Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34247
Title: การโฆษณาที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
Other Titles: The violation of advertising provision under the Consumer Protection Act of 1979
Authors: ปณัฏฐา จันทร์ฉาย
Advisors: วิฏราธร จิรประวัติ
สุษม ศุภนิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ลักษณะโฆษณาที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ระหว่าง พ.ศ. 2535-2538 2) ความคิดเห็นของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมโฆษณาที่มีต่อการควบคุมโฆษณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาโดยคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ 3) สาเหตุและแนวทางการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการศึกษาแนวคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการติดตามสอดส่องและวินิจฉัยการโฆษณาและสัมภาษณ์แบบเจาะลึกคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาและนักสร้างสรรค์โฆษณา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะที่โฆษณามักฝ่าฝืนคือการใช้ข้อความเป็นเท็จหรือเกินจริงและข้อความที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ซึ่งโดยมากมักเป็นโฆษณาเครื่องมือสื่อสารและเป็นโฆษณาของบริษัทที่มีขนาดเล็ก 2) ปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 อย่างไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควรเกิดจากความล่าช้าจากการปฏิบัติงานของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา รวมถึงบุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณจำกัด และภาษากฎหมายซึ่งต้องใช้การตีความ ตลอดจนนักสร้างสรรค์งานโฆษณาซึ่งไม่ศึกษาข้อบังคับและไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของผู้ควบคุมด้วย กล่าวโดยสรุป การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมีแนวทางดังต่อไปนี้ 1) แยกสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคออกเป็นเอกเทศและยกระดับให้เท่ากรมกองเพื่อสามารถเพิ่มอัตราบุคคลากรตลอดจนงบประมาณในการพัฒนาเครื่องมือและระบบการปฏิบัติงาน 2) ฝ่ายผู้ควบคุมการโฆษณาและฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจควรมีการร่วมมือกันจัดการสัมมนาพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 3) ฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาควรเล็งเห็นความสำคัญในการศึกษากฎข้อบังคับและหลีกเลี่ยงการทำโฆษณาฝ่าฝืนกฎข้อบังคับเหล่านั้นด้วย
Other Abstract: The objectives of this thesis are: 1) to study advertising provision under the Consumer Protection Act of 1979; 2) to delve the opinions of those who are in the advertising industry towards the advertising control under the Consumer Protection Act of 1979; and 3) to study to causes of the problems and the ways to solve them. A review of advertising monitoring subcommittee’s rule from 1992 to 1995 and depth interview of the subcommittee and creative men were conducted. Results indicate that: 1) False or overclaim and misleading advertising are frequently founded in public. Most of them are communication equipments and usually created by small companies. 2) The inefficient operation of the subcommittee in enforcing the Consumer Protection Act of 1979 are caused by: red tape, inadequate officers, limited budget, difficulty of the legal language in the Consumer Protection Act of 1979 and incorporate advertisers. In conclusion, the ways to solve all problems are: 1) the consumer protection office should be independent and more powerful by getting more staff and more budget; 2) the subcommittee and the advertisers should cooperate in setting seminars to exchange opinions to each others; and 3) the advertisers should not only pay more attention in studying the rules in running the advertising business but also avoid violating them.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34247
ISBN: 9746356534
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panatta_ju_front.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_ch1.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_ch2.pdf9.91 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_ch3.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_ch4.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_ch5.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Panatta_ju_back.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.