต่อการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
Other Titles: Passengers' attitudes towards facilities and services at the domestic passenger terminal, Bangkok International Airport
Authors: ยุพาพร ศิริธนะวัฒน์
Advisors: ติน ปรัชญพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ท่าอากาศยานกรุงเทพ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศภายหลังจากสิ้นสุดโครงการขยายอาคารนี้ในปี 2536 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้โดยสารภายในประเทศขาออก จำนวน 306 คนจากจำนวนที่แจกแบบสอบถามทั้งหมด 321 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS PLUS ด้วยวิธีตารางไขว้และทดสอบด้วยค่า CHI – SQUARE และ TAU C โดยมีภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจของผู้โดยสารเป็นตัวแปรอิสระ และทัศนคติของผู้โดยสารต่อการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นตัวแปรตาม การสำรวจแบ่งเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสาร ห้องผู้โดยสารขาออก ห้องผู้โดยสารขาเข้า และพื้นที่ทั่วไปของอาคารนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดแบบสอบถามโดยใช้มาตราวัดทัศนคติตามแบบของ อาร์ เอส ไลเกิรต์ (R.S LIKERT TYPE SCALE) ผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การบริการ ณ ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสาร พบว่าผู้โดยสารมีความเห็นที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.693 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี และสูงกว่าเป้าหมายขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือ 3.5 บริการต่าง ๆ อยู่สูงกว่า 3.5 ขึ้นไป ยกเว้นการบริการจำนวนเคาน์เตอร์มีเพียงพอ ค่าเฉลี่ยที่ 3.459 ใกล้เคียงกับ 3.5 และไม่มีบริการใดต่ำกว่าระดับวิกฤตการที่ 3.0 2.การบริการ ณ ห้องผู้โดยสารขาออก พบว่าผู้โดยสารมีความเห็นที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.583 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี สูงกว่าเป้าหมายขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือ 3.5 บริการที่ได้คะแนนต่ำสุดคือ ความสามารถของประชาสัมพันธ์ในการใช้ภาษาต่างประเทศ ค่าเฉลี่ย 3.398 ควรมีการแก้ไข และไม่มีบริการใดอยู่ในระดับวิกฤตการที่ 3.0 3.การบริการ ณ ห้องผู้โดยสารขาเข้า พบว่า ผู้โดยสารมีความเห็นที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.492 อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับเป้าหมายขั้นต่ำมากคือ 3.5 ค่าเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดคือ ปริมาณเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแลสัมภาระ ค่าเฉลี่ย 3.320 และรองลงมาคือ ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศของประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ย 3.369 บริการ 2 ประเภทควรได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตามไม่มีบริการใดที่ค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวิกฤตที่ 3.0 4. การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ทั่วไปของอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ พบว่าผู้โดยสารมีความเห็นที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 3.511 อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีเท่ากับเป้าหมายขั้นต่ำ ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความสะอาดของอาคารทั้งหมด ค่าเฉลี่ย 4.10 เป็นประเภทเดียวที่ได้คะแนนสูงสุด ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ระดับราคาอาหารและระดับราคารถยนต์สาธารณะมีความเหมาะสมกับคุณภาพการบริการตามลำดับค่าเฉลี่ย 2.559 และ 2.887 ทั้ง 2 ประเภทมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับวิกฤตการที่ 3.0 และเป็นบริการที่ได้คะแนนต่ำที่สุด จึงควรได้รับการแก้ไข ในส่วนของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจและทัศนคติของผู้โดยสารต่อการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ณ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศแต่ละพื้นที่ทั้งในระดับจุลภาคและอาคารผู้โดยสารในประเทศประเทศทั้งหมดในระดับ มหภาคมีดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับทัศนคติที่มีต่อการบริการพบว่า ผู้โดยสารเพศชายมีความพึงพอใจในการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าเพศหญิงในทุกพื้นที่ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับทัศนคติที่มีต่อการบริการพบว่า อายุมีความสัมพันธ์ในทางบวกสอดคล้องกับทัศนคติของผู้โดยสารทั้งในระดับจุลภาคและระดับ มหภาค กล่าวคือผู้โดยสารที่มีอายุมากมีความพึงพอใจมาก ผู้โดยสารที่มีอายุน้อยความพึงพอใจน้อย ในระดับจุลภาคพบว่า ผู้โดยสารอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความพึงพอใจมากที่สุดในการบริการของสามพื้นที่ คือห้องผู้โดยสารขาออก ห้องผู้สารขาเข้า และพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นการบริการ ณ ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสารพบว่า กลุ่มอายุ 46 – 55 ปีมีความพึงพอใจมากที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกับกลุ่มอายุ 56 ปีขึ้นไป ส่วนผู้สารกลุ่มอายุ 16 – 25 ปีมีความพึงพอใจน้อยสุดเช่นเดียวกับระดับ มหภาค 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสัญชาติกับทัศนคติที่มีต่อการบริการทั้งในระดับจุลภาคและ มหภาคพบว่า ผู้โดยสารสัญชาติอเมริกันมีความพึงพอใจมากกว่าสัญชาติอื่นในการบริการของ 3 พื้นที่ ได้แก่พื้นที่ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสาร ห้องผู้โดยสารขาเข้า ห้องผู้โดยสารขาออก ยกเว้น พื้นที่ทั่วไป ส่วนกลุ่มที่พึงพอใจน้อยที่สุดคือกลุ่มสัญชาติตะออกกลางและ อัฟริกัน ซึ่งมีความพึงพอใจเหมือนกันในการบริการทุกพื้นที่ 4.ความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพและทัศนคติที่มีต่อการบริการในระดับจุลภาคพบว่าผู้โดยสารที่ปลดเกษียณหรือมีอาชีพอิสระอื่น ๆ มีความพึงพอใจมากที่สุดในการบริการของ 3 พื้นที่ได้แก่พื้นที่การตรวจบัตรโดยสาร ห้องผู้โดยสารขาออกและพื้นที่ทั่วไป ส่วนผู้โดยสารที่มีอาชีพลูกจ้าง พนักงานมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในการบริการของพื้นที่ข้างต้น 5.ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งที่ใช้บริการและทัศนคติที่มีต่อการบริการทั้งในระดับจุลภาคและ มหภาค พบว่าจำนวนครั้งกับทัศนคติมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ กล่าวคือยิ่งใช้บริการมากครั้ง ความพึงพอใจลดลง ได้แก่การบริการของพื้นที่ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสาร ห้องผู้โดยสารขาออก พื้นที่ทั่วไป 6. ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การใช้บริการของอาคารนี้ก่อนการขยายและทัศนคติที่มีต่อการบริการในระดับจุลภาคพบว่า ผู้โดยสารที่ไม่เคยมีประสบการณ์การใช้อาคารก่อนการขยายมีความพึงพอใจมากกว่าผู้โดยสารที่มีประสบการณ์การใช้บริการได้แก่การบริการของห้องผู้โดยสารขาออก 7. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการเดินทางกับทัศนคติที่มีต่อการบริการในระดับจุลภาคพบว่า ผู้โดยสารที่เดินทางร่วมกับบริษัทท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการบริการมากกว่าผู้โดยสารที่เดินทางโดยส่วนตัว ได้แก่การบริการของพื้นที่ขั้นตอนการตรวจบัตรโดยสารและห้องผู้โดยสารขาออก
Other Abstract: The purpose of this study is to survey the attitudes and comments of the passengers who used services and facilities at the domestic passenger terminal of the Bangkok International Airport after the completion of this development in 1993.The sample for this study was drawn from departing domestic passengers aged 16 years or more. Out of 321 questionnaires that were handed out, 306 were returned and analyzed. This study used cross – tabulation analysis and the Chi – Square and Tau C test, with the socio economic background of passengers as independent variables and the passengers’ attitudes services and facilities as dependent variables. The survey area was divided into 4 sub areas as follows: check – in, departure lounge, arrival lounge, and general of this terminal. The researcher designed the questionnaire by using the attitude – measuring criteria of the R. S. Likert Type Scale. The results of this study are as follows: 1. Regarding service in the check – in area, it was found that passengers gave an average rating of 3.693 which considered to be “rather good” and is above the minimum target level of 3.5 The average ratings of most services are above 3.5, except the average rating of check – in counter service (3.459), which is near the minimum target level of 3.5. No questions received and average response below the critical level of 3.0. 2. Regarding service in the departure lounge, it was found that passengers gave an average rating of 3.583, which considered to be “rather good”, and is above the minimum target level of 3.5. The lowest average rating was for foreign – language public relation. This service, which received an average rating of 3.398, be improved. No questions received an average response below the critical of 3.0. 