Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorพรยศ มณีโชติปีติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-09-11T07:24:57Z-
dc.date.available2013-09-11T07:24:57Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35871-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractศูนย์การค้าชุมชนหรือคอมมูนิตี้มอลล์ (Community Mall) กำลังเป็นรูปแบบค้าปลีกที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ใกล้ที่พักอาศัย ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อสินค้าตามศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ทั้งที่อยู่ในตัวเมืองหรืออยู่ห่างจากที่พักอาศัยมากเกินไป แต่จากการขยายตัวของธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนที่มีแนวโน้มมากขึ้นนั้น ทำให้เกิดรูปแบบของศูนย์การค้าที่มีการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมในการสร้างความน่าสนใจให้กับโครงการ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ประกอบหลักของเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กร เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กรที่เหมาะสมกับรูปแบบสถาปัตยกรรม งานวิจัยนี้เริ่มจาก การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมของศูนย์การค้าชุมชน โดยเน้นที่รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แนวคิด ได้แก่ นีโอคลาสสิค (Neo-classicism) โรแมนติค (Romanticism) และอาร์ตนูโว (Art Nouveau) นำตัวอย่างผลงานไปวิเคราะห์เพื่อหาบุคลิกภาพ จากนั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักของเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กร ได้แก่ รูปร่าง (Shape) สี (Color) เครื่องหมายและสัญลักษณ์ (Sign and Symbol) ตัวอักษร (Font) รวมทั้งการใช้วัสดุ (Material) สื่อประเภทป้ายสัญลักษณ์ (Signage type) และสตรีทเฟอร์นิเจอร์ (Street Furniture) เพื่อนำไปทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์ ผลที่ได้จะใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กรสำหรับศูนย์การค้าชุมชน จากผลสรุปพบว่า องค์ประกอบของเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กรที่เหมาะสมกับรูปแบบสถาปัตยกรรมทั้ง 3 แนวคิดนั้น มีความใกล้เคียงกัน แต่ถ้านำมาผสมผสานกับบุคลิกและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในแต่ละแนวคิด ก็จะสามารถทำให้เกิดความแตกต่างของอัตลักษณ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งท้ายสุดผู้วิจัยได้นำผลสรุปดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรศูนย์การค้าชุมชน โดยมุ่งเน้นที่ ตราสัญลักษณ์ (Logo) ระบบป้ายสัญลักษณ์ (Signage System) และสตรีทเฟอร์นิเจอร์ (Street Furniture) ทำการเลือกกรณีศึกษาเป็นศูนย์การค้าเอเชียทีคเดอะริเวอร์ฟร้อนท์ (ASIATIQUE The Riverfront) ซึ่งเป็นศูนย์การค้าที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5en_US
dc.description.abstractalternativeCommunity mall is a retail model that has become popular nowadays. The shopping center is located near residential areas. Therefore, consumers do not have to waste time shopping at a major shopping center which is either in town or far away from residential areas. The higher growth of community mall business is leading to the creation of various architectural models that would make the community malls under construction the centers of attraction. Therefore, this research aims to study the fundamental elements of graphic design for corporate identity that suits the architectural style. This research was initiated by studying different types of community mall and the Thai architectural styles influenced by the western architecture during the reign of King Rama V. There are three concepts included: Neo-classicism, Romanticism and Art Nouveau. The research methodology begins with analyzing the samples of community malls to determine their characters. The samples analysis was followed by a collection of data on the fundamental elements of corporate identity design, namely shape, color, sign, symbol, font, material use, signage type, and street furniture, the information of which was subsequently used to create a survey to be analyzed by experts. The results of the survey were further employed as a guide to create a corporate identity for community mall. The conclusion of this study shows that the elements of graphic design for corporate identity suiting the three architectural concepts are similar. However, when the characters and architectural features of each concept are combined, it may result in a more uniqueness in identity. The researcher used this conclusion as a guideline in the design of corporate identity for community mall focusing on logo, signage system, and street furniture. Finally, the researcher selected “ASIATIQUE The Riverfront”, representing a King Rama V architectural-style mall, as a case study.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.64-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์en_US
dc.subjectศูนย์การค้าen_US
dc.subjectอาคารพาณิชย์ -- การออกแบบen_US
dc.subjectBranding (Marketing)en_US
dc.subjectShopping mallsen_US
dc.subjectCommercial buildings -- Designen_US
dc.titleการออกแบบเรขศิลป์อัตลักษณ์องค์กรศูนย์การค้าชุมชนen_US
dc.title.alternativeCorporate identity design for community mallen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนฤมิตศิลป์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.64-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornyos_ma.pdf16.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.