Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33836
Title: การวิเคราะห์เศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกราม : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการผลิต 2536
Other Titles: An Economic analysis of giant fresh-water prawn : a case study of Bang Pla Ma district of the Suphan Buri province in 1993
Authors: เนตรดาว คุปตเมธี
Advisors: จารุมา อัชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กุ้งก้ามกราม -- การเพาะเลี้ยง
ต้นทุนและประสิทธิผล
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตกับผลผลิตในการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม รวมทั้งการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและรายได้ ตลอดจนศึกษาถึงประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิต รวมทั้งการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและรายได้ ตลอดจนศึกษาถึงประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิต โดยเลือกศึกษาในแหล่งที่มีการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างหนาแน่น คือ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามจำนวน 224 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติร้อยละ ตัวกลางเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิต ใช้สมการการผลิตแบบคอบบ์ดักลาส ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ จำนวนแรงงานและปริมาณอาหารกุ้งเป็นปัจจัยการผลิตที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลผลิตกุ้งก้ามกราม โดยมีผลรวมของค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 1.1174 แสดงว่า การผลิตกุ้งก้ามกรามในแหล่งสำรวจอยู่ในระยะผลตอบแทนต่อขนาดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรมีการใช้ปัจจัยการผลิตน้อยกว่าจุดที่จะทำให้ได้กำไรสูงสุด ในด้านต้นทุนการผลิตและรายได้พบว่า ฟาร์มขนาดใหญ่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าฟาร์มขนาดเล็ก แต่ฟาร์มขนาดใหญ่มีรายได้มากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก สำหรับการศึกษาอัตราผลตอบแทนภายในและระยะเวลาคืนทุนพบว่า ฟาร์มขนาดใหญ่มีอัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 91.51 และมีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี 1.44 เดือน ส่วนฟาร์มขนาดเล็กมีอัตราผลตอบแทนภายในร้อยละ 47.46 และมีระยะเวลาคืนทุน 1 ปี 11.5 เดือน
Other Abstract: The main objective of this thesis was to analyse production function, costs, return on investment and efficiency use of inputs of giant freshwater prawn farms at Bang Pla Ma district which is the major culture of Suphan Buri Province by using a survey data. The survey was conducted on 224 giant freshwater prawn farmers selected by accidental sampling technique. The study employed the Cobb Douglas production function to explore the relationship between factors of production and the farm output. Standard statistical techniques were also used to analyze crude data. The result of the analysis reveals that prawn farm output is positively related with family labors and feed stocks. It is found that the combined elasticity was 1.1174 which implied an increasing return to scale. In addition, the economic efficiency test for the two variables reveals that prawn farmers were not operating at profit maximization profit. The result of benefit-cost analysis indicated that large farms carry lower average costs of production than small farms. However, large farms produced higher return on investment than small farms. The analysis of the average internal rate of return and pay back period shows that the average internal rate of return of the large farms was 91.51 per cent and the pay back period was 1 year and 1.44 month where as the average internal rate of return of small farms was 47.46 per cent and the pay back period was 1 year and 11.5 month.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33836
ISBN: 9746314041
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natedao_kn_front.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_kn_ch1.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_kn_ch2.pdf7.96 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_kn_ch3.pdf13.02 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_kn_ch4.pdf10.29 MBAdobe PDFView/Open
Natedao_kn_back.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.