Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.authorปกครอง มณีสิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-08-08T09:56:08Z-
dc.date.available2013-08-08T09:56:08Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745793779-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34352-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองประยุกต์ระบบการกระจายยาแบบยูนิตโดสที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติสำหรับโรงพยาบาลเอกชนในประเทศและเพื่อหาข้อมูลแสดงประสิทธิภาพ จากค่าใช้จ่ายด้านเอกสารเกี่ยวกับยา ผลกระทบจากการจัดให้มีการปฏิบัติงานตรงตามวิชาชีพ และประสิทธิผลในด้านความพอใจของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง โดยคัดเลือกหอผู้ป่วย 1 แห่งในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เพื่อทำการศึกษาในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 2533-กุมภาพันธ์ 2534 ผลการออกแบบระบบการกระจายยาแบบใหม่แสดงให้เห็นว่าหลักการในระบบยูนิตโดสที่อาจนำมาใช้ได้ ได้แก่ ใบคำสั่งแพทย์ที่มีสำเนาส่งมายังฝ่ายเภสัชกรรมโดยไม่มีการคัดลอก การกำหนดปริมาณยาฉีดและยาเม็ดให้มีปริมาณการใช้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การมีบันทึกการจ่ายยาของฝ่ายเภสัชกรรม การมีเภสัชกรรับผิดชอบในการใช้ยาของผู้ป่วยในบริเวณใกล้กับหอผู้ป่วย รวมทั้งการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคิดราคา การควบคุมคลัง บันทึกการจ่ายยา พิมพ์ใบจ่ายยาและฉลากยา ผลการศึกษาค่าใช้จ่ายด้านเอกสารเกี่ยวกับยา พบว่าในระบบใหม่นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบเดิม 2.10 บาท ต่อผู้ป่วยต่อวัน ผลกระทบต่อปริมาณงานของพยาบาลเฉลี่ยต่อ 1 คน พบว่าระบบใหม่ช่วยลดงานเอกสารยาในแต่ละวัน ร้อยละ 2.81 หรือ 20.23 นาทีต่อวันอย่างมีนัยสำคัญ (∝ = 0.05) ส่วนงานเตรียมยา งานบริหารยานั้นลดลงแต่ไม่แตกต่าง ทำให้ส่วนงานพยาบาลแต่ละวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.10 หรือ 21.67 นาทีต่อวัน (∝ = 0.05) ในฝ่ายเภสัชกรรมเวลาที่ใช้ในการคิดราคายาและจัดยาให้ภายนอกแต่ละรายการไม่แตกต่างจากระบบเดิม ส่วนการคิดราคาคืนยา เขียนฉลากยา และจัดยาเม็ดแต่ละรายการในระบบใหม่ลดลงจากเดิม ร้อยละ 21.34, 100.00 และ 16.91 ตามลำดับ (∝ = 0.05) อย่างไรก็ตามการจัดยาฉีด การจัดยาน้ำ และการตรวจเช็คยาแต่ละรายการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.42, 19.93 และ 89.25 (∝ = 0.05) ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อดูปริมาณงานในแต่ละวันแล้ว พบว่า ระบบใหม่ใช้เวลาในการปฏิบัติงานทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากระบบเดิม ร้อยละ 12.89 หรือ 13.27 นาทีต่อวัน ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบสอบถามพอใจกับระบบใหม่ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนานี้สามารถประยุกต์ในโรงพยาบาลเอกชนได้ แต่การนำไปใช้กับโรงพยาบาลอื่นที่มีสภาพต่างกันเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป
dc.description.abstractalternativeA drug distribution system was developed at Bumrungrad hospital, a private general hospital, based on the concept of unit dose system. The pilot system was initially implemented and evaluated in 1 selected patient care area from April 1990 to Febuary 1991 for its impact, efficiency and effectiveness. Practically, 4 procedures were able to be used i.e. direct copy of physicians’s order, pharmacy’s patient drug profile, 24-hr. medication supply and the pharmacist working in a decentralized pharmacy. The system was computerized as part of an online hospital information system for dispensing, charging and using patient information as well as for inventory control. Only the drug document cost was evaluated for efficiency of the system. The result was 2.1 baht/patient/day higher than that estimated previously. The impact of the new system on the workload of each nurse significantly decreased drug documentation task 2.81% (20.23 min./day). However the direct patient-care time increased by 3.01% (21.67 min./day) (∝ = 0.05). Furthermore pharmacy workload was reduced in the labeling, counting and drug return process by 100.00, 16.91 and 21.34% respectively but was increased in preparing liquid and injectable drugs and checking of all doses dispensed by 30.42, 19.93 and 89.25% (∝ = 0.05) respectively. The overall pharmacy time was about 12.89% (13.27 min./day) longer in the new system. The attifudinal study showed satisfaction among most personnel involved and the system was implemented hospitalwide. This study suggested that the new drug distribution system may be applicable for use in a private hospital ; however, it remains to be determined whether this system can be used in a hospital where financial and personnel resources are limited.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการกระจายยาแบบยูนิตโดสในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์en_US
dc.title.alternativeThe development of unit dose drug distribution system in Bumrungrad hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pokkrong_ma_front.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_ch1.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_ch2.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_ch3.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_ch4.pdf25.18 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_ch5.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open
Pokkrong_ma_back.pdf9.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.