Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3322
Title: | กระบวนการและผลของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่อง : พหุกรณีศึกษาหลายพื้นที่ |
Other Titles: | Process and results of school based curriculum development in pilot schools : multisite studies |
Authors: | ศุภมาส ลิมาวัฒนชัย, 2522- |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.t@chula.ac.th |
Subjects: | การวางแผนหลักสูตร |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการและผลของการพัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนนำร่องจำนวน 6 โรง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการวิจัยพหุกรณีศึกษาหลายพื้นที่ (Multisite studies) ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนามนาน 4 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและแบบเจาะลึก และการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย จำแนกชนิดของข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ATLAS.ti และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การจัดทำสาระหลักสูตร และ 3) การนำหลักสุตรไปใช้ จากการศึกษา พบว่า โรงเรียนนำร่องทุกโรงมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาทั้ง 3 ขั้นตอนคล้ายคลึงกันในภาพรวม แต่มีความแตกต่างกันในตัวแปรพื้นที่และขนาด เมื่อพิจารณาในแต่ละขั้นตอน พบว่า โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างกันมีการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นต่างกัน และโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีกิจกรรมในการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละขั้นตอนที่แตกต่างกันซึ่งได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ในกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมการขยายผลการจัดทำหลักสุตร และขั้นตอนที่ 3 การบูรณาการการเรียนรู้ การจัดสื่อการเรียนรู้ และการนิเทศ กำกับ ติดตาม 2. ผลของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาส่งผลต่อผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้ ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนทุกโรงเรียนมีทักษะกระบวนการ ได้แก่ มีการทำงานเป็นทีม มีการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนและกล้าแสดงออกมากขึ้น ส่วนด้านครูผู้สอน พบว่า ครูทุกโรงเรียนมีความรู้ในการพัฒนาหลักสูตร มีพฤติกรรมการทำงานและมีการพัฒนาตนเองดีขึ้น เมื่อพิจารณาตามขนาด พบว่า การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันทำให้ผู้เรยนมีการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสืบค้น มีทักษะอาชีพและมีการใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่แตกต่างกัน แต่ตัวแปรด้านขนาดไม่ส่งผลต่อครูผู้สอน และเมื่อพิจารณาตามพื้นที่ พบว่า ตัวแปรพื้นที่ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 6 ปัจจัย ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมของนักเรียน การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน รูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้กำลังใจจากหน่วยงานต้นสังกัด งบประมาณที่เพียงพอ และความเพียงพอของอัตรากำลังครู |
Other Abstract: | The aims of this research were to study process and results of school based curriculum development (SBC) and successfully affected factors of SBC development in six pilot schools. Field research methodology; multisite studies, which based on participant and nonparticipant observations, informal and in-depth interviews, and documentary analysis, was conducted through the study. Using ATLAS.ti Program, data were analysed by inductive analysis, typological analysis, and constant comparative method and were presented by description. Research findings were as follows: 1. Process of school based curriculum development (SBC) : There are three main stages of SBC development; 1) the preparation 2) the curriculum organization, and 3) the curriculum implementation. Overall, the stage of development in all pilot schools are similar. There are, however, some discrepancies depend on the site and size differences, when considering each of their procedure details; the different sites affect different local curriculums, andthe different sizes affect different activities in each stages; provided staff development activity in the first stage, curriculum expansion activity in the second stage, and intergrated learning, media provision, and supervision and follow-up activities in the third stage. 2. Results of SBC development : The SBC development affects learner and instructor in all schools as follows: Science process skills such as cooperate for team work, use local learning resources, and desirable characters such as enjoy to learn, behave assertion of learner are increased. In addition, SBC development knowledge, work behavior and self-development of teacher are improved. There are, in contrast, some discrepencies depend on the size differences when considering learners; the different sizes affect different using internet as searching tool, vocational skills, and learning motivation of the learner but not affect teacher. When considering site, it has no affect both learner and instructor. 3. Successfully affected factors inSBC development : There were six factors affecting successfully in SBC development; student learning styles, parents and community participation, administrative styles, ample beneficial supports, teacher sufficient budget supports, and adequate teacher rate. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3322 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.818 |
ISBN: | 9745319465 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.818 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supamart.pdf | 22.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.