Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารดา กีระนันทน์-
dc.contributor.authorชัยรัตน์ พลมุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-10-10T10:33:54Z-
dc.date.available2013-10-10T10:33:54Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36103-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractศึกษาวิเคราะห์แนวคิดธรรมราชาในวรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ รวมถึงศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ ทั้งกลวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ ซึ่งช่วยให้กวีนำเสนอแนวคิดธรรมราชาได้อย่างสมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า วรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ 70 เรื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประกาศการพระราชพิธี คำฉันท์ดุษฎีสังเวย และกาพย์เห่เรือ วรรณคดีเหล่านี้มีสถานภาพ บทบาทหน้าที่ และขนบของวรรณคดีแต่ละประเภทเป็นปัจจัยในการเลือกสรรเนื้อหาว่าด้วยพระคุณสมบัติ พระราชจริยาวัตร และพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์มานำเสนอสอดประสานไปกับเนื้อหาว่าด้วยข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพระราชพิธี การวิเคราะห์เนื้อหาเหล่านี้ทำให้มองเห็นว่า กวีมุ่งถ่ายทอดจริยาคติของพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การเป็นองค์ธรรมิกราช ผู้ปฏิบัติตามหลักราชธรรมและหลักธรรมทั่วไป การเป็นจักรพรรดิราชผู้ปฏิบัติตามหลักจักรวรรดิวัตร และได้ครอบครองเครื่องแสดงจักรพรรดิสมบัติ การเป็นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุพระโพธิญาณและเกื้อกูลมหาชน และการเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกผู้ทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักรควบคู่ไปกับราชอาณาจักร จริยาคติเหล่านี้สามารถประมวลเป็นแนวคิดธรรมราชา 2 ประการคือ แนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงดำรงไว้ซึ่งธรรมะทางพระพุทธศาสนา เพื่อโน้มนำสังคมให้ดำเนินไปตามครรลองแห่งธรรม โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง และแนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อบ้านเมือง อันก่อให้เกิดความผาสุกสมบูรณ์แก่ประชาชน และความมั่นคงของราชบัลลังก์ควบคู่กัน ในการนำเสนอแนวคิดธรรมราชา กวียังได้นำกลวิธีการประพันธ์มาเสริมให้เกิดความงามทางวรรณศิลป์จากการเลือกใช้รูปแบบคำประพันธ์ และศิลปะการใช้ภาษา เพื่อสร้างความเสนาะของเสียงและความสมบูรณ์ด้านความหมาย ทำให้กวีสามารถนำเสนอแนวคิดธรรมราชาได้อย่างแยบคาย กล่าวคือ ทำให้ผู้อ่านผู้ฟังตระหนักถึงความสำคัญและเกิดความซาบซึ้งใจในแนวคิดธรรมราชาที่กวีมุ่งนำเสนอ ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น วรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีบทบาทสำคัญ ในการปลูกฝังแนวคิดธรรมราชาให้เป็นรากฐานของสังคมไทยอย่างเด่นชัดen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are to analyze the concept of Dharmaraja in royal ceremony literature written in the Rattanakosin period and to investigate literary techniques, both in terms of contents and poetic devices, employed to reinforce Dharmaraja concept effectively. The result of the study reveals that seventy poetical works are divided into three groups namely royal ceremony proclamations, poetry of ritual chants and royal barge songs. Theses works were composed according to three main factors: the status of the works, their function and literary convention. As a result, the contents of royal ceremony literature are mainly the depiction of kings’ virtues, conducts and duties, paralleled with the contents providing significant information about each ceremony. Embedded in these unified contents are the kings’ ethical practices, firstly as the Dharmikaraja who upholds Rajadharma and other Buddha Dharma, secondly as the Cakravartin who accomplishes Cakravartivatra and gains the emblems signifying Cakravartin kingship, thirdly as the Bodhisattva who accumulates merit to attain enlightenment with the resolution to help his people, and finally as the Buddhism protector who cherishes Buddhism and the kingdom simultaneously. These ethical practices of Buddhist kings convey two prominent concepts of Dharmaraja: the kings’ observance of Buddhist doctrines to uphold the whole kingdom onto the path of Buddha Dharma with the kings as the moral models and the kings’ accomplishment of royal duties for the well-being of all people in the kingdom as well as the stability of the throne. To convey Dharmaraja concept effectively, various poetic devices are employed to enhance the aesthetic values both in sounds and senses. The uses of versification and diction enable the audience to perceive Dharmaraja concept with both appreciation and insight. Royal ceremony literature, therefore, plays an important role in transmitting and establishing Dharmaraja concept as the solid foundation of Thai society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1144-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธรรมราชาen_US
dc.subjectวรรณคดีไทย -- สมัยรัตนโกสินทร์en_US
dc.subjectการแต่งคำประพันธ์en_US
dc.subjectDharmarajaen_US
dc.subjectThai literature -- Rattanakosin perioden_US
dc.subjectPoeticsen_US
dc.titleวรรณคดีประกอบพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์ : แนวคิดธรรมราชากับกลวิธีทางวรรณศิลป์en_US
dc.title.alternativeRoyal ceremony literature in the Rattanakosin period : Dharmaraja concept and literary techniquesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArada.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1144-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chairat_po.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.