Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3391
Title: การแตกตัวพอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์
Other Titles: Catalytic cracking of polypropylene, polystyrene and used-lubricating oil with Fe
Authors: ประชารัตน์ แต้ภักดี
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tharap@sc.chula.ac.th, Tharapong.V@Chula.ac.th
Subjects: โพลิโพรพิลีน
โพลิสไตรีน
น้ำมันหล่อลื่น
ตัวเร่งปฏิกิริยา
คาร์บอนกัมมันต์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากระบวนการแตกตัวพอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีนและน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ ทดลองในเครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็ก ขนาด 70 มล. กระบวนการแตกตัวศึกษาถึงเปอร์เซ็นต์ของเหล็กบนถ่านกัมมันต์ อัตราส่วนพอลิพรอพิลีนต่อพอลิสไตรีน อัตราส่วนน้ำมันหล่อลื่นต่อพลาสติก อุณหภูมิ 390-450 องศาเซลเซียส เวลาทำปฏิกิริยา 45-105 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-10 บาร์ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ 0.1-1.5 กรัม ปริมาณสารตั้งต้นจำนวน 15 กรัม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด โดยภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวพอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีนและน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กบนถ่านกัมมันต์ดังนี้ เปอร์เซ็นต์ของเหล็กบนถ่านกัมมันต์ คือ 5% อัตราส่วนพอลิพรอพิลีนต่อพอลิสไตรีน คือ 70:30 อัตราส่วนน้ำมันหล่อลื่นต่อพลาสติก คือ 60:40 อุณหภูมิ 430 องศาเซลเซียส เวลาทำปฏิกิริยา 75 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์ และตัวเร่งปฏิกิริยา 0.8 กรัม ซึ่งในภาวะการทดลองข้างต้นจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน 75.65% ผลิตภัณฑ์แก๊ส 17.37% และของแข็งที่ไม่ทำปฏิกิริยา 6.98% เมื่อนำผลิตภัณฑ์น้ำมันมาวิเคราะห์หาการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์ พบว่ามีปริมาณของแก๊สโซลีน 61.25% เคโรซีน 13.25% แก๊สออยล์เบา 15.84% แก๊สออยล์ 3.65% และกากน้ำมันหนัก 6.01% และพบว่ามีหมู่ฟังก์ชันหลักเป็น แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเมื่อเทียบกับหมู่ฟังก์ชันหลักในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 แล้วพบว่ามีหมู่แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนคล้ายกัน เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาชนิด Ni-Mo/Al[subscript 2]O[subscript 3] และ HZSM-5 พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Fe/Activated carbon ให้ผลของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด
Other Abstract: To study the catalytic cracking of polypropylene polystyrene and used lubricating oil with Fe/Activated carbon in a micro reactor of 70 ml. The cracking process was performed at % Fe loading on activated carbon, ratio of PP:PS, ratio of Lubricant: Plastics, reaction temperature 390-450 ํC, reaction time 45-105 min, initial hydrogen pressure 1-10 bars, containing 0.15-1.5 g of Fe/Activated carbon and weight of raw material is 15 g to produce the best product and components. The optimum conditions of catalytic cracking of polypropylene polystyrene and used lubricating oil were 5% Fe loading on activated carbon, PP:PS ratio of 70:30, Lubricant: Plastics ratio of 60:40, reaction temperature of 430 ํC, reaction time of 75 min, initial hydrogen pressure 1 bar by using 0.80 g of catalyst. The product was present in 75.68% by weight of oil yield, 17.37% by weight of gas yield, and 6.98% by weight of solid yield and composed of gasoline, kerosene, light gas oil, gas oil and long residue (61.25, 13.25, 15.84, 3.65,6.01 percentage respectively). It was found that the product also found an aromatic hydrocarbon in main structure. Comparing the product and benzene (octane 95) the structure was similar. The comparison of catalyst types: Fe/Activated carbon, Ni-Mo/Al[subscript 2]O[subscript 3] and HZSM-5, was found that Fe/Activated carbon is the best catalyst
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3391
ISBN: 9741765541
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pracharat.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.