Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36524
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเซลล์และส่วนประกอบของเซลล์โพโดไซท์ในปัสสาวะ กับการตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคไตอักเสบเนฟโฟรติก
Other Titles: Predictive value of urinary podocyte and podocyte markers on steroid responsiveness in naive nephrotic syndrome
Authors: นัฏนรี คำเกษ
Advisors: เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Talerngsak.K@Chula.ac.th
Subjects: กลุ่มอาการเนโฟรติค
ไต -- โรค
วาสคูลาร์เอ็นโดทีเลียลโกรทแฟกเตอร์
Nephrotic syndrome
Kidneys -- Diseases
Kidney glomerulus
Vascular endothelial growth factors
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา: แนวทางการรักษาภาวะไตอักเสบเบื้องต้นในผู้ป่วยไตอักเสบเนฟโฟรติก กำหนดให้รักษาด้วยยาสเตียรอยด์ขนาดสูงซึ่งก่อให้เกิดผลเสียแก่ผู้ป่วยมากมาย ทั้งนี้มีผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว แต่ก็พบว่าสัดส่วนของผู้ป่วยโรคไตอักเสบเนฟโฟรติกที่ดื้อต่อยาสเตียรอยด์ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นหากสามารถค้นพบวิธีทำนายการตอบสนองต่อยาสเตียรอยด์ได้ตั้งแต่ระยะแรก ก็จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องรับยาได้ วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยโรคไตอักเสบเนฟโฟรติกจำนวน 20 ราย ตัวอย่างควบคุม 14 ราย โดยแบ่งการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น 3 การทดสอบ ได้แก่ การตรวจนับเซลล์ด้วยการทำปฏิกิริยากับ anti-podocalyxin, alpha-smooth muscle actin, และ vascular growth factor (VEGF) จากนั้นตรวจนับด้วยวิธีโฟล ไซโตเมทรี การตรวจระดับวาสคูลาร์ เอ็นโดทีเลียล โกรทแฟกเตอร์ในระดับปัสสาวะ และการศึกษาการแสดงออกของ VEGF ในตะกอนปัสสาวะและชิ้นเนื้อไตด้วยวิธี real time polymerase chain reaction (real-time PCR) ผลการวิเคราะห์ทั้งหมดจะนำมาหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบกับผลการตรวจทางคลินิก ผลการศึกษา: จำนวนเซลล์โพโดไซท์และการแสดงออกของ VEGF ทั้งที่ตรวจวัดได้ในปัสสาวะ และการแสดงออกของ VEGF ในตะกอนปัสสาวะและชิ้นเนื้อไต สามารถแบ่งแยกกลุ่มผู้ป่วยไตอักเสบเนฟโฟติกออกจากคนปกติได้อย่างชัดเจน และมีระดับเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่ามีระดับการแสดงออกดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: จำนวนเซลล์โพโดไซท์และการแสดงออกของ VEGF สามารถใช้แบ่งแยกกลุ่มผู้ป่วยไตอักเสบเนฟโฟรติกได้ และมีแนวโน้มที่จะสามารถใช้เพื่อทำนายโอกาสของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยสเตียรอยด์ออกจากกันได้
Other Abstract: Introduction and Objective: The first drug to choose in treatment of patients with nephrotic syndrome is corticosteroid. However, the treatment causes various side effects and introduces remission of disease in an only half of the patients. We therefore investigated the role of podocyturia as a predictive marker for steroid responsiveness in naïve nephrotic syndrome. Methods: Fresh first void morning urine from 20 NS and 14 healthy volunteers were collected. The sediments were stained with multiple antibodies to podocalyxin, alpha-smooth muscle actin, and vascular growth factor (VEGF). The stained cells were assessed by flow cytometer. Creatinine clearance, spotted urinary protein, spotted urinary creatinine and urinary cytokines (VEGF) were simultaneously assessed. And urinary sediment were evaluated excretion of VEGF in NS patients. Results: Urinary podocytes in NS group measured were 0.46, 0.65 (0.00-3.91; Range) cell/ml x mg Cr and significantly higher compared with control group. Positive podocytes with VEGF staining and SMA staining were increase in steroid resistant compared to steroid-responsive NS patients. The podocyte number correlated well with severity of the disease. In healthy control subjects, urinary VEGF excretion was 8.83, 9.60 (3.71-16.22; Range) pg/ml x mg Cr and NS patients excreted 93.58, 173.72 (3.14-1,270.42; Range) pg/ml x mg Cr which was higher VEGF mRNA expression than normal subjects. Conclusion: Numbers of positive podocytes with VEGF staining and SMA staining and total podocytes might be a reliable marker of steroid responsiveness in NS. Further investigation in clinical practice is required to confirm this ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36524
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1207
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1207
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutnaree_ka.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.