Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ช่วงสุวนิช-
dc.contributor.advisorดิเรก ศรีสุโข-
dc.contributor.authorเทอด แก้วคีรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-02T03:15:24Z-
dc.date.available2013-08-02T03:15:24Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745676969-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33755-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์หาองค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2. หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 3. สร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้องค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียนเป็นตัวทำนาย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 จำนวน 606 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และแบบสำรวจนิสัยทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยสกัดตัวประกอบด้วยวิธีตัวประกอบแอลฟา (Alpha Factoring Method) หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธกอนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) นำองค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียนมาวิเคราะห์การถดถอย โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยวิธีเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) แบบฟอร์เวอร์ค อินคลูชั่น (Forward Inclusion) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-X ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของนิสัยทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 12 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบความเพียรพยายามและความรอบคอบ สมาธิในการทำงาน การค้นคว้าและการวางแผนการเรียน การหลีกเลี่ยงข้อตำหนิ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การควบคุมอารมณ์ การแก้ปัญหาการเรียน การวางแผนการสอน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความบันเทิง ความสมบูรณ์ของแบบอย่าง ความเบื่อหน่ายและการใช้เทคนิคช่วยจำ โดยอธิบายความแปรปรวนได้เท่ากับ 9.50, 3.79, 1.94, 1.62, 1.41, 1.29, 1.27, 1.21, 1.10, 1.07, 1.03 และ 1.02 ตามลำดับ 2. องค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบสมาธิในการทำงาน การหลีกเลี่ยงข้อตำหนิ การควบคุมอารมณ์ การแก้ปัญหาการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความสมบูรณ์ของแบบอย่าง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .146, .249, .141, .243, .234 และ .110 ตามลำดับ 3. องค์ประกอบของนิสัยทางการเรียนที่สามารถร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 5 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับตามความสำคัญของการเข้าทำนาย คือ องค์ประกอบการหลีกเลี่ยงข้อตำหนิ (A₄) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (A₉) การแก้ไขปัญหาการเรียน (A₇) การค้นคว้าและการวางแผนการเรียน (A₃) การควบคุมอารมณ์ (A₆) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 18.171 และมีค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนายเท่ากับ ±5.15443 สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานเป็นดังนี้ Za = .22A₄+.21A₉+.20A₇-.14A₃+.13A₆ 4. องค์ประกอบของทัศนคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 12 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบความรู้สึกที่มีต่อบุคลิกภาพและวิธีการสอนของครู ความกระตือรือร้นในการเรียน การเห็นความจำเป็นในการเรียน ความรู้สึกว่าครูเป็นที่พึ่งของนักเรียน การตัดสินใจ การเห็นคุณค่าในการเรียน ความรู้สึกที่มีต่อคะแนน ความสนุกในการเรียน ความรู้สึกที่มีต่อการพบครู ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาของครู อารมณ์และการเห็นคุณค่าในการเรียน ความขยันมาเรียน และการดูถูก โดยอธิบายความแปรปรวนได้เท่ากับ 8.59, 3.83, 2.23, 1.68, 1.51, 1.39, 1.23, 1.19, 1.10, 1.07, 1.03 และ 1.01 ตามลำดับ 5. องค์ประกอบของทัศนคติต่อการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 7 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบความรู้สึกที่มีต่อบุคลิกภาพ และวิธีการสอนของครู การเห็นความจำเป็นในการเรียน การตัดสินใจ การเห็นคุณค่าในการเรียน ความรู้สึกที่มีต่อคะแนน ความสนุกในการเรียน และความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .660, .190, .400, .106, .113, .142 และ .225 ตามลำดับ 6. องค์ประกอบของทัศนคติต่อการเรียนที่สามารถร่วมกันทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 9 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับตามความสำคัญของการเข้าทำนายคือ องค์ประกอบความรู้สึกที่มีต่อบุคลิกภาพ และวิธีการสอนของครู (B₁) ความรู้สึกว่าครูเป็นที่พึ่งของนักเรียน (B₄) ความสนุกในการเรียน (B₈) ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาของครู (B₁₀) ความขยันมาเรียน และการดูถูก (B₁₂) อารมณ์และการเห็นคุณค่าในการเรียน (B₁₁) การเห็นคุณค่าในการเรียน (B₆) ความกระตือรือร้นในการเรียน (B₂) การตัดสินใจ (B₅) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 57.404 และมีค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการทำนาย เท่ากับ ±.10128 สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานเป็นดังนี้ Zb = -.97B₁+.06B₄-.19B₈-.18B₁₀-.09B₁₂-.10B₁₁+.05B₆-.21B₂+.42B₅
