Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมหวัง พิธิยานุวัฒน์-
dc.contributor.authorณัฏฐภรณ์ หลาวทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-08T06:32:34Z-
dc.date.available2013-08-08T06:32:34Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746362275-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34281-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของโมเดลการวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างมาตรแบบสอบเลือกตอบและมาตรวัดตามการรับรู้ โมเดลการวัดนี้ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 1 ตัว คือ ทักษะการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัว คือ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร, ทักษะกระบวนการตั้งสมมติฐาน, ทักษะการให้นิยามเชิงปฏิบัติการ, ทักษะการทดลอง และทักษะการแปรผลข้อมูลและลงข้อสรุป ผลจากการตอบ มาตรแบบสอบเลือกตอบ และมาตรวัดตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 764 คน นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวัดด้วยมาตรแบบสอบเลือกตอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์สูงกว่าโมเดลการวัดด้วยมาตรวัดตามการรับรู้ โดยโมเดลการวัดด้วยมาตรฐแบบสอบเลือกตอบ มีค่าโค-สแควร์เท่ากับ 2.02; p = 0.57, df = 3, GFI = 1.00, AGFI = 0.99 ในขณะที่โมเดลการวัดด้วยมาตรวัดตามการรับรู้มีค่าโค-สแควร์เท่ากบ 6.74; p = 0.08, df = 3, GFI = 1.00, AGFI = 0.98 ทั้งนี้โมเดลการวัดด้วยมาตรวัดตามการรับรูสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 81.1 สูงกว่าโมเดลการวัดด้วยมาตรแบบสอบเลือกตอบซึ่งอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้เพียง 37.4-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to compare the goodness of fit of science process skills measurement model between multiple choice test and perceive scales. Measurement model consisted of one latent variable (science process skill) and five observed variables (identifying and controlling variables, formulating hypotheses, operationally defining, experimenting and interpreting data and conclusion). Responses scores from multiple choice test and perceived scale of 764 mathayomsuksa 1-3 students in Bangkok Metropolis were analysed by confirmatory factor analysis through LISREL. The results indicated that the measurement model by multiple choice test was consistent with empirical data more than measurement model by perceived scale. Measurement model by multiple choice test provided the chi-square goodness-of-fit test of 2.02; p = 0.57, df = 3, GFI = 1.00, AGFI = 0.99. Measurement model by perceived scale provided the chi-square goodness-of-fit test of 6.74; p = 0.08, df = 3, GFI = 1.00, AGFI = 0.98. Measurement model by perceived scale accounted for 81.8 percent of variance more than measurement model by multiple choice test accounted for 37.4 percent of variance.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเปรียบเทียบความสอดคล้องของโมเดลการวัดทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างมาตรแบบสอบเลือกตอบ และมาตรวัดตามการรับรู้en_US
dc.title.alternativeA comparison of goodness of fit of science process skills measurement model between multiple choice test and perceived scalesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttaporn_la_front.pdf830.11 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_ch1.pdf966.15 kBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_ch2.pdf2.75 MBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_ch4.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_ch5.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Nuttaporn_la_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.