Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37027
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์-
dc.contributor.authorสรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-12-07T04:24:30Z-
dc.date.available2013-12-07T04:24:30Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37027-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractศึกษาพัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ในการค้นคว้าข้อมูลเอกสารของนักการละครโทรทัศน์รวมกว่า 50 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508-2553 ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ยุคสมัยต่างๆ ทั้ง 5 ยุค ได้แก่ ยุคบุกเบิก ยุคภาพยนตร์โทรทัศน์ ยุคขยายตัว ยุคเฟื่องฟู และยุคโลกาภิวัตน์ รวม 25 คน และใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย มีผลสืบเนื่องมาจากบริบทของเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยละครโทรทัศน์ในยุคบุกเบิกนิยมแสดงในห้องส่งและออกอากาศสด มีการบอกบทนักแสดง เป็นละครชุดจบในตอนภายใต้แนวคิดเดียวกัน สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ แนวเรื่องเป็นละครชีวิต นักเขียนบทส่วนใหญ่เป็นนักเขียนวรรณกรรมและบทละครเวที ต่อมาในยุคภาพยนตร์โทรทัศน์ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. ออกอากาศทางโทรทัศน์โดยใช้การพากย์ เป็นภาพยนตร์ชุดขนาดยาว สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ แนวเรื่องส่วนใหญ่เป็นละครแนวชีวิตเชิงสังคม แนวภูตผี และแนวจักรๆ วงศ์ๆ ผู้กำกับภาพยนตร์เป็นผู้เขียนบทเอง ละครโทรทัศน์ในยุคขยายตัวถ่ายทำด้วยวิดีโอเทปในห้องส่งและนักแสดงจำบทเอง เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ มีแนวเรื่องที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นละครชีวิต นักเขียนบทละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ละครโทรทัศน์ในยุคเฟื่องฟู ถ่ายทำด้วยวิดีโอเทปนอกสถานที่ เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ โดยดัดแปลงบทละครโทรทัศน์จากนวนิยายเป็นหลัก แนวเรื่องเป็นละครเริงรมย์ นักเขียนบทส่วนใหญ่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ละครโทรทัศน์ในยุคโลกาภิวัตน์ ถ่ายทำด้วยวิดีโอเทป มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการผลิต ละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ บทละครโทรทัศน์มีทั้งสร้างสรรค์ใหม่และบทละครดัดแปลง โดยเป็นละครแนวชีวิตและแนวต่อสู้ นักเขียนบทส่วนใหญ่ทำงานเป็นกลุ่มและมีภูมิหลังที่หลากหลาย จะเห็นได้ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ละครโทรทัศมีเทคโนโลยีการถ่ายทำที่ความเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ แต่เนื้อหาของบทละครโทรทัศน์ก็ยังคงวนเวียนกับละครแนวชีวิตที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรัก และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมคนไทยที่นิยมดูละครโทรทัศน์เพื่อ ‘เอารส’ มากกว่า ‘เอาเรื่อง’ อันเป็นการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมen_US
dc.description.abstractalternativeTo study the development and the aesthetic concept in the creation of Thai television drama-script. It is a qualitative research conducted by utilizing historical research in examining the documentary information of over 50 television dramatists since 1965-2010. It also includes the in-depth interview of the 25 television script writers in 5 periods: the Pioneering period, the Television Series period, the Extending period, the Prosperity period and the Globalization period. Furthermore, the participant observation in the creation process of television drama is also applied. The research has found that the development and the aesthetic concept in creating television drama script in Thai television result from the context of communications technology. The television drama-script in the Pioneering Period is the anthology, usually performed in a studio with live broadcast and prompted script for the actors. The drama-scripts are newly invented in drama genre by novel and stage play writers. Afterwards in Television Series Period, the 16-millimetre film is used, and the script is dubbed, the drama TV-broadcasted in series format. The scripts are also newly invented in social drama, horror and folk tale series genre by the directors. The television drama in Extending Period is in serial format, videotaped in the studio with the script memorized by the actors/ actresses. The script is freshly created in drama genre with the professors in university/ educational institution as major writers. The Prosperity period’s television drama is videotaped out of the studio. It is made in several serial episodes by adapting mostly from fiction. The genre is comedy. The majority of script writers are university graduates. The television drama in the Globalization period is still videotaped but with the utilization of computer graphic in the production process. Most of the scripts are long serial. The scripts are both adapted and invented in drama and action genres. The script writers in this period work in group and come from different backgrounds. It can be seen that the respective progresses of filming technology come along with the change of periods. However, the themes of television drama script still revolve around the drama genres that accentuate on love and familial relationship as main themes. This reflects the Thai people’s behavior in that they prefer “enjoying” watching television drama--which is the cultural reproduction--to “comprehending” the story.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.794-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectละครโทรทัศน์ไทยen_US
dc.subjectสุนทรียศาสตร์en_US
dc.subjectการสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)en_US
dc.subjectTelevision plays, Thaien_US
dc.subjectAestheticsen_US
dc.subjectCreation ‪(Literary, artistic, etc.)‬en_US
dc.titleพัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment and aesthetics concept of Thai television-drama scripten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสื่อสารการแสดงen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThiranan.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.794-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sorarat_ji.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.