Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35210
Title: การกำหนดนโยบายการจัดสรรโควต้าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไปยังตลาดประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2523-2530
Other Titles: The policy making of export quota allocation of cassava products to EEC during 1980-1987 A.D.
Authors: เพียงใจ เลิศเกียรติศักดิ์
Advisors: พิทยา บวรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นโยบายสาธารณะ -- ไทย
โควต้าสินค้าออก -- นโยบายของรัฐ
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง -- ไทย
มันสำปะหลัง -- นโยบายของรัฐ
สินค้าเข้าและสินค้าออก
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป -- การค้ากับต่างประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงผู้มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายการจัดสรรโควตาการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปยังประชาคมยุโรป วิธีการที่ผู้มีอิทธิพลใช้ในการกำหนดนโยบาย ตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายและผลที่เกิดจากการใช้นโยบายในแต่ละช่วง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้นำคือผู้มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายซึ่งในที่นี้คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ข้าราชการประจำระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ประชาคมยุโรป ผู้ส่งออกรายใหญ่บางรายและนักวิชาการ ผู้นำเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างกันออกไปในแต่ละช่วง ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายมากที่สุดได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และข้าราชการประจำระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ส่วนผู้ส่งออกรายใหญ่บางรายจะมีอิทธิพลในบางช่วง สำหรับประชาคมยุโรปจะมีอิทธิพลเฉพาะช่วงการเจรจาให้ไทยจำกัดตนเองและต่อสัญญาเท่านั้น ส่วนนักวิชาการ เจ้าของโรงงานมันอัดเม็ด เจ้าของลานตากมัน และชาวไร่มันจะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายน้อยมาก วิธีการที่ผู้นำเข้ามามีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และข้าราชการประจำระดับสูงจะใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายและการให้ข้อมูลข่าวสารแก่สื่อมวลชน ส่วนผู้ส่งออกจะใช้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์และการให้เงินแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร้องเรียนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย สำหรับประชาคมยุโรปจะใช้การกดดันทางการเมือง การให้ข้อมูลข่าวสารและการให้เงินแก่ผู้ท่ากำหนดนโยบาย ในขณะที่นักวิชาการจะใช้การเขียนบทความเผยแพร่ทางสื่อมวลชนและเข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายพบว่าปัจจัยแต่ละตัวมีอิทธิพลต่างกันไปในแต่ละช่วง ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองและข้อมูลข่าวสารถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยต้องยอมจำกัดตนเอง ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลในการจัดสรรโควต้าการส่งออกของไทยในแต่ละงวด ได้แก่ ข้อตกลงระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป ราคาหัวมันสดในประเทศ ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในประชาคมยุโรป และปริมาณผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในประเทศไทย
Other Abstract: The objective of this thesis is to identify individuals who are influential in the policy making of export quota allocation of cassava products to EEC, to study the strategies utilized by those individuals in dominating the policy making process and the factors which are critical in determining the policy making process. The impact of such policies are also taker into consideration. The study found that individuals who constitute the policy elite group are : the Minister of Commerce, certain senior bureaucrats of Ministry of Commerce, the EEC, majors exporters and particular scholars. The power of each actor varies during different periods. The Minister of Commerce and senior bureaucrats of the Ministry of Commerce represent actors with the most power. Some major exporter played vital role during specific periods. The EEC, on the other hand, dominates the policy making arena during negotiation for the continuation of the tapioca agreement. Other actors such as, scholars, the pellet factory owners, chip factory owners, cassava farmers do not have much influence in the policy making process. Each actor has different ways of influencing the policy making process. The power of the Minister of Commerce and senior bureaucrats is legally-based. They also used certain tactics by disseminating information to the public. Major exporters tried to establish informal contact with policy makers by bribery and political demands. The EEC representatives employed political pressures, manipulates information, and use bribery. Scholars, on the other hand, aired their views through the press and conferences. During each period particular factor has different impact upon the policy making process. Political factors and manipulation of information by the EEC are the major reasons accounting for the Thai government’s decision to restrain its tapioca exports to the EEC. Factors which determined the Thai government policy making of export quota allocation of cassava products are : Thai-EEC Agreement, the price of cassava in Thailand, the price of cassava products in the EEC, and the volume of cassava products in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35210
ISBN: 9745760587
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PeingJai_le_front.pdf11.04 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch1.pdf14.46 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch2.pdf24.86 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch3.pdf14.74 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch4.pdf19.92 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch5.pdf9.62 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch6.pdf32.15 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch7.pdf14.91 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_ch8.pdf15.16 MBAdobe PDFView/Open
PeingJai_le_back.pdf55.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.