Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34626
Title: การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณของการใช้ฟอสจีน ในอุตสาหกรรมเคมี
Other Titles: A quantitative economic analysis of phosgene utilization in chemical industry
Authors: ออมใจ อุทัยวัฒนานนท์
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบในด้านเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณหากมีอุตสาหกรรมผลิตฟอสจีนขึ้นภายในประเทศ โดยประมาณ ปริมาณความต้องการการใช้ฟอสจีนในอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ ในลักษณะเป็นความต้องการอย่างต่ำโดยอาศัยโครงสร้างทางการผลิตของอุตสาหกรรมเคมีที่เกี่ยวข้องเป็นตัวประเมิน จากขนาดความต้องการฟอสจีนดังกล่าว จะได้ขนาดของโรงงานฟอสจีนที่เหมาะสม และได้วิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์และการลงทุนดังนี้ มูลค่าเพิ่ม เป็นการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มในภาคต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่ามูลค่าเพิ่มมีค่าสูงสุดในช่วงของการผลิตฟอสจีนจากองค์ประกอบพื้นฐาน ดุลการชำระเงินตราต่างประเทศ ลักษณะการผลิตฟอสจีนนั้นเพื่อทดแทนการนำเข้า ดังนั้นเมื่อมีการผลิตฟอสจีนขึ้นได้ในประเทศจะสามารถลดดุลการชำระเงินได้ 9,122 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี, การว่าจ้างแรงงาน โรงงานผลิตฟอสจีนเป็นโรงงานประเภทเน้นหนักทางด้านเครื่องจักร แต่มีการจ้างแรงงานประมาณ 150-200 คน คาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างแรงงานและเกิดเงินหมุนเวียนในตลาดแรงงานประมาณ 35 ล้านบาท/ปี อุตสาหกรรมต่อเนื่อง โครงการผลิตฟอสจีนจะก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมชั้นกลาง โดยการนำวัตถุดิบทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังทำให้อุตสาหกรรมขั้นปลายที่ต่อเนื่องสามารถเป็นอิสระจากการนำเข้าและราคาวัตถุดิบจากต่างประเทศได้, ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจากการนำเข้าวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์, ผลกระทบจากการผลิตและของเสียจากกระบวนการผลิต, ทางด้านการลงทุนได้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 65.03 ล้านบาท และอัตราผลตอบแทนการลงทุนร้อยละ 21
Other Abstract: This is the research which studied about the national economic effect from local phosgene production project. The capacity of phosgene plant was estimated from the minimum consumption of it in 3 industries; insecticide, plastic and polyurethane. The consequence results have been evaluated in the following subjects. The first is value added within the related industries. It was highly significant in the stage of manufacturing phosgene from natural resource. For money trade balance, the phosgene import substitution will reduce the national expenditure about 9,122 million baht in 10 years. As it was the machine intensive plant, there were about 150-200 employees. In the related industries, the project caused more flexibility on price and availability of source of raw material, especially for the secondary phase industry. In term of investment index, the project was satisfied with 21% IRR and 63.03 million baht for NPV. The last subject is the environmental effect which can be controlled by the appropriate manufacturing technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34626
ISBN: 9745787205
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Omjai_ut_front.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch1.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch2.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch3.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch4.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch5.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch6.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch7.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_ch8.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Omjai_ut_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.