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1. To analyze the factors of study habits and study attitudes of Mathayom Suksa three students. 2. To find the relationship between the factors of study habits, study attitudes and science learning achievement. 3. To construct the multiple regression equation in order to predict science learning achievement of Mathayom Suksa three students by using the factors of study habits and study attitudes as the predictors. The samples were 606 Mathayom Suksa three students in the academic year of 1983. They were multi stage random sampled from secondary schools in Bangkok Metropolis. The research instruments were science learning achievement test, study habit and study attitude inventories. The data were analyzed by using the computer program SPSS-X. Factor analysis method was also used to find the factors underly the variables by the Alpha Factoring Method and Varimax Rotation Method. The obtained factors of study habits and study attitudes were analyzed by means of stepwise multiple regression analysis: forward inclusion. The results of this research were as follows: 1. The 12 factors of study habits of Mathayom Suksa students were attempt and carefulness factor, concentration in working factor, searching and planning in learning factor, avoiding blaming factor, discipline factor, emotional controlling factor, solving problems in learning factor, examination planning factor, achievement motive factor, entertainment factor, completed sample factor, and boring and using some memorized technique factor. Consequently each of them explained variance which were 9.50, 3.79, 1.94, 1.62, 1.41, 1.29, 1.27, 1.21, 1.10, 1.07, 1.03 and 1.02 respectively. 2. There were significant correlation between 6 factors of study habits and science learning achievement at the .01 level. Six factors were concentration in working factor, avoiding blaming factor, emotional controlling factor, solving problems in learning factor, achievement motive factor and completed sample factor which correlation coefficient were .146, .249, .141, .243, .234 and .110 respectively. 3. Science learning achievement of Mathayom Suksa three students was predicted by 5 factors of study habits at the .01 level of significance. Consequently 5 principle factors in regression equation were avoiding blaming factor (A₄), achievement motive factor (A₉) solving problems in learning factor (A₇), searching and planning in learning factor (A₃) and emotional controlling factor (A₆). The above factors could predict a science learning achievement for 18.171 percent and ±5.15443 for a standard error of estimate. The regression equation in standard scores were as follows: Za = .22A₄+.21A₉+.20A₇-.14A₃+.13A₆ 4. The 12 factors of study attitudes of Mathayom Suksa three students were personality and method of teaching factors, eager in learning factor, learning necessity factor, counseling teacher for student factor, decision factor, learning awareness factor, score factor, learning enjoyment factor, meeting teacher factor, teacher’s language using factor, emotional and learning awareness factor and attendance and under estimate factor. Consequently each of them explained variance which were 8.59, 3.83, 2.23, 1.68, 1.51, 1.39, 1.23, 1.19, 1.10, 1.07, 1.03 and 1.01 respectively. 5. There were significant correlation between 7 factors of study attitudes and science learning achievement at the .01 level. Seven factors were personality and method of teaching factor, learning necessity factor, decision factor, learning awareness factor, score factor, learning enjoyment factor and teacher’s language using factor which correlation coefficient were .660, .190, .400, .106, .113, .142 and .225 respectively. 6. Science learning achievement of Mathayom Suksa three students was predicted by 9 factors of study attitudes at the .01 level of significance. Consequently a principle factors in regression equation were personality and method of teaching factor (B₁), counseling teacher for student factor (B₄), learning enjoyment factor (B₈), teacher’s language using factor (B₁₀), attendance and under estimate factor (B₁₂), emotional and learning awareness factor (B₁₁), learning awareness factor (B₆), eager in learning factor (B₂) and decision factor (B₅). The above factors could predict a science learning achievement for 57.404 percent and ±.10128 for a standard error of estimate. The regression equation in standard scores were as follows: Zb = -.97B₁+.06B₄-.19B₈-.18B₁₀-.09B₁₂-.10B₁₁+.05B₆-.21B₂+.42B₅
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนิสัยทางการเรียน
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subjectทัศนคติ
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของนิสัยทางการเรียน และทัศนคติต่อการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en_US
dc.title.alternativeA relationship between the factor of study habits, study attitudes and science learning achievement of mathayom suksa three studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Therd_ke_front.pdf7.27 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_ch1.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_ch2.pdf12.46 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_ch3.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_ch4.pdf30.29 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_ch5.pdf12.71 MBAdobe PDFView/Open
Therd_ke_back.pdf20.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.