Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorสุกฤตา จำเนียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-01-09T02:12:43Z-
dc.date.available2014-01-09T02:12:43Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37902-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการปรับปรุงการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทางสื่อโทรทัศน์ เปรียบเทียบระหว่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ศึกษาเนื้อหาภาพยนตร์ที่ถูกตรวจพิจารณา และศึกษาทัศนคติของภาครัฐ ฝ่ายตรวจพิจารณา และภาคประชาชนที่มีต่อการตรวจพิจารณา โดยใช้วิธีการวิจัย ได้แก่ การเข้าร่วมสังเกตการณ์ การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ตัวบท การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดกลุ่มสนทนา ผลการวิจัยพบว่า การตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทางสื่อโทรทัศน์ ทั้งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ต่างถูกควบคุมโดยภาครัฐซึ่งออกกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องมาเพื่อกำกับดูแลสถานีโทรทัศน์ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดของการตรวจพิจารณา ได้แก่ ประเภทของภาพยนตร์ที่นำมาตรวจพิจารณาเพื่อออกอากาศและระบบการตรวจพิจารณา อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจพิจารณา ได้แก่ ปัจจัยภายในองค์กร ปัจจัยภายนอกองค์กร และปัจจัยเรื่องการข้ามสื่อ สำหรับเนื้อหาภาพยนตร์ที่ถูกตรวจพิจารณาสามารถแบ่งเนื้อหาที่มีความรุนแรงได้ 5 ประเภท คือ เนื้อหาที่มีความรุนแรงด้านเพศ เนื้อหาที่มีความรุนแรงด้านภาษา เนื้อหาที่มีความรุนแรงด้านพฤติกรรม เนื้อหาที่มีความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และเนื้อหาที่มีความรุนแรงอื่นๆ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ ฝ่ายตรวจพิจารณาและภาคประชาชน ที่มีต่อการตรวจพิจารณาในเรื่องของบทบาทการมีส่วนร่วม การควบคุม และผลประโยชน์ ดังนั้นการสร้างความร่วมมือกันทั้งสามภาคส่วน จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้ได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research aims to study the ways to improve movie censorship in television by comparative study between Bangkok Entertainment Company (TV Channel 3) and Army TV Channel 7. In addition, its objective is to study cases of movie content and study the attitudes of the state, department of censorship section and the public towards movie censorship in television. The methodology of this research includes observation, document analysis, textual analysis, in-depth interview and focus group interview. The research found that Bangkok Entertainment Company (TV Channel 3) and Army TV Channel 7 are controlled by the state that regulates the television program but there are differences in the details of censorship including types of movies for broadcasting and the processes of movie censorship. Furthermore, there are factors that effect movie censorship which are internal factors, external factors and cross media factor. Movie content censored can be divided into 5 violent contents topics which are gender violence, language violence, behavior violence, structure violence and the other violence. The findings of this research point out that the conflicts between the state, department of censorship section and the public in movie censorship in television are participation, regulation and interest. To solve this conflict, the three sectors need to be collaborated.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.133-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3en_US
dc.subjectสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7en_US
dc.subjectภาพยนตร์โทรทัศน์en_US
dc.subjectการเซ็นเซอร์en_US
dc.subjectสถานีโทรทัศน์ -- ไทยen_US
dc.subjectTelevision broadcasting of filmsen_US
dc.subjectCensorshipen_US
dc.subjectTelevision stations -- Thailanden_US
dc.titleการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทางสื่อโทรทัศน์ เปรียบเทียบระหว่างสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7en_US
dc.title.alternativeMovie censorship in television : comparatve study between Bangkok Entertainment (TV chanel 3) and Army TV Chanel 7en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKitti.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.133-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukritta_ja.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.