Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35671
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญ-
dc.contributor.advisorพสชนัน นิรมิตรไชยนนท์-
dc.contributor.authorพธูสิรี รัตนกาฬ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-08-20T09:10:30Z-
dc.date.available2013-08-20T09:10:30Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35671-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม และ 3) ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขการนำรูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมไปใช้ ประชากรคือบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมซึ่งเป็นพนักงานใหม่ที่ปฏิบัติงานด้านการให้บริการลูกค้าของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด (มหาชน) จำนวน 20 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแบบทดลองที่ดำเนินการทดลองกลุ่มเดียวมีการวัดผลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมมีองค์ประกอบคือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3)กระบวนการดำเนินกิจกรรม 6 ขั้นตอน “ CREATED Model ” คือ 1. ขั้นปฐมนิเทศสร้างเป้าหมาย (Click Learning Goal) 2. ขั้นประสบการณ์เป็นประโยชน์ (Recall Experience ) 3. ขั้นปฏิบัติเพื่อเปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา (Enter to Wisdom) 4. ขั้นประยุกต์ปัญญาไปแก้ปัญหา (Apply) 5. ขั้นปลดปล่อยการเปลี่ยนแปลง (Transfer) และ 6. ขั้นประเมินความก้าวหน้าร่วมกัน (Ensure) และ (4) การประเมินผล 2) ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมที่สร้างขึ้นสามารถเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์กรธุรกิจโทรคมนาคม โดยคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการบริการเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ส่วนเจตคติต่อการบริการเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.68) พิจารณาจากองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ ทักษะการติดต่อสื่อสาร และความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากมากมาน้อย สำหรับการแสดงออกที่เสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.63) พิจารณาจากองค์ประกอบด้านบุคลิกภาพ ทักษะการติดต่อสื่อสาร และการมีความคิดสร้างสรรค์ เรียงลำดับจากมากไปน้อย 3) ปัจจัยและเงื่อนไขการนำรูปแบบกิจกรรมไปใช้ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาบุคลากร ผู้นำองค์กร และผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารของหน่วยงานให้ความสำคัญ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์สำหรับบุคลากร และการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม จึงสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในบุคลากรและองค์กร ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมของสินค้าและบริการที่เป็นพลังแห่งการขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน โดยรูปแบบกิจกรรมมีความเหมาะสมในการพัฒนาความรู้ เจตคติ และการแสดงออกที่เสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were : 1) to develop a non-formal education activity model based on neo-humanist concept and constructivism theory to enhance creative services for personnel telecommunication organizations, 2) to implement a non-formal education activity model based on neo-humanist concept and constructivism theory to enhance creative services for personnel telecommunication organizations, and 3) to study factors and conditions of using a non-formal education activity model based on neo-humanist concept and constructivism theory to enhance creative services for personnel telecommunication organizations. The population of this study were personnel telecommunication organizations and the subjects of this experiment were 20 new customer services in True Corporation Public. This study based on the Experimental Research One Group Pretest – Posttest design. The research findings were as follows : 1. A non-formal education activity model based on neo-humanist concept and constructivism theory to enhance creative services for personnel telecommunication organizations were (1) concepts, (2) purpose , (3) activities process consisted 6 steps of “ CREATE Model ” . Which were : 1. Click learning goals (orientation to the target , 2. Recall experiences (experiences are useful for learning) 3. Enter to Wisdom (practice) 4. Apply (apply wisdom to real life situation) 5. Transfer (release wisdom to share with other) and 6. Ensure (wisdom self assess progress together) , and (4) the evaluation of model. 2) The results of the implementation of using a non-formal education activity model were : the experimental group had the scores of creative services knowledge in pretest were higher than the scores of post test with statistical significant at level of 0.05 . Attitude scales and expression to enhance creative services were at the high level (X bar = 4.68 , X bar = 4.63) considering the element of personality , communication and creativity sorted in descending order. 3) The factors of using a model were: the policy of administrators , involvement of employees to share together. The conditions were opening the employees opportunity to share their wisdom.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.595-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน -- กิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectลูกจ้าง -- การฝึกอบรมen_US
dc.subjectโทรคมนาคม -- การบริหารงานบุคคลen_US
dc.subjectNon-formal education -- Activity programsen_US
dc.subjectEmployees -- Training ofen_US
dc.subjectTelecommunication -- Personnel managementen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสและทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างการบริการเชิงสร้างสรรค์สำหรับบุคลากรองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a non-formal education activity model based on neo-humanist concept and constructivism theory to enhance creative services for personnel telecommunication organizationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirathep.p@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.595-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patusiree_ra.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.