Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33532
Title: สมรรถนะของเครื่องปรับอากาศเมื่อใช้คอนเดนซิ่งยูนิตแบบระบายความร้อนด้วยอากาศและการพ่นละอองน้ำเป็นระยะ
Other Titles: Performance of an air conditioner using intermittent spray air cooled condensing unit
Authors: พนิต วัฒนศรี
Advisors: ตุลย์ มณีวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tul.M@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศ -- การอนุรักษ์พลังงาน
Air conditioning -- Equipment and supplies
Air conditioning -- Equipment and supplies -- Energy
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ในสถานที่ใช้งานจริง เมื่อมีและไม่มีการติดตั้งชุดพ่นละอองน้ำแบบเป็นระยะของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนขนาด 18,000 บีทียู/ชม. และ 25,000 บีทียู/ชม. จากการทดลองในสถานที่ใช้งานจริงพบว่าชุดพ่นละอองน้ำที่ตั้งเวลาการพ่นละอองน้ำไว้ที่ประมาณ 4 วินาทีต่อนาที ให้ผลที่ดี กล่าวคือ ปริมาณการพ่นน้ำดังกล่าวไม่ทำให้เกิดการเปียกแฉะ และสามารถลดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศลงได้พอสมควร การทดลองการใช้งานแบบต่อเนื่องกระทำโดยการบันทึกข้อมูลต่างๆของการทดลองเป็นรายชั่วโมง เป็นประจำทุกวัน โดยจะเปิดใช้ชุดพ่นละอองน้ำ วันเว้นวัน วันใดเปิดใช้เครื่องพ่นละอองน้ำ ข้อมูลชุดดังกล่าวก็จะเป็นข้อมูลแบบเมื่อมีการใช้ชุดพ่นละอองน้ำ วันใดปิดเครื่องพ่นละอองน้ำ ข้อมูลในวันนั้นก็จะเป็นชุดข้อมูลของเครื่องปรับอากาศแบบธรรมดา จากผลการทดลองพบว่าสมรรถนะของคอนเดนซิ่งยูนิตที่ติดตั้งชุดพ่นละอองน้ำเป็นระยะมีสมรรถนะดีกว่าคอนเดนซิ่งยูนิตแบบธรรมดา โดยภายใน 1 วันเครื่องปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียู/ชม. สามารถลดกำลังไฟฟ้าลงได้ 3-12% และมีการใช้น้ำตั้งแต่ 31 – 34 ลิตรต่อวัน ส่วนเครื่องปรับอากาศขนาด 25,000 บีทียู/ชม. สามารถลดกำลังไฟฟ้าลงได้ 5-7 % และมีการใช้น้ำตั้งแต่ 47 – 54 ลิตรต่อวัน
Other Abstract: This research was conducted to compare the performance of a typical split type air conditioning unit installed with and without the intermittent spray unit with either 18,000 Btu/hr or 25,000 Btu/hr split type air conditioning units in an actual use. From the experiment, the spraying time of four seconds per one minute provides the best results, i.e., the quantity of water is not too much because of the water has enough time to evaporate, and the power consumption of the air conditioning unit is reduced in a satisfactory degree. The continuous experiment for many days and all day long was setup to record all the required parameters. The experiment with and without the intermittent spray unit was perform on the same air conditioning unit by turning the spray unit on or off alternately. On the day that the spray unit was turned on, the data records were the data with the spray unit, and vice versa. When the experimental period is long enough, the caparisoned results would be obtained. The results show that performance of an air conditioner using intermittent spray air cooled condensing unit is more efficient than air cooled condensing unit. The air conditions with 18,000 Btu/hr split type air conditioning unit reduces power input be 3-12 % in 1 day. This condensing unit used water from 31-34 liters per day. The air conditions with 25,000 Btu/hr split type air conditioning unit reduces power input be 5-7 %. Also, this condensing unit used water from 47 - 54 liters per day.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33532
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.417
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.417
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panit_wa.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.