Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36199
Title: ความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาที่ให้นมทารก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Prevalence of postpartum depression and associated factors among nursing mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: สินาพร วิทยาวนิชชัย
Advisors: ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
Advisor's Email: jaomee@hotmail.com
Subjects: ความซึมเศร้าหลังคลอด
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Postpartum depression
Breast feeding
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมารดาที่ให้นมทารก ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากมารดาที่ให้นมทารกจำนวน 313 คน ที่มาตรวจหลังคลอดภายใน 4 - 6 สัปดาห์ที่หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงดูทารก แบบสอบถามเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) ฉบับภาษาไทย แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส (The Dyadic Adjustment Scale) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม (PRQ Part II) และแบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับ (PSQI) โดยใช้ Univariate analysis (ได้แก่ t-test, Chi-Square test, Pearson’s product moment correlation coefficient) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในผู้หญิงกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร้อยละ 16.9 โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าจาก univariate analysis มี 22 ปัจจัย ได้แก่ ไม่มีการจัดพิธีสมรสตามประเพณี อาชีพนักศึกษา ประวัติซึมเศร้าในอดีต และในช่วงตั้งครรภ์ ประวัติการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก่อนมีรอบเดือน การใช้คาเฟอีนในช่วงตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด การใช้แอลกอฮอล์ในช่วงหลังคลอด การตั้งครรภ์ไม่เป็นที่ต้องการ ลำดับการคลอดของทารกคนที่สาม การคลอดเองโดยใช้เครื่องดูด การให้ทารกดูดนมหลังคลอดช้า หัวนมสั้น ทารกมีปัญหาในการดูดนมในปัจจุบัน มีอาการปวดแผลในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด มีอาการไม่สบายอื่น ๆ ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด และ ในปัจจุบัน การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาร่วมกับนมผสม ให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดูแลทารกช่วงกลางคืน สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสไม่ดี แรงสนับสนุนทางสังคมต่ำ คุณภาพการนอนหลับไม่ดี เมื่อวิเคราะห์โดยวิธี multivariate analysis พบว่า เหลือเพียง 7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ประวัติอาการซึมเศร้าในอดีต ประวัติการใช้คาเฟอีนในช่วงตั้งครรภ์ ทารกที่คลอดเป็นบุตรคนที่สามเป็นต้นไป การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วย ปัญหาการดูดนมของทารกในปัจจุบัน มีบุคคลอื่นร่วมในการดูแลทารกช่วงกลางคืน และ คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี
Other Abstract: The purpose of this cross – sectional descriptive study was to examine the prevalence of postpartum depression (PPD) as well as associated factors among nursing mothers at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected from 313 nursing mothers who come for postpartum follow-up visits (at 4-6 weeks postpartum). Self-report questionnaires include the following general background questionnaire, obstetrics and infant information, a Thai version of Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS), The Dyadic Adjustment Scale, Personal Resource Questionnaire (PRQ-part II), The Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), were completed by all subjects. Univariate analysis (e.g. t-test, Chi-Square test, Pearson’s product moment correlation coefficient) was used to examine associated factors with PPD and Multivariate Analysis was used to determine predictors of PPD among this group of women. The results revealed that 16.9% of subjects had depression. Univariate analysis revealed 22 factors significantly associated with postpartum depression, namely: no marital ceremony, currently a student, history of lifetime depression, history of depression during pregnancy, history of premenstrual mood changes, history of caffeine use during pregnancy and postpartum period, history of alcohol use during postpartum period, unwanted pregnancy, third child, vacuum assisted delivery, delayed breastfeeding after delivery, short nipples, current sucking problem, wound pain and other disturbing symptoms in first week after delivery, others disturbing symptoms at present, combined breast milk and formula milk, had other person to take care of the baby at night, poor marital relationship, poor social support, and poor sleep quality. Multivariate analysis revealed only 7 factors significantly associated with postpartum depression, namely; history of lifetime depression, history of caffeine use during pregnancy, birth of the third child onward, assisted delivery, current baby’s sucking problem, had other person to care of the baby at night, and poor sleep quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36199
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1128
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sinaporn_wi.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.