Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36296
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ และการเรียนรู้แบบลึกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: Development of an instructional model focusing on significant learning and deep learning to enhance English reading comprehension ability of primary school students
Authors: ผัสสพรรณ ถนอมพงษ์ชาติ
Advisors: สุมาลี ชิโนกุล
สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: csumalee@chula.ac.th
Subjects: พัฒนาการในการอ่าน
การอ่านขั้นประถมศึกษา
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) --
Developmental reading
Reading (Elementary)
English language -- Study and teaching (Primary) -- Foreign speakers
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2. เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประถมศึกษา การวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวม และขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 29 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 5 สัปดาห์ รวม 16 ชั่วโมง 7 แผนการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมของนักเรียนที่สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อจบบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัย 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึก ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอน 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่การอ่าน ซึ่งบทอ่านสร้างจากความสนใจของผู้เรียน ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้ศัพท์ใหม่ จากบทอ่านที่สร้างจากความสนใจของผู้เรียน ขั้นที่ 3 ขั้นอ่านออกเสียง ขั้นที่ 4 ขั้นทำแบบฝึกหัด ที่ครอบคลุมการจับประเด็น การตีความเรื่องที่อ่าน การประยุกต์ใช้ การประเมินค่า และให้ข้อมูลป้อนกลับ ขั้นที่ 5 ขั้นทบทวนคำศัพท์ และความเข้าใจจากบทอ่านที่สร้างจากความสนใจของผู้เรียน และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลโดยการอ่านในใจตอบคำถามท้ายบทอ่าน ที่ครอบคลุมการจับประเด็น การตีความเรื่องที่อ่าน การประยุกต์ใช้การประเมินค่าและให้ข้อมูลป้อนกลับ 2. การประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นจากการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ในห้องเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบลึก มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research are: 1) to develop a reading instructional model based on the concepts of significant learning approach and deep learning approach to enhance English reading comprehension ability of primary school students; and 2) to evaluate the quality of the developed instructional model. The research procedure was divided into 3 phases. The first phase was to develop a reading instructional model based on the concepts of significant learning approach and deep learning approach. The second phase was to construct the research instruments. The third phase was to evaluate the quality of the developed instructional model by implementing with 29 fifth grade students at Chulalongkorn University Elementary Demonstration School. The samples were purposively selected from fifth grade students. The research instruments were the reading comprehension test and the student’s changing behavior interview. The duration of experiment was 5 weeks (16 hours, 7 lesson plans). The data were analyzed using t-test. The findings of this study were as follows: 1. The developed reading instructional model based on the concepts of significant learning approach and deep learning approach has 6 steps: (1) Engaging the students (2) Learning new vocabulary (3) Reading aloud (4) Completing reading exercise and feedback (5) Activating vocabulary and (6) Individual reading and assessment 2. The quality of the developed reading instructional model was investigated by implementing the model in the class. After studying through the developed reading instructional model, the post-test mean scores of students’ English reading comprehension ability were higher than their pre-test mean scores at the statistically significance at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36296
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1574
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1574
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phasphan_th.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.