Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33841
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกรียงไกร จีระแพทย์-
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.authorเทียมจันทร์ ลีพึ่งธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-03T05:38:54Z-
dc.date.available2013-08-03T05:38:54Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745813206-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33841-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractโครงการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยใน ทำการทดลองติดตามเฉพาะกลุ่มยาต้านจุลชีพเพื่อพัฒนาและประเมินแบบอย่างที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ ดำเนินการที่แผนกสามัญศัลยกรรมโรงพยาบาลราชวิถี ช่วงเดือนพฤษภาคม 2534 จนถึง มีนาคม 2535 โดยพัฒนารูปแบบโครงการอิงแนวทางของสมาคมเภสัชกรโรงพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา ศึกษากับผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านจุลชีพ 600 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 300 คน ในกลุ่มตัวอย่าง พบผู้ป่วย 38 ราย มีอาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 48 อาการ คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 12.67 มากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งพบร้อยละ 1.07 หรือ 5 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เภสัชกรผู้ประเมินอาการไม่พึงประสงค์นั้นจะใช้วิธีการต่างๆ 3 ระดับ คือขั้นแรกทำการประมวลข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยพร้อมกับการสัมภาษณ์ ถ้าเห็นจำเป็นจึงดำเนินการขั้นที่สองคือ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม หรือถ้าสงสัยว่าจะเป็นพิษจากยาจะดำเนินการขั้นที่สามคือ ติดตามระดับยาในเลือด ในการประเมินความเชื่อมั่นว่าอาการไม่ถึงประสงค์เกิดจากยา โดยใช้ Naranjo’s algorithm พบว่า อาการไม่พึงประสงค์ 48 อาการนั้น อาการที่มีความเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากยา 4 อาการ, เป็นไปได้ 32 อาการ และอาจเป็นได้ 12 อาการ โดยอาการส่วนใหญ่เกิดต่อไตร้อยละ 45.83 รองลงมาคือผลต่อผิวหนังร้อยละ 31.25 นอกนั้นเป็นต่อระบบเลือดร้อยละ 8.33 ทางเดินอาหารร้อยละ 6.25 ต่อสมดุลอิเล็กโทรไลต์และต่อหูเท่ากันคือร้อยละ 4.17 หลังจากนั้นจะติดตามและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่พบตามความเหมาะสม ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านจุลชีพได้แก่ อายุที่มากกว่า 60 ปี, การมีโรคแทรกซ้อน, จำนวนขนาดยาที่ได้รับ (p < 0.01) และเพศหญิง (p < 0.05) โดยวิธีทดสอบไคสแควร์ ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของโครงการเฉลี่ยรายละ 62.90 บาท มีความแตกต่างขึ้นกับระดับของวิธีที่ใช้ประเมินหา (34.72-192.38 บาท/ราย) ในการประเมินความพอใจทำการวัดโดยใช้แบบสอบถามแก่แพทย์ 19 ราย พยาบาล 16 ราย ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ พบว่าทุกรายเห็นชอบกับการปฏิบัติงานของเภสัชกรคลินิกในการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและเห็นว่าควรเป็นหน้าที่รับผิดชอบของแผนกเภสัชกรรม โครงการนี้แสดงให้เห็นว่าการติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิดโดยความร่วมมือของทุกฝ่ายย่อมเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตรวจหา, ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาที่เกิดในโรงพยาบาล
dc.description.abstractalternativeAn intensive in-patient ADRs monitoring program, coordinated by a pharmacist, was developed and evaluated at Rajavithi Hospital during May 1991-March 1992 using antimicrobial drugs as a study model. The program was developed, based on the ASHP guidelines, and implemented on the general surgical ward. 600 patients on antimicrobial drugs were systematic randomly assigned to a study and a control group. In the study group (300 patients), the evaluation of ADRs were based on an analysis of patient chart as well as a direct interview with the patient. Laboratory tests, which included blood level of such antimicrobial drugs, were performed where indicated as appear in the study guidelines. An incidence rate of ADRs was significantly higher in this group (12.67, 48 reactions in 38 patients) as compared to that in the control group (1.67%, 5 reactions in 5 patients) (p < 0.05). Of the 48 ADRs reported, 4 were definite, 32 were probable and 12 were possible using Naranjo’s algorithm for verification. Systems affected in order of frequency were kidney (45.83%), skin (31.25%), blood (8.33%), gastrointestinal tract (6.25%), electrolyte (4.17%), ears (4.17%). All ADRs were monitored and correct accordingly. Analysis of the factors influencing ADRs of antimicrobials drugs revealed that age (> 60 yrs), complication of disease, number of drug used (p < 0.01), and sex were related, (p < 0.05) (Chi-square test) An average increasing cost per patient was estimated to be 62.90 baht (range = 34.72 – 192.38 bath/patient). Favorable attitudes toward clinical pharmacy practice regarding ADRs monitoring was reported by 19 physicians and 16 nurses using questionnaire method. Our results suggested that an intensive ADRs monitoring program, which requires collaboration between medical personal and pharmacist, was effective and reasonable in capturing, preventing and correcting ADRs occurring in the hospital.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectAnti-infective agents
dc.subjectสารต้านจุลชีพ
dc.titleโครงการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับผู้ป่วย ในที่โรงพยาบาลราชวิถีen_US
dc.title.alternativeAdverse drug reactions monitoring program on antimicrobial drug for in-patients at Rajavithi Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thiemjun_le_front.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch1.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch2.pdf13.71 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch3.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch4.pdf24.41 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch5.pdf9.35 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_ch6.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Thiemjun_le_back.pdf22.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.