Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32913
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชโยดม สรรพศรี-
dc.contributor.authorกนกพร พณิชยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-07-08T08:10:01Z-
dc.date.available2013-07-08T08:10:01Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32913-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการลงทุนในเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนที่หนึ่งเป็นการบรรยายถึงความจำเป็นของการลงทุนในอุตสาหกรรมเอทานอลในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการสร้างหลักประกันในระยะยาว(Long-term Insurance) ให้กับพลังงานของประเทศ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยใช้ตารางเมตริกซ์บัญชีสังคมในการวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อปริมาณการผลิตและต้นทุนการผลิตของสาขาการผลิตต่างๆและมีการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการเกี่ยวกับระดับการลงทุนที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ผลการศึกษาจากการเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเอทานอลส่งผลต่ออุตสาหกรรมต้นน้ำที่ผลิตวัตถุดิบที่จะต้องมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชพลังงาน เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง และถ้ามีการเพิ่มการผลิตพืชพลังงานก็จะทำให้การจ้างงานและการใช้ปัจจัยทุนในการผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลไปถึงครัวเรือนภาคเกษตรที่มีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเพิ่มมากขึ้น จากความต้องการพืชพลังงานเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาพืชพลังงานเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในสาขาการผลิตต่างๆโดยเฉพาะสาขาการผลิตที่มีการใช้อ้อยและมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ ส่วนในสาขาการผลิตอื่นๆที่ไม่ได้ใช้อ้อยและมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบก็จะได้รับผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตผ่านทางการใช้น้ำมันในการผลิตซึ่งจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปริมาณของเอทานอลยังมีสัดส่วนที่น้อยมากในสาขาการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้น ภาครัฐควรมีมาตราการรักษาอุปทานของพืชพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ โดยเป็นการลดการส่งออกพืชพลังงาน ส่วนในระยะยาวควรมีการปรับยุทธศาสตร์พืชพลังงานเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศได้อย่างเพียงพอ โดยภาครัฐควรมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น หรือเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกen_US
dc.description.abstractalternativeMain objective of this study is to analyze the effects of bio-fuel investment on energy-crops of Thailand. The study consists of two parts. The first part is the descriptive analysis that demonstrates the necessity of using bio-fuel investment as a long-term insurance in the energy sector. The second part is quantitative analysis via the Social Accounting Matrix (SAM) which is used to quantitatively analyze the effects from changes in bio-fuel investment on energy-crops production and price. Furthermore, ethanol producers are interviewed for the qualitative analysis and for evaluating the quantitative results. The results from SAM show that a higher investment in ethanol production affects production quantity of all sectors due to the increase in demand of raw materials which mostly are the energy crops such as sugarcane and cassava. Then, the state of employment and utilization of capital in these sectors and consumption in household of the same sectors would increase, accordingly. The increase in demand of energy-crops also affects the cost of production in other sectors, especially, the sectors that use sugarcanes and cassavas as input factors. Other sectors that do not use sugarcanes and cassavas as input factors will have a small effect. The reason is that ethanol from sugarcanes and cassavas is used in a small proportion in petroleum and natural gas production sector. For the policy recommendations, the government should impose policies in securing the supply of energy-crops for domestic demand and reducing in export of energy-crops in the short term. In long-term, government should adopt energy-crops strategy for supporting demand of domestic industry by increasing yields of crops and increasing cultivated area.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2032-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพลังงานชีวมวล -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวล -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมพลังงานชีวมวล -- การลงทุนด้วยเงินทุน -- ไทยen_US
dc.subjectBiomass energy -- Economic aspects -- Thailanden_US
dc.subjectBiomass energy industries -- Economic aspects -- Thailanden_US
dc.subjectBiomass energy industries -- Capital investments -- Thailanden_US
dc.titleผลกระทบจากการลงทุนในเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทยen_US
dc.title.alternativeEffects of bio-fuel investment on Thai economyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChayodom.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2032-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanokporn_pa.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.