Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36722
Title: การพัฒนาระบบจัดการบนพื้นที่ผลิตในโรงงานผลิตยางรถยนต์
Other Titles: Development of a shop floor management system in a tire manufacturing factory
Authors: สถิตเทพ สังข์ทอง
Advisors: ปารเมศ ชุติมา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Parames.C@Chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- ยาง -- การผลิต
อุตสาหกรรมยางรถ -- การควบคุมการผลิต
การควบคุมการผลิต
Automobiles -- Tires
Tire industry -- Production control
Production control
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบจัดการบนพื้นที่ผลิต เพื่อแก้ปัญหาการส่งสินค้าล่าช้าของโรงงานผลิตยางรถยนต์ ซึ่งโรงงานกรณีศึกษามีลักษณะการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Flow Production) การไหลของงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการ งานวิจัยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการศึกษาหาสาเหตุของปัญหาภายในโรงงาน หลังจากนั้นจึงพัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ผลิต โดยใช้ เครื่องมือ วิธีการ การควบคุมการผลิต และทฤษฎีการจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานบนพื้นที่ผลิต ในระบบควบคุมพื้นที่ผลิตนั้นจะมีการไหลของสองสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ การไหลของชิ้นงาน และการไหลของข้อมูล โดยการนำเสนอด้วยเทคนิค IDEF0 ผลลัพธ์ที่ได้คือ ระบบการจัดการบนพื้นที่ผลิตถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับโรงงานกรณีศึกษา ระบบการจัดการบนพื้นที่ผลิตได้พิสูจน์ให้เห็นได้สามารถเพิ่มความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่แน่นอนของลูกค้า และช่วยแก้ปัญหาความล่าช้าจากการส่งสินค้าลดลง จากเดิมมียางค้างส่งเฉลี่ย 17,107 เส้นต่อเดือน มูลค่าความเสียโอกาส 20.52 ล้านบาทต่อเดือน จากผลการพัฒนาระบบพื้นที่ผลิตนั้นส่งผลให้สามารถลดปัญหาสินค้าค้างส่งเฉลี่ยเหลือเพียง 7,473 เส้นต่อเดือน คิดเป็นมูลค่าความเสียโอกาส 8.97 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สินค้าค้างส่งลดลงเมื่อเทียบจากเดิมถึง 56.32 % และทำให้บริษัทลดมูลค่าความเสียโอกาสเฉลี่ยลงเหลือเพียง 11.55 ล้านบาทต่อเดือน
Other Abstract: This research aims to develop the shop floor management system to solve the problem of delayed delivery of a tire manufacturing factory. Which manufacture product by order (Continuous Flow Production). The flow of all product types is in the same direction from the start to the end of the job. The research started from analyzing the data to determine the cause of the problem occurred within the plant and then, developing a shop floor management system by using production control and shop floor management theory. The shop floor control system was represented by IDEF0 technique. The result is, the shop floor management system has been developed to fit the factory and has been proven to be an efficient way to deal with problems in the shop floor. In the made-to-order factory, it also provides flexibility in reaching customer’s uncertainty demand. Moreover, it solves the shipment’s reclining problem. The delayed number of tire is reduced, from approximately 17,107 units per month (20.52 million Baht per month) to be only 7,473 units per month (8.97 million Baht per month) which is 56.32 % less than the previous system. Thus, it reduces the value of the opportunity to be only 11.55 million per month.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36722
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1563
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1563
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sathitthep_sa.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.