Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32736
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุเทพ กลชาญวิทย์-
dc.contributor.authorสติมัย อนิวรรณน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-03T02:34:45Z-
dc.date.available2013-07-03T02:34:45Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32736-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย โรคลำไส้แปรปรวนมีกลไกการเกิดโรคจากหลายปัจจัยกลไกที่สำคัญอันหนึ่งได้แก่ การที่ลำไส้มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น (visceral hypersensitivity) มีผลทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาการแสบร้อน ดังจะเห็นได้จากการศึกษาพบ capsaicin receptors มากกว่า คนปกติ และหากรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่องจะสามารถ desensitization ทำให้ผู้ป่วย functional dyspepsia และ NERD อาการดีขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลของการรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่อง ต่ออาการปวดท้อง แสบร้อนท้องและการรับความรู้สึกของทวารหนักในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียเด่น ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียเด่นตามนิยาม Rome III 10 คนเข้าร่วมการศึกษา โดยแต่ละคนจะถูกสุ่มให้ได้รับยาหลอก หรือพริกแดงป่น 2.1 กรัม (capsaicin 2.5 มิลลิกรัม) บรรจุในแคปซูล แบ่งทาน 3 เวลาก่อนอาหารต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะได้รับการใส่สายวัดความรู้สึกที่ทวารหนักที่สัปดาห์ที่ 6 ประเมินความรุนแรงของอาการลำไส้แปรปรวนที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 4, 6 โดยใช้แบบสอบถาม (100 mm VAS) เมื่อครบ 6 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยพัก 4 สัปดาห์ และนัดผู้ป่วยมาทำการศึกษาดังข้างต้นอีกครั้งแต่เปลี่ยนยาเป็นคนละชนิดกับในครั้งแรก การประเมินอาการทางระบบเดินอาหารหลังรับประทานอาหารเผ็ดปกติ โดยใช้แบบสอบถาม (100 mm VAS) ทุก 15 นาทีเป็นเวลา 2 ชั่วโมงก่อนและหลังจากได้รับยาทั้งสองชนิด ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมดสามารถร่วมการศึกษาได้ตลอดการศึกษาและไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง การรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่องมีผลต่ออาการปวดท้อง แสบร้อนท้อง และอาการอื่น ๆ ของระบบทางเดินอาหาร ไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ขณะที่การรับประทานพริกแดงป่นอย่างต่อเนื่องทำให้ระดับของการรับความรู้สึกที่ทวารหนักต่อความรู้สึกถึงอุจจาระครั้งแรกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (12 vs 8 mmHg: p=0.03) โดยไม่มีผลต่อ rectal compliance นอกจากนี้อาการแสบร้อนท้องหลังรับประทานอาหารเผ็ดปกติลดลงในกลุ่มที่ได้รับพริกแดงป่นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (4.3 ± 2.4 vs. 14.1 ± 5.1; p=0.02) สรุป การรับประทานพริกแดงป่นต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน ทำให้ระดับของการรับความรู้สึกที่ทวารหนักต่อความรู้สึกถึงอุจจาระครั้งแรกสูงขึ้นโดยไม่มีผลต่อ rectal compliance และทำให้อาการแสบร้อนท้องหลังรับประทานเผ็ดปกติลดลง ดังนั้นการรับประทานพริกแดงป่น 2.1 กรัมต่อวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์สามารถ desensitization ต่อ capsaicin receptor ที่ทางเดินอาหารส่วนบนและทวารหนักได้en_US
dc.description.abstractalternativeAbstract Background Visceral hypersensitivity involves in the pathogenesis of irritable bowel syndrome. Ingestion of chili has been reported to induce abdominal pain and burning symptoms in IBS, possible by capsaicin receptor (TRPV1) stimulation. Chronic ingestion of chili can improve symptoms of NERD and functional dyspepsia however there is no study in IBS-D patients Objective To determine the effects of chronic chili ingestion on abdominal pain, abdominal burning and rectal sensation in IBS-D patients Methods 10 IBS-D patients were included. All patients received placebo or chili powder in capsules orally before meals in 3 divided doses (chili 2.1 gm/day, capsaicin 2.5 mg/day) for 6 weeks in a randomized double-blinded crossover fashion with a 4-week washout period. Gastrointestinal severity symptom scores and rectal sensation were assessed and compared between placebo and chili treatment by 100-mm long visual analog scales at week 0, 1, 2, 4, and 6 of the studies. Rectal barostat was evaluated in all patients at the end of each treatment period. Gastrointestinal symptoms in respond to spicy meal were evaluated at before and at the end of treatment. Results All patients completed the studies without serious adverse events. The chronic chili ingestion has no effect on abdominal pain, abdominal burning, abdominal bloating, postprandial fecal urgency, diarrhea and incomplete evacuation symptoms scores compared to placebo. While chronic chili ingestion significantly increased sensory threshold of rectal perception for first rectal sensation (12 vs. 8 mmHg; p=0.03) without significant effect on rectal compliance. After chronic chili ingestion, abdominal burning symptom score in respond to a standard spicy meal was significantly decreased compared to after placebo ingestion (4.3 ± 2.4 vs. 14.1 ± 5.1; p=0.02) Conclusions Chili ingestion for 6 weeks significantly increased sensory threshold of rectal perception for first rectal sensation in IBS-D patient without significant effect on rectal compliance and IBS symptoms. In addition, abdominal burning after standard spicy meal was significantly decreased. These results suggest that 2.1 gm/day of chili ingestion for 6 weeks can desensitize the capsaicin receptors in the proximal gut and rectum.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1710-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลำไส้แปรปรวน -- การรักษาen_US
dc.subjectการขจัดภูมิไวen_US
dc.subjectพริกen_US
dc.subjectIrritable colon -- Treatmenten_US
dc.subjectAllergy desensitizationen_US
dc.subjectHot peppersen_US
dc.titleผลของพริกแดงป่นต่ออาการปวดท้อง แสบร้อนท้อง และการรับความรู้สึกของทวารหนัก ในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียเด่นen_US
dc.title.alternativeEffect of chili on abdominal Pain, abdominal burning and rectal sensation in diarrhea predominate Irritable Bowel Syndrome (IBS-D)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorgsutep@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1710-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
satimai_an.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.