Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36623
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย-
dc.contributor.authorวาสนา ช่อมะลิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-11-08T09:24:10Z-
dc.date.available2013-11-08T09:24:10Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36623-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาสูญเสียของเครื่องผสมยางและจัดทำมาตรฐานการทำงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดเวลาสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผสมยางของโรงงานผลิตยางรถยนต์ โดยได้นำแนวทางของซิกซ์ ซิกมา มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 5 ระยะ(DMAIC) ได้แก่ (I) ระยะกำหนดปัญหา(D)ได้ทำการคัดเลือกปัญหาที่จะทำการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข คือ ปัญหาเวลาสูญเสียของเครื่องผสมยางมีสาเหตุหลักมาจากยางติดประตูปล่อยยาง โดย ยางสูตร A ที่มีส่วนผสมของซิลิกาเป็นหลัก ทำให้เกิดเวลาสูญเสียของเครื่องจักรสูงถึง 31.9% (II) ระยะการหาสาเหตุหลักของปัญหา(M) พบว่า สาเหตุหลักของปัญหาปัจจัยด้านคนและวิธีการ และปัจจัยด้านเครื่องจักร 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) อุณหภูมิของโรเตอร์ 2) อุณหภูมิแชมเบอร์ 3) อุณหภูมิประตูปล่อยยาง 4) ความเร็วโรเตอร์ และ 5) เวลาเปิด-ปิดประตูปล่อยยาง (III) ระยะการหาวิธีการแก้ปัญหา (A) ประกอบด้วย 2 วิธี คือ การสร้างระเบียบวิธีการปฏิบัติงานและการออกแบบการทดลอง โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบเศษส่วนแฟคทอเรียล แบบ 1 เรพลิเคต เพื่อคัดกรองปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่ อุณหภูมิประตูปล่อยยาง 4) ความเร็วโรเตอร์ และ 5) เวลาเปิด-ปิดประตูปล่อยยาง มีผลอย่างมีนัยสำคัญ และใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธีพื้นผิวตอบเพื่อหาค่าระดับที่เหมาะสมสำหรับการปรับตั้งเครื่องจักร (IV) ระยะการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ (I) ได้นำวิธีการแก้ปัญหาไปปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ (V) ระยะควบคุมและติดตามผล (C) พบว่า หลังจากปรับปรุงสามารถลดปัญหายางสูตร A ติดประตูปล่อยยางได้จาก 31.9 % เป็น 14.3% เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to reduce loss time of mixing machine and set standard method of the improved loss time that occur on a mixing process of tyre manufacturing by using six sigma approach. The methodology was composed of five phases (DMAIC). Phase I (D) defined quality problem definition which indicated that loss time came from rubber sticking at machine drop door. In addition, a majority of the problem (31.9%) stems from compound A which has high proportion of silica mixed. Phase II (M) identified root cause, the possible causes of the problem came from operator, work method and machine set up. The possible five factors were1) rotor temperature 2) chamber temperature 3) drop door temperature 4) rotor speed 5) open drop door time. Phase III (A) generated problem-solving solution which was composed of two alternatives: the development of work instruction and design of experiment. The fractional factorial design with a single replicate was then used to screen factors. The result found that the factor 3) drop door temperature 4) rotor speed and 5) open drop door time are highly significant affect to the high percentage of defectives. Then the optimal levels of significant factors were determined using a response surface methodology. Phase IV (I) selected the alternative application and implement action plan that generated from the previous phase. Phase V (C) is the control phase which evaluates results from the implementation. It was found that the percentage of loss time from rubber sticking at drop door reduce from 31.9% to 14.3%en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1532-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectรถยนต์ -- ยางen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยางรถen_US
dc.subjectAutomobiles -- Tiresen_US
dc.subjectTire industryen_US
dc.titleการลดเวลาสูญเสียของเครื่องผสมยางจากยางติดประตูปล่อยยางen_US
dc.title.alternativeLoss time reduction of mixing machine from rubber sticking at drop dooren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornatcha.t@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1532-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wasana_ch.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.