3. Regarding service in the arrival lounge, it was found that passengers gave an average rating of 3.492, which is near the minimum target level of 3.5. The lowest average rating was for the number of security guards (3.320), and the next lowest was for foreign – language public relations (3.369). These two services should be improved. At any rate, no questions received an average response below the critical level of 3.0. 4. Regarding conveniences in the domestic terminal as a whole, it was found that passengers gave an average rating of 3.511, which is considered to be “ rather good”, and equivalent to the minimum target level. The highest average rating was for the cleanliness of the entire building (4.10). The lowest ratings were for whether the costs of food (2.559) and of public vehicles (2.887) were appropriate for the quality of service. Both services received ratings below the critical level of 3.0 which were the lowest rate and should be improved. The relationships between socio – economic backgrounds and the attitudes of the passengers towards services and facilities at the domestic passenger terminal of each (micro level) and of this entire terminal (macro level) are as follows: 1. The relationship between sex and attitudes towards services. It was found that the male passengers have a higher satisfaction with the services and facilities than their female counterparts. 2. The relationship between age and attitudes towards services. It was found that the relationship is positive and consistent at both the micro and macro level. The older the passengers are, the more satisfied they are, while the younger the passengers are, the less satisfied they are. At the micro level, it was found that the passengers aged 56 years or more have the highest satisfaction with services of the departure lounge, arrival lounge and general area, except for the check – in area for which it was found that the passengers aged 46 -55 years have the highest satisfaction, while their average rating is very close to the average rating of passengers aged 56 years or more. The passenger aged 16 -25 years have the lowest satisfaction with services at both the micro levels. 3. The relationship between nationality and attitudes towards services at both micro and macro analysis. It was found that Americans have the highest satisfaction with services of the check –in area, arrival lounge and departure lounge, while the Middle – East and Africans have the lowest satisfaction with services of all areas. 4. The relationship between occupation and attitudes towards services at the micro level. It was found that retired and freelance passengers have the highest satisfaction with services of the check – in area, departure lounge and general areas, while the employees have the lowest satisfaction. 5. The relationship between the frequency of using services and attitudes towards services at both micro macro levels. It was found that the relationship is negative, so it can be said that the more frequently the passengers use services, the less satisfied they are with services of the check – in area, departure lounge and general areas. 6. The relationship between experience of using services of this terminal before this development and attitudes towards service at the micro level. It was found that the passengers who have never used services of this terminal before this development are more satisfied than the passengers who used services of the departure lounge before then. 7. The relationship between the travel arrangement and attitudes towards services at both micro and macro levels. It was found that the passengers joining a tour are more satisfied with services (of the check – in area and departure lounge) than passengers travelling alone.
Description: เอกสารวิจัย (ร.ป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32645
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupaporn_si_front.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_ch1.pdf12.18 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_ch2.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_ch3.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_ch4.pdf27.41 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_ch5.pdf22.43 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_si_back.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.