Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36523
Title: การแปลและอธิบายความหมายภูมิทัศน์ในเชิงอุทกนิเวศวิทยาจากแผนที่โบราณ : กรณีศึกษา ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Hydro ecological landscape interpretation from historical map : case study ; Chaophraya Delta, Bang Plama, Suphanburi / Sanya Tavornpradit
Authors: สัญญา ถาวรประดิษฐ์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th
Subjects: นิเวศภูมิทัศน์
อุทกวิทยานิเวศ
ภูมิทัศน์
ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ -- แผนที่
แม่น้ำเจ้าพระยา -- ที่ราบลุ่มน้ำ
Landscape ecology
Ecohydrology
Landscapes
Historical geography -- Maps
Chao Phraya River ‪(Thailand)‬ -- Aluvial plains
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาและเรียนรู้ภูมิทัศน์โดยใช้ข้อมูลจากแผนที่โบราณ ซึ่งหัวข้อหรือประเด็นที่ทำการศึกษานั้นคือ ลักษณะภูมิทัศน์ในเชิงอุทกนิเวศวิทยา โดยเลือกพื้นที่ซึ่งมีลักษณะทางอุทกนิเวศวิทยาที่มีลักษณะเฉพาะตัวมาเป็นกรณีศึกษา คือบริเวณบางแม่หม้ายและพื้นที่โดยรอบ ในเขตตำบลบางใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมเป็นประจำในทุกปี มาศึกษาถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางอุทกนิเวศวิทยา และการเปลี่ยนแปลงหรือพลวัตรทางอุทกนิเวศวิทยา การศึกษาดังกล่าวได้ใช้วิธีการบ่งชี้และจำแนกคุณลักษณะทางภูมิทัศน์จากข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้จากแผนที่ โดยเฉพาะข้อมูลจากแผนที่โบราณซึ่งแสดงลักษณะทางภูมิทัศน์ดั้งเดิมของพื้นที่ เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างทางภูมิทัศน์ที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางอุทกนิเวศวิทยา และการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโดยการศึกษาผ่านช่วงเวลา ผลการศึกษาแสดงออกมาในรูปแบบของแผนที่ที่แบ่งเป็นชั้นตามคุณลักษณะทางด้านนิเวศ โดยที่สามารถนำแผนที่ในแต่ละชั้นข้อมูลมาสร้างเป็นแผนที่เชิงอุทกนิเวศวิทยา เพื่อนำมาใช้ในการอธิบายถึงลักษณะทางอุทกนิเวศวิทยาตามประเด็นในการศึกษาข้างต้นได้ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะทางภูมิทัศน์ในเชิงอุทกนิเวศวิทยา ที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของข้อสังเกตุหรือคำถามจากลักษณะที่ปรากฏ ซึ่งความเข้าใจและการตั้งคำถามนั้นเป็นส่วนสำคัญที่ภูมิสถาปนิกใช้ในการวิเคราะห์ พิจารณา เพื่อใช้ในการวางแผนภูมิทัศน์เพื่อตอบรับกับลักษณะทางอุทกนิเวศวิทยาที่มีลักษณะตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้
Other Abstract: To study the landscape from historical maps focusing on hydro ecological characteristics. Bangmaemai and its surrounding areas in the district of Bang yai, Bang plama, Suphanburi province which possess unique hydro ecological characteristic of seasonal flooding every year was selected as a case study in order to study landscape elements and their relationships with hydro-ecological characteristics and dynamics. This study applied the methods of landscape characterization and classification of spatial data from historical maps. The thesis focused on the historical landscape data which represent historical landscape characteristics of the study area to study landscape structures in relation to hydro-ecological characteristics of the study area and to study the hydro-ecological dynamics and landscape changes overtime. This study built the layers of maps that represent different characteristics of hydro ecology. Also the building of composite maps from different layers display different landscape hydro-ecological characteristics to illustrate a clearer pictures of landscape hydro-ecological characteristics and to initiated the further hypothetical questions and assumptions for landscape architects to consider in order to plan and design landscape according to landscape hydro-ecological characteristics and dynamics.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36523
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1206
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1206
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sanya_ta.pdf26.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.