Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37787
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorขวัญชนก ณียวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialเชียงราย-
dc.coverage.spatialแม่สาย-
dc.date.accessioned2014-01-08T07:00:17Z-
dc.date.available2014-01-08T07:00:17Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37787-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “การสื่อสารภาคประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน ในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การแสวงหาข้อมูลข่าวสารและการดำเนินการในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของสื่อบุคคลท้องถิ่นและวิทยุชุมชน และเพื่อศึกษาการเปิดรับ และการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รวมถึงบทบาทของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 ที่ได้รับผ่านสื่อบุคคลท้องถิ่นและวิทยุชุมชนในการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 ของประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก สื่อบุคคลท้องถิ่น 14 คน ผู้ปฏิบัติงานของวิทยุชุมชน 4 สถานี และประชาชนกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) การแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของสื่อบุคคลท้องถิ่นและวิทยุชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายส่วนใหญ่มาจากการเข้าร่วมประชุมสัมมนาที่หน่วยงานต่างๆ ทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัดจัดขึ้น 2) การดำเนินการในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของสื่อบุคคลท้องถิ่นและวิทยุชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สาย สื่อบุคคลท้องถิ่นจะดำเนินการผ่านช่องทาง/สื่อที่แต่ละหน่วยงานมีอยู่ ส่วนวิทยุชุมชนดำเนินการผ่านการจัดรายการวิทยุ 3) การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 ผ่านสื่อภาคประชาชนนั้น ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อภาคประชาชน ผ่านช่องทางการฟังวิทยุชุมชนและเสียงตามสาย แต่จะไม่มีการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 ผ่านสื่อภาคประชาชน 4) การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร และการแสวงหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 ผ่านสื่ออื่นๆ ประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชน เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และมีการแสวงหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต 5) บทบาทของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 2558 ที่ได้รับผ่านสื่อบุคคลและวิทยุชุมชนในการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 พบว่าประชาชนมีการตระหนักถึงการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยมีทัศนคติในด้านบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจในพื้นที่อำเภอแม่สาย และมีการปรับตัวในด้านการส่งเสริมบุตรหลานด้านการเรียนภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.description.abstractalternativeThe qualitative research method employing in-depth interviews used to study the civil society communication in aspect of informing about ASEAN Economic community and the role of the information about ASEAN Economic community in preparing the people in Mae-Sai district, Chiang Rai province for attending ASEAN community in 2015. The total data collected from 14 local personal media, 4 community radio stations, and village representatives from 5 villages. The research results revealed that: 1) The information exposure and seeking about ASEAN economic community of local personal media and community radio in Mae-Sai, Chiang Rai province came from various seminars which held by the district level and provincial levels agencies. 2) To provide information about the ASEAN Economic community, the local personal media perform via / media each agency exists and the community radios provide information via radio to broadcast the information. 3) Majority of samples in this research exposure the information about ASEAN Economic community 2015 from the civil society communication (from community radio and voice line) but they didn’t seeking the information about ASEAN Economic community 2015 from the civil society communication. 4) Majority of samples in this research also exposure and seeking for the information about ASEAN Community 2015 through other media, such as television, newspapers and internet. 5) The role of the information about the ASEAN economic community 2015 which samples in this research gain from local personal media and community radio found that samples in this research were aware of joining the ASEAN Community. They also have knowledge and understand about the ASEAN Community in 2015 from low level to medium level. Moreover, they have positive attitude about the economy in Mae Sai area and were able to adjust themselves for promoting children to learn other language to get ready for ASEAN Economic Community in 2015.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1201-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสาร -- แง่สังคม -- ไทย -- เชียงรายen_US
dc.subjectการสื่อสารทางการพัฒนาเศรษฐกิจ -- ไทย -- เชียงรายen_US
dc.subjectอาเซียนen_US
dc.subjectแม่สาย (เชียงราย)en_US
dc.subjectCommunication -- Social aspects -- Thailand -- Chiang Raien_US
dc.subjectCommunication in economic development -- Thailand -- Chiang Raien_US
dc.subjectASEANen_US
dc.subjectMae Sai (Chiang Rai)en_US
dc.titleการสื่อสารภาคประชาชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่เขตเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน ในพื้นที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeThe civil society communication to prepare for ASEAN economic community in Mae-Sai district Chiang Rai provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkkaewthep@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1201-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kwanchanok_ne.